มาตามนัด ตอนที่ 9 แล้ว
บทความพิเศษ
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
กาเบรียล การ์เซีย...: มาตามนัด ตอนที่ 9 แล้ว
บทความพิเศษ
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ กับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกัน (9)
เวลาเชิงประวัติศาสตร์และเวลาเชิงปกรณัม
การหลอมละลายโลกแห่งความจริงและโลกมหัศจรรย์ให้มารวมอยู่ในโลกเดียวกันที่มีนัยยะสำคัญยิ่งในนวนิยายเล่มนี้ที่ควรจะพิจารณาเป็นพิเศษและโดยพิสดารคือการควบอัดมิติของเวลาที่แบ่งเวลาเป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต เข้าด้วยกัน
อีกหลายปีต่อมา เมื่อเขายืนเผชิญหน้าแถวทหารในลานประหาร พันเอกออเรลิยาโนจะหวนรำลึกถึงบ่ายวันหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อพ่อพาเขาไปดูน้ำแข็งเป็นครั้งแรกในชีวิต (หน้า 9)
นี่คือประโยคเปิดเรื่องอันลื่อลั่นของ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว แม้จะดูพื้นๆ แต่ก็เปิดประเด็นเรื่องเวลาได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะพบว่าตลอดทั้งเรื่อง การ์เซีย มาร์เกซ ได้ใช้วิธีการเล่าเรื่องทำนองนี้เป็นเสมือนบทสร้อย เพื่อบรรยายตัวละครและเหตุการณ์หลายตอนในเรื่อง เช่น
อีกหลายปีต่อมา ในชั่วเสี้ยววินาทีก่อนที่นายทหารจะออกคำสั่งให้แถวทหารลั่นไกปืน พันเอกออเรลิยาโน บูเอนดิยา จะหวนรำลึกถึงยามบ่ายของวันอันอบอุ่นในเดือนมีนาคม เมื่อพ่อของเขาหยุดสอนวิชาฟิสิกส์ลงกลางคัน . . . (หน้า 20)
หล่อนเป็นคนสุดท้ายที่อาร์คาดิโอจะรำลึกถึงในอีกหลายปีต่อมา เมื่อเขายืนเผชิญหน้าแถวทหารในลานประหาร (หน้า 78)
อีกหลายปีต่อมา ขณะนอนรอความตายอยู่บนเตียง ออเรลิยาโน เซกุนโด จะหวนรำลึกถึงบ่ายวันฝนพรำในเดือนมิถุนายน เมื่อเขาเข้าไปในห้องนอนเพื่อดูหน้าลูกชายคนแรกของเขา (หน้า 152)
จะเห็นได้ว่า ประโยคเปิดเรื่องสั้นๆ เพียงประโยคเดียวนี้ได้บรรจุมิติของเวลา 3 แบบไว้ในที่เดียวกัน นั่นคือ อนาคต ("อีกหลายปีต่อมา") อดีต ("บ่ายวันหนึ่งนานมาแล้ว) และ ปัจจุบัน (เวลาปัจจุบันของการเล่าเรื่อง)
ในแง่ของเทคนิคการเล่าเรื่อง ประโยคเปิดเรื่องข้างต้นของ การ์เซีย มาร์เกซ มิได้เป็นการเล่าเหตุการณ์ล่วงหน้า (foreshadowing) หรือการเล่าเหตุการณ์ย้อนหลัง (flashback) แบบปกติดังเช่นที่เราคุ้นเคยดีในนวนิยายเรื่องอื่นๆ
โดยทั่วไป ในการเล่าเหตุการณ์ล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ย้อนหลัง เรามักจะใช้เวลาในปัจจุบันเป็นจุดอ้างอิง เช่น "เสียงเพลงจากวิทยุที่สมชายได้ยินขณะขับรถไปทำงาน กระตุ้นให้เขาหวนนึกไปถึงวันแรกที่เขาพบสมทรงในร้านคอฟฟี่ช็อปสมัยยังเรียนหนังสืออยู่" (เล่าเหตุการณ์ย้อนหลัง) หรือ "เด็กเช็ดกระจกรถที่เดินรี่ไปยังรถสีแดงเพลิงคันนั้น เมื่อโตขึ้นเขาจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์" (เล่าเหตุการณ์ล่วงหน้า) เป็นต้น
แต่ในประโยคเปิดเรื่องของ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว สิ่งที่กระตุ้นให้พันเอกออเรลิยาโน หวนระลึกไปถึงเวลาในวัยเด็ก มิใช่เหตุการณ์ในปัจจุบันแต่คือเหตุการณ์ในอนาคตเมื่อเขายืนอยู่ต่อหน้าแถวทหารที่กำลังจะยิงเป้าเขา
ด้วยวิธีการดังกล่าว การ์เซีย มาร์เกซ สามารถทำให้การเล่าเหตุการณ์ล่วงหน้ากลายมาเป็นการเล่าเหตุการณ์ย้อนหลังในเวลาเดียวกัน
ในแง่นี้ ประโยคเปิดเรื่องประโยคนี้สามารถจะควบอัดเวลาในปัจจุบัน อนาคต และ อดีต ให้หลอมรวมเป็นเวลาในชั่วขณะเดียวกันได้อย่างน่าทึ่ง เสมือนหนึ่งว่าเส้นที่แบ่งเวลาเป็น อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ได้มลายหายไปโดยสิ้นเชิง
นี่นับเป็นลักษณะพิเศษของนวนิยายแนวนี้ และแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับนวนิยายแนวสัจนิยมที่อิงอยู่กับกรอบเวลาแบบเส้นตรงที่เราคุ้นเคยกันดี
ที่น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือ ในประโยคดังกล่าว ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาอ้างอิงของเหตุการณ์ในอนาคตนั้น เป็นปัจจุบันที่ไม่ชัดเจนแน่นอน
เรารู้ว่า "อีกหลายปีต่อมา" แต่เราไม่รู้ว่าหลายปีของปีอะไร ผู้เล่าเรื่องมิได้ชี้ชัดลงไปว่า เวลาในปัจจุบันที่เขาเล่าถึงเหตุการณ์ในอนาคตและในอดีตนั้น อยู่ที่จุดไหนของเวลากันแน่
นี่นับว่าสวนทางโดยสิ้นเชิงกับสามัญสำนึก โดยปกติเราจะเชื่อว่า เวลาในปัจจุบัน ขณะนี้ บัดนี้ เดี๋ยวนี้ คือเวลาที่แน่นอนชัดเจนที่สุด ส่วนเวลาในอดีต หรือในอนาคต ต่างหากที่ยากจะจับต้องหรือชี้ชัดได้ชัดเจน เพราะเป็นเรื่องของความทรงจำ (ในกรณีของอดีต) หรือการคาดการณ์ (ในกรณีของอนาคต)
ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะควบอัดและสลายเส้นแบ่งระหว่าง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ให้กลายเป็นเวลาชั่วขณะเดียวกันแล้ว ประโยคเปิดเรื่องใน หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว ยังได้แปรให้เวลาในชั่วขณะนั้นกลายเป็นปัจจุบันอันชี้ชัดไม่ได้
หรือนัยหนึ่งคือการแปรเวลาเชิงประวัติศาสตร์ (historical time) ให้กลายเป็นเวลาเชิงปกรณัม (mythological time)
เอกสารอ้างอิง
มาร์เกซ, กาเบรียล์ การ์เซีย. หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว. แปลโดย ปณิธาน - ร.จันเสน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วลี, 2529.
บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "สัจนิยมมหัศจรรย์ การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ และสุนทรียศาสตร์ของการต่อต้าน" โดยได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความพิเศษ
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
กาเบรียล การ์เซีย...: มาตามนัด ตอนที่ 9 แล้ว
บทความพิเศษ
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ กับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกัน (9)
เวลาเชิงประวัติศาสตร์และเวลาเชิงปกรณัม
การหลอมละลายโลกแห่งความจริงและโลกมหัศจรรย์ให้มารวมอยู่ในโลกเดียวกันที่มีนัยยะสำคัญยิ่งในนวนิยายเล่มนี้ที่ควรจะพิจารณาเป็นพิเศษและโดยพิสดารคือการควบอัดมิติของเวลาที่แบ่งเวลาเป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต เข้าด้วยกัน
อีกหลายปีต่อมา เมื่อเขายืนเผชิญหน้าแถวทหารในลานประหาร พันเอกออเรลิยาโนจะหวนรำลึกถึงบ่ายวันหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อพ่อพาเขาไปดูน้ำแข็งเป็นครั้งแรกในชีวิต (หน้า 9)
นี่คือประโยคเปิดเรื่องอันลื่อลั่นของ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว แม้จะดูพื้นๆ แต่ก็เปิดประเด็นเรื่องเวลาได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะพบว่าตลอดทั้งเรื่อง การ์เซีย มาร์เกซ ได้ใช้วิธีการเล่าเรื่องทำนองนี้เป็นเสมือนบทสร้อย เพื่อบรรยายตัวละครและเหตุการณ์หลายตอนในเรื่อง เช่น
อีกหลายปีต่อมา ในชั่วเสี้ยววินาทีก่อนที่นายทหารจะออกคำสั่งให้แถวทหารลั่นไกปืน พันเอกออเรลิยาโน บูเอนดิยา จะหวนรำลึกถึงยามบ่ายของวันอันอบอุ่นในเดือนมีนาคม เมื่อพ่อของเขาหยุดสอนวิชาฟิสิกส์ลงกลางคัน . . . (หน้า 20)
หล่อนเป็นคนสุดท้ายที่อาร์คาดิโอจะรำลึกถึงในอีกหลายปีต่อมา เมื่อเขายืนเผชิญหน้าแถวทหารในลานประหาร (หน้า 78)
อีกหลายปีต่อมา ขณะนอนรอความตายอยู่บนเตียง ออเรลิยาโน เซกุนโด จะหวนรำลึกถึงบ่ายวันฝนพรำในเดือนมิถุนายน เมื่อเขาเข้าไปในห้องนอนเพื่อดูหน้าลูกชายคนแรกของเขา (หน้า 152)
จะเห็นได้ว่า ประโยคเปิดเรื่องสั้นๆ เพียงประโยคเดียวนี้ได้บรรจุมิติของเวลา 3 แบบไว้ในที่เดียวกัน นั่นคือ อนาคต ("อีกหลายปีต่อมา") อดีต ("บ่ายวันหนึ่งนานมาแล้ว) และ ปัจจุบัน (เวลาปัจจุบันของการเล่าเรื่อง)
ในแง่ของเทคนิคการเล่าเรื่อง ประโยคเปิดเรื่องข้างต้นของ การ์เซีย มาร์เกซ มิได้เป็นการเล่าเหตุการณ์ล่วงหน้า (foreshadowing) หรือการเล่าเหตุการณ์ย้อนหลัง (flashback) แบบปกติดังเช่นที่เราคุ้นเคยดีในนวนิยายเรื่องอื่นๆ
โดยทั่วไป ในการเล่าเหตุการณ์ล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ย้อนหลัง เรามักจะใช้เวลาในปัจจุบันเป็นจุดอ้างอิง เช่น "เสียงเพลงจากวิทยุที่สมชายได้ยินขณะขับรถไปทำงาน กระตุ้นให้เขาหวนนึกไปถึงวันแรกที่เขาพบสมทรงในร้านคอฟฟี่ช็อปสมัยยังเรียนหนังสืออยู่" (เล่าเหตุการณ์ย้อนหลัง) หรือ "เด็กเช็ดกระจกรถที่เดินรี่ไปยังรถสีแดงเพลิงคันนั้น เมื่อโตขึ้นเขาจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์" (เล่าเหตุการณ์ล่วงหน้า) เป็นต้น
แต่ในประโยคเปิดเรื่องของ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว สิ่งที่กระตุ้นให้พันเอกออเรลิยาโน หวนระลึกไปถึงเวลาในวัยเด็ก มิใช่เหตุการณ์ในปัจจุบันแต่คือเหตุการณ์ในอนาคตเมื่อเขายืนอยู่ต่อหน้าแถวทหารที่กำลังจะยิงเป้าเขา
ด้วยวิธีการดังกล่าว การ์เซีย มาร์เกซ สามารถทำให้การเล่าเหตุการณ์ล่วงหน้ากลายมาเป็นการเล่าเหตุการณ์ย้อนหลังในเวลาเดียวกัน
ในแง่นี้ ประโยคเปิดเรื่องประโยคนี้สามารถจะควบอัดเวลาในปัจจุบัน อนาคต และ อดีต ให้หลอมรวมเป็นเวลาในชั่วขณะเดียวกันได้อย่างน่าทึ่ง เสมือนหนึ่งว่าเส้นที่แบ่งเวลาเป็น อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ได้มลายหายไปโดยสิ้นเชิง
นี่นับเป็นลักษณะพิเศษของนวนิยายแนวนี้ และแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับนวนิยายแนวสัจนิยมที่อิงอยู่กับกรอบเวลาแบบเส้นตรงที่เราคุ้นเคยกันดี
ที่น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือ ในประโยคดังกล่าว ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาอ้างอิงของเหตุการณ์ในอนาคตนั้น เป็นปัจจุบันที่ไม่ชัดเจนแน่นอน
เรารู้ว่า "อีกหลายปีต่อมา" แต่เราไม่รู้ว่าหลายปีของปีอะไร ผู้เล่าเรื่องมิได้ชี้ชัดลงไปว่า เวลาในปัจจุบันที่เขาเล่าถึงเหตุการณ์ในอนาคตและในอดีตนั้น อยู่ที่จุดไหนของเวลากันแน่
นี่นับว่าสวนทางโดยสิ้นเชิงกับสามัญสำนึก โดยปกติเราจะเชื่อว่า เวลาในปัจจุบัน ขณะนี้ บัดนี้ เดี๋ยวนี้ คือเวลาที่แน่นอนชัดเจนที่สุด ส่วนเวลาในอดีต หรือในอนาคต ต่างหากที่ยากจะจับต้องหรือชี้ชัดได้ชัดเจน เพราะเป็นเรื่องของความทรงจำ (ในกรณีของอดีต) หรือการคาดการณ์ (ในกรณีของอนาคต)
ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะควบอัดและสลายเส้นแบ่งระหว่าง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ให้กลายเป็นเวลาชั่วขณะเดียวกันแล้ว ประโยคเปิดเรื่องใน หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว ยังได้แปรให้เวลาในชั่วขณะนั้นกลายเป็นปัจจุบันอันชี้ชัดไม่ได้
หรือนัยหนึ่งคือการแปรเวลาเชิงประวัติศาสตร์ (historical time) ให้กลายเป็นเวลาเชิงปกรณัม (mythological time)
เอกสารอ้างอิง
มาร์เกซ, กาเบรียล์ การ์เซีย. หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว. แปลโดย ปณิธาน - ร.จันเสน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วลี, 2529.
บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "สัจนิยมมหัศจรรย์ การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ และสุนทรียศาสตร์ของการต่อต้าน" โดยได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Tags: Books
, Editor's Picks
Hey there, We are Blossom Themes! We are trying to provide you the new way to look and use the blogger templates. Our designers are working hard and pushing the boundaries of possibilities to widen the horizon of the regular templates and provide high quality blogger templates to all hardworking bloggers!
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น