200 ปี Pride and Prejudiceby :
200 ปี อมตะวรรณกรรม
Pride and Prejudice
โดย
Jane Austen

[Jane Austen, Pride and Prejudice, (First published by T. Egerton, Whitehall, London, 28 January 1813), Modern Library Classic, New York, October 10, 2000 [Introduction by Anna Quindlen, Commentary by Margaret Oliphant, George Saintsbury, Mark Twain, A. C. Bradley, Walter A. Raleigh, and Virginia Woolf] , 320 pages| ISBN-10: 0679783261 | ISBN-13: 978-0679783268]



Jane Austin นักเขียนชาวอังกฤษผู้โด่งดังจาก 200 ปีที่แล้ว เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบอยู่ เป็นนักเขียนคนโปรดของ J.K. Rowling ผู้เขียน Harry Potter

ทำไม Jane Austen จึงเป็นนักเขียนที่มีผลงานอมตะ อยู่ในใจของคนอังกฤษ และบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนวรรณคดีอังกฤษ ทั้งในประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ

Pride and Prejudice เป็นหนังสือที่ชาวอังกฤษนิยมอ่านมากที่สุดอันดับสอง ตลอดกาล จากการสำรวจของ BBC [อันดับหนึ่งคือ The Lord of the Rings โดย J.R.R.Tolkien]

Pride and Prejudice โดย Jane Austen สะท้อนสังคมอังกฤษในศตวรรษที่ 19th  สมัยที่ครอบครัวที่มีลูกสาวจะอุทิศเวลาส่วนสำคัญในชีวิตแสวงหาชายหนุ่มผู้ควรคู่กับลูกสาวของตน เมื่อ Mr. Darcy นายทหารหนุ่มโสดผู้ร่ำรวยเข้ามาในชุมชนที่ทุกข่าวจะกระจายไปทั่วถึงทุกคน บรรดาสาวๆทั้งหลายก็็กระตือรือร้นที่จะเป็นผู้ครองหัวใจของหนุ่มโสดรูปงามผู้นี้ เพราะ:

“It is a truth universally acknowledged, that a single man in possession of a 
good fortune, must be in want of a wife.” 
“ความจริงอันประจักษ์แล้วเป็นสากลนั้นยืนยันว่า บุรุษโสดผู้เพียบพร้อมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน
เงินทองย่อมปรารถนาที่จะมีไว้ซึ่งภรรยา.”

ประโยคแรกเริ่มต้นบทที่หนึ่ง ใน Pride and Prejudice โดย Jane Austen ประทับอยู่ในความทรงจำของผู้อ่านหนังสื่อทั่วโลก อ่านไปตลอดเรื่องจะพบว่า Pride and Prejudice เล่าเรื่องสังคมชนชั้นกลางและชั้นสูงของอังกฤษที่หมกมุ่นอยู่กับแรงพิศวาสปรารถนาหาคู่ครองด้วยสารพันเหตุผลตามวิถีสังคมในสมัยนั้น



(น.274)
“Good gracious! Lord bless me! Only think! Dear me! Mr. Darcy! Who would have thought it? And is it really true? Oh, my sweetest Lizzy! How rich and how great you will be! What pin-money, what jewels, what carriages you will have! Jane’s is nothing to it-nothing at all. I am so pleased-so happy! Such a charming man! So handsome! So tall! Oh, my dear Lizzy! Pray apologize for having disliked him so much before. I hope he will overlook it. Dear, dear Lizzy! A house in town! Everything that is charming! Three daughters married! Ten thousand a year! Oh, Lord! What will become of me? I shall go distracted”

“โอ้โฮลูกเอ๋ย! พระเจ้าทรงโปรดด้วย! คิดดูซิ! อื้อฮือ! คุณ Darcy! ใครบ้างจะคิดว่ามันจะเป็นไปได้เช่นนี้! แล้วมันเป็นไปได้จริงๆเชียวหรือ? โอ้ Lizzy ลูกรักสุดหวานใจของคุณแม่! ลูกจะร่ำรวย ลูกจะยิ่งใหญ่ขนาดไหนรู้ไหม! ไหนจะแก้วแหวน เงินทอง ไหนจะรถเทียมม้าไม่รู้จะกี่คันที่ลูกจะได้เป็นเจ้าของ! ของที่พี่ Jane ได้จากการแต่งงานก่อนหน้านี้แล้ว เทียบกันไม่ได้เลยกับที่หนูจะได้ แม่ดีใจเหลือเกิน มีความสุขเหลือเกิน! เขาช่างเป็นบุรุษที่มีเสน่ห์เหลือเกิน! หล่อเหลือเกิน! สูงสง่า! โอ้ แม่หนูของคุณแม่เอ๋ย! ยกโทษให้แม่เถิดที่ก่อนหน้านี้แม่เคยไม่ชอบเขา แม่ก็หวังว่าเขาจะปล่อยผ่านเรื่องเก่าๆไป Lizzy ลูกรักคนดีของแม่! จะมีบ้านในเมือง มีทุกอย่างที่สวยงาม! ลูกสาวสามคนของแม่ได้แต่งงานกันหมดแล้ว! รายได้ปีละถึงหนึ่งหมื่น! โอ้พระเจ้า! จะเกิดอะไรขึ้นกับแม่ แม่ปรับตัวไม่ทันแล้ว”

นั่นคือความยินดีปรีดาของ Mrs. Bennet แม่ที่มีลูกสาว 5 คนแห่งบ้าน Longbourn, Jane ลูกสาวคนสวยที่สุด เพิ่งแต่งงานไปกับเศรษฐีหนุ่มชื่อ Bingley นึกว่าได้ลูกเขยรวยที่สุดแล้ว แต่ก็เทียบกับ Mr.Darcy ว่าทีลูกเขยคนใหม่ไม่ได้เลย สุดจะหล่อและแสนจะมั่งคั่งร่ำรวย มีทรัพย์สินที่ดินทำรายได้ถึงปีละหมื่นปอนด์ - เกือบสองร้อยปีที่แล้ว รายได้ขนาดนี้ คุณแม่บ้านไหนก็อยากได้มาเป็นลูกเขย Jane Austen เขียน Pride and Prejudice ในปี 1797 โดยตั้งชื่อแต่แรกว่า “First Impressions” เขียนเสร็จ ไม่มีสำนักพิมพ์ใดรับพิมพ์ จึงปรับแต่งแก้ไข ใช้ชื่อใหม่ว่า “Pride and Prejudice”  แล้วได้รับการพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกวันที่ 28 มกราคม ปี 1813 จากนั้นโลกวรรณกรรมก็ไม่มีใครที่ไม่พูดถึง หรือไม่เคยอ่านนวนิยายอันเป็นเรื่องราวในสังคมผู้ดีอังกฤษ โดย Jane Austen

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2013 จึงเป็นวันครบรอบ 200 ปี ของ “Pride and Prejudice”
นวนิยายรักหวานซึ้งจากอดีตที่ส่งคุณค่าทางวรรณกรรมถึงปัจจุบัน

งานเขียนอื่นของ Jane Austen คือ “Elinor and Marianne” หรือที่ตั้งชื่อใหม่่ว่า “Sense and Sensibility” (1811), “Mansfield Park” (1814), “Emma” (1816), “Persuasion” (1818) และ “Northanger Abby” (1818) สองเรื่องสุดท้ายที่พิมพ์หลัง Jane Austen ถึงแก่กรรมหนึ่งปี

Jane Austen ล้มป่วยลงในปี 1815 และจากโลกไปในวันที่ 18 กรกฎาคม ปี 1817
อายุเพียง 42 ปี

ชีวิตสังคมชนชั้นสูงอังกฤษเมื่อสมัยสองร้อยปีที่แล้ว แบ่งชนชั้น แสวงหาความมั่งคั่ง ไต่เต้าลำดับศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล และหยามย่ำคนที่ต่ำศักดิ์กว่า ซุบซิบนินทา ริษยาเพื่อนบ้าน สารพัดเรื่องราวประโลมโลก
Mark Twain นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน ผู้เขียน “The Adventures of Tom Sawyer” และ “The Adventures of Huckleberry Finn” วิจารณ์เชิงเสียดสีว่า:

(น.289)
“When I take up one of Jane Austen’s books,…such as Pride and  Prejudice, I feel
like a barkeeper entering kingdom of heaven. I know what his sensation would be
and his private comments. He would not find the place to his taste, and he would
probably say so.”
“เวลาผมหยิบหนังสือของ Jane Austen มาอ่าน เช่นเรื่อง Pride and Prejudice ผมมีความ
รู้สึกเหมือนเจ้าของบาร์หลุดเข้าไปในอาณาจักรแห่งสวรรค์ ผมรู้เลยว่าเขาจะรู้สึกซาบซ่าน
อย่างไร แล้วรู้ด้วยว่าเขาจะวิพากษ์มันอย่างไร เขาจะไม่มีรสนิยมที่ต้องกันกับสวรรค์แบบ Jane
Austen หรอก และเขาก็จะบอกเช่นนั้นตรงๆ”

ก็ต้องบอกเช่นนั้นตรงๆ  แม้ผู้อ่านจะมิใช่คนเฝ้าบาร์ขายเหล้า ที่หลงไปอ่านเรื่องราวชีวิตที่ดูหลุดโลกของชาวบ้านปรกติ  เข้าไปสู่ดินแดนสวรรค์ที่ฝันหวานซึ้งลอยเลิศ พระเอก นางเอก ผู้คนในเรื่อง มั่งคั่งร่ำรวย ไม่ทำงานการอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน วันหนึ่งๆ แม่ก็ตระเวนส่งลูกสาวเข้างานสังคม พยายามหาสามีให้ลูกให้ได้ พยายามให้ลูกสาวหาสามีให้ได้ และต้องให้ได้สามีที่หล่อ รวย เป็นคนที่สูงด้วยเกียรติยศ และศักดิ์ศรี … มี “Pride”
หากพบเห็นคนใดที่ไม่อาจเทียบชั้นกันได้ ทั้งชาติตระกูล และทรัพย์สินเงินทอง ความรู้สึกชิงชัง เหยียดหยามคนต่ำชั้นกว่า ก็มี … “Prejudice” ... และแสดงออกได้ โดยไม่ต้องปิดบัง

(น.228)
“They must all go to Brighton. That is the place to get husbands”
“พี่ๆทุกคนควรจะไปที่ Brighton เพราะนั่นเป็นที่ที่จะหาสามีได้”,
Lydia น้องสาวคนสุดท้องที่เพิ่งหนีตามทหารหนุ่มไป กลับมาบ้าน แนะนำพวกพี่ๆ

“Pride and Prejudice” ทั้งเรื่อง...ตลอดเรื่อง เต็มไปด้วยเรื่องการตามล่าหนุมหล่อชายรวยให้ลูกสาว-หากเป็นแม่ เป็นเรื่องการแสวงหาสามีผู้ทรงศักดิ์-หากเป็นสาวแรกรุ่นดรุณี

เป็นเช่นนี้ทั้งเรื่อง จริงๆ!

Sir Walter A. Raleigh นักวิเคราะห์วรรณกรรม วิจารณ์ Pride and Prejudice ในปี 1917,
เมื่อร้อยปีหลังการจากไปของ Jane Austen ว่า:

(น.301)
“At least, I shouldn’t like to believe that she thought she knew anything about
married people or young men. Her married people are merely a  bore or a comfort
to the young-nothing to each other. Her young men, my Gawd! I will take only Darcy
and Bingley. Of course they have no profession-they have money. But there is no
scrap of evidence, no indication that they can do anything, shoot a partridge, or add
up figures, or swim or brush their hair. They never talk of anything except young
women…. Well, Darcy and Bingley have only one interest in life-getting married,
and marrying their friends one to another.”
“อย่างน้อย, ผมก็อยากเชื่อว่า Jane Austen คิดว่าเธอรู้เรื่องคนที่แต่งงานแล้ว หรือรู้เรื่องชีวิต
ของคนหนุ่มๆ แต่อ่านเรื่องชีวิตคู่ในหนังสือเธอแล้วก็น่าเบื่อ หรือไม่ก็ดูสบายๆดีสำหรับเรื่องคน
หนุ่มๆ แต่ก็ไม่มีอะไรสัมพันธ์ระหว่างกันเลย ดูคนหนุ่มสองคนที่ผมยก Darcy กับ Bingley เป็น
ตัวอย่างซิ พระเจ้าเอ๋ย! ไม่เห็นเขาทำงานการอะไรได้เป็นเรื่องเป็นราวเลย มีแต่เงิน ยิงนกก็ไม่
ได้ คิดบวกเลขก็ไม่เป็น  ว่ายน้ำ หวีผม ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ไม่เห็นพวกหนุ่มทั้งหลายคุยอะไรกัน
นอกจากเรื่องผู้หญิง  Darcy กับ Bingley มีเรื่องที่สนใจอยู่เรื่องเดียวในชีวิต คือการแต่งงาน
แล้วจับคู่แต่งงานให้เพื่อน”

ทำไมชีวิตผู้ดีอังกฤษจึงเป็นเช่นนี้?

แล้วทำไมงานเขียนทุกเรื่องของ Jane Austen จึงเป็นอย่างนี้?

และ ทำไมผู้คนจึงติดใจที่จะอ่าน จะวิจารณ์ กันมากมายจนทุกวันนี้?

ทำไม Jane Austen ถึงได้ส่งอิทธิพลต่อทั้งนักอ่าน และนักเขียนรุ่นต่อมา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด?

ใช้สำนวนวิจารณ์กรรมแบบไทยก็ต้องวิจารณ์ว่า
:
Pride and Prejudice “น้ำเน่า” โดยแท้!

เป็น “น้ำเน่า” ที่งดงามที่สุดแห่งวงวรรณกรรม … ยืนหยัดกัดกร่อนหัวใจนักอ่านมานาน 200 ปี.

แม้เนื้อเรื่องจะอยู่กับชนชั้นสูง ฟุ้งเฟ้อ แบ่งชน แยกชั้น แต่การเดินเรื่องนั้นชวนติดตามยิ่งนัก Pride and Prejudice ไม่มีฉากอื่นนอกจากในบ้าน และนอกบ้าน ในงานเต้นรำของคนชั้นสูงอังกฤษ  ไม่มีเรื่องราวของปัญหาสังคม ไม่มีประเด็นสงครามหรือสันติภาพ ไม่สนใจแม้กระทั่งจะบรรยายเรื่องธรรมชาติแวดล้อม ต้นไม้ ไร่นา หรือวิถีชีวิตเศราฐกิจ

Pride and Prejudice ของ Jane Austen เป็นนวนิยายสาระน้อย
เขียนให้อ่านเพลินไปจนจบไม่รู้ตัว

สำหรับผู้อ่านชาวไทย ประโยชน์อื่นซึ่งผู้อ่านชาวอังกฤษ/อเมริกันเห็นเป็นเรื่องปรกติธรรมดาที่คุ้นเคยแล้วจากประวัติศาสตร์ คือภาพสะท้อนชีวิตของชนชั้นสูงในอังกฤษที่เป็นจริง และสำนวนภาษาอังกฤษแบบเก่าที่ Jane Austen นำมาใช้เขียน รวมทั้งถ้อยคำสำนวนที่เธอประดิษฐ์ขึ้นมาเองใหม่ จนกลายเป็นภาษาอังกฤษแบบ Jane Austen ที่นักวิจารณ์เรียกว่า “the language of Jane Austen”:

(น.180)
“Their eyes instantly met and the cheeks of each were overspread with the deepest
blush”
“พลันที่ทั้งสองสบตากัน นวลแก้มของทั้งสองก็ซึมซ่านร่านร้อนสะท้อนประกายแห่งอารมณ์”

เมื่อกล่าวถึงเวลา:
“While I can have the mornings to myself.”
“morning” ในความหมายของ Austen เริ่มตั้งแต่เช้าไปถึงประมาณ 16:00 น.
“Dinner” อาหารเย็นตามเวลาของ Jane Austen เริ่ม 16:00 น.เป็นต้นไป
ส่วน “Afternoon” หรือเวลาบ่ายนั้น เริ่มหลังอาหารเย็น คือหลัง Dinner ไปจนถึงเวลาน้ำชา

ใน Pride and Prejudice ฉบับที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Modern Library Classics นั้น
ช่วยผู้อ่านให้เข้าใจเพิ่มเติมได้ดีมาก โดยท้ายเล่มจากหน้า 283-291 มีคำอธิบายศัพท์ภาษาอังกฤษแบบเก่า และแบบ Jane Austen รวมทั้งชื่อสถานที่ และสำนวนภาษาที่แม้กระทั่งคนอังกฤษ เองก็อาจไม่ทราบ แถมด้วยคำวิจารณ์จากนักเขียนคนมีชื่อเสียงในอดีตในหน้า 295-302 ปิดท้ายด้วยคำแนะนำจากกลุ่มผู้อ่าน หรือ Reading Group Guide ในหน้า 303 – 304

การอ่าน Pride and Prejudice นั้น จะอ่านเพื่อความฟุ้งเฟ้อเพลินเพลิน
หรือจะอ่านเป็นวิชาการ หาสาระเชิงวิเคราะห์วรรณกรรม ก็อ่านได้
จะเลือกอ่านแบบเอาเรื่อง หรืออ่านแบบหาเรื่องหาประโยชน์ ก็ได้เช่นกัน

*

Jane Austen
ประวัติโดยย่อ

 
[ภาพ Jane Austen ประมาณปี 1810 เป็นภาพสีน้ำและลายเส้นดินสอ เชื่อว่าวาดจากตัวจริงโดยพี่สาวของ Jane ชื่อ Cassandra]
A watercolour and pencil sketch of Austen, believed to have been drawn from life by her sister Cassandra (c. 1810)

  • Jane Austen (1775-1817) เป็นลูกคนที่ 7 ใน 8 คน (พี่ชาย 5 คน, พี่สาว 1 คน, น้องชาย 1 คน ในครอบครัวที่มีความอบอุ่นใกล้ชิด
  • เกิดวันที่ 16 ธันวาคม 1775 ในหมู่บ้าน Steventon เขต Hampshire
  • ปี 1801 ครอบครัวย้ายไปเมือง Bath
  • หลังบิดาถึงแก่กรรมครอบครัวย้ายไปอยู่หลายที่จนในที่สุดก็อยู่อย่างถาวรที่ Chawton, Hampshire
  • พี่ชายชื่อ Henry ช่วยเจรจากับสำนักพิมพ์ให้พิมพ์เรื่อง Sense and Sensibility นวนิยายเรื่องแรกของ Jane Austen 
  • Pride and Prejudice เป็นนวนิยายเรื่องที่สองของเธอที่เธออธิบายว่าเป็นเสมือนลูกน้อยผู้แกร่งกล้าของเธอ ("own darling child")
  • ปี 1816 Austen เริ่มป่วยไข้ สุขภาพเสื่อมโทรมลง เชื่อว่าเป็นโรค Addison's disease. และถึงแก่กรรมที่เมือง Winchester ในปีถัดมา, อายุ 41
  • งานเขียนทั้งหมด 6 เรื่องของเธอได้รับการยกย่องว่าให้ความรู้สึกลึกถึงชีวิตสตรีชนชั้นกลางและชั้นสูงในสังคมอังกฤษต้นศตวรรษที่ 19

อ้างอิง:
[Jane Austen, Pride and Prejudice, (First published by T. Egerton, Whitehall, London, 28 January 1813), Modern Library Classic, New York, October 10, 2000 [Introduction by Anna Quindlen, Commentary by Margaret Oliphant, George Saintsbury, Mark Twain, A. C. Bradley, Walter A. Raleigh, and Virginia Woolf] , 320 pages| ISBN-10: 0679783261 | ISBN-13: 978-0679783268]

ข่าว 200 ปี Pride and Prejudice จาก BBC:
http://www.bbc.co.uk/news/entertainment-arts-21078941

สมเกียรติ อ่อนวิมล
28 January 2013
ครบรอบ 200 ปี Pride and Prejudice