จาก : อ่านเอาเพื่อน --อ่าน ‘กงเบรย์’ ค้นหาวันเวลาที่สูญหาย---
“เวลา มิได้เพียงกัดกร่อนผู้คนและสรรพ...: ---อ่าน ‘กงเบรย์’ ค้นหาวันเวลาที่สูญหาย---
“เวลา มิได้เพียงกัดกร่อนผู้คนและสรรพสิ่งรอบตัวเราเท่านั้น หากร้ายกว่านั้นคือตัวตนของเราเองก็แตกกระจัดกระจายไปตามกระแสของเวลา ดังนั้น อาศัยความทรงจำที่กลับมาโดยบังเอิญ ผู้เล่าเรื่องจึงเริ่มกระบวนการแสวงหา ‘วันเวลาที่สูญหายไป’นั่นคือ การค้นหาสารัตถะอันต่อเนื่องของตัวตนจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อยืนยันว่าแม้เราจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่เราก็คือคนคนเดียวกับคนที่เราเคยเป็นในอดีต”
---นพพร ประชากุล/ พรุสต์:ตัวตน กาลเวลา วรรณกรรม
คอวรรณกรรมคลาสสิคต้องรู้จัก A la Recherche du temps perdu หรือ“การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย” นวนิยายเรื่องเอกของมาร์แซ็ล พรุสต์เป็นแน่ ที่ผ่านมาไม่เคยนึกอยากอ่าน ไม่ใช่หยิ่งหรอกแต่เพราะ หนึ่ง ไม่รู้หนังสือ(ฝรั่งเศส) สอง กิตติศัพท์ความยากของมัน เคยไปยืนอยู่ต่อหน้าฉบับแปลภาษาอังกฤษในร้านหนังสือมือสองที่ดีที่สุดในประเทศไทย (มั่นใจมาก) ประเมินตัวเองโดยมีคนขายหนังสือที่น่ารักที่สุดในโลกเป็นพยาน แล้วจำใจสารภาพว่าด้วยสถานการณ์ขณะนี้อาจใช้เวลาอ่านมากกว่าที่พรุสต์ใช้เวลาเขียน จึงได้แต่ชิมกงเบรย์ไปพลางๆก่อน
กงเบรย์ เป็นแค่เสี้ยวเล็กๆเสี้ยวหนึ่งของ “การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย”ซึ่งคุณวชิระ ภัทรโพธิกุล แปลขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาการแปล โดยมีอาจารย์นพพร ประชากุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นบรรณาธิการแปล ส่วนที่คัดมาแปลเล่าถึงโลกวัยเยาว์ในเมืองเล็กๆ และวิถีชีวิตอันเรียบเรื่อยเอื่อยช้า อ่านแล้วภาพในวัยเด็กของเราเองอาจมาปรากฏกระจ่างอยู่ตรงหน้า เหมือนที่ ‘ข้าพเจ้า’ในเรื่อง รับประทานขนมไข่จุ่มน้ำชาแล้วนึกถึงวัยเด็กที่กงเบรย์ พรุสต์เล่าเรื่องอย่างมีรายละเอียดยิบ ด้วยประโยคที่ยาวและซับซ้อน ต้องตั้งใจและมีใจอ่านเป็นพิเศษ สำนวนแปลก็ทำได้นวลเนียนน่าอ่าน...แต่ส่วนที่สำคัญพอกันและอ่านแล้ววางไม่ลงคือ “ภาคผนวก”
ภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้เป็นบทความสองชิ้นของอาจารย์นพพร คือ “พรุสต์:ตัวตน กาลเวลา วรรณกรรม” และ “มาร์แซ็ล พรุสต์ : จากโมเดอร์นิสม์สู่โพสต์โมเดิร์น” อาจารย์นพพรนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมฝรั่งเศส และชื่นชอบหนังสือเล่มนี้เป็นพิเศษ อาจารย์ค่อยๆ พาเราไปรู้จักพรุสต์และวันเวลาที่สูญหายไปของเขาแต่ละเล่มแต่ละตอนซึ่งหากอ่านเองก็อาจจะยากในการทำความเข้าใจวรรณศิลป์ของผู้เขียนที่มีลักษณะเฉพาะตัว การอ่านกงเบรย์และบทวิเคราะห์จึงเท่ากับทำความรู้จัก “การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย” ในภาพรวม จึงเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นกับลีลาการเขียนของพรุสต์
“ในกงเบรย์ พรุสต์ค่อยๆ ประกอบสร้างโลกเล็กๆ ใบหนึ่งขึ้นมาอย่างบรรจง ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ บ้าน ผู้คน ถนน ห้องนอน ทิวทัศน์ หรือวัตถุสิ่งของ ขณะที่เขาเล่าขานถึงสิ่งเหล่านี้ ผู้อ่านจะได้พบเห็นกลวิธีพรรณนาและกระบวนการเล่าเรื่องอันจะเป็นเอกลักษณ์แห่งลีลาเขาตลอดไปในทุกเล่ม จะได้สัมผัสรายละเอียดอันล้นหลามซึ่งประมวลขึ้นเป็นบรรยากาศแบบพรุสต์ และจะได้รับความเพลิดเพลินเจริญใจเหมือนอย่างที่นักอ่านพรุสต์ได้รับจากเล่มอื่นๆ ในนวนิยายขนาดยาว ‘การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย’อย่างเต็มอิ่มไม่แพ้กัน” (คำโปรยปกหลัง)
งานของพรุสต์ใช้เทคนิค “ตัดต่อ” แบบภาพยนตร์ พรุสต์เขียนแต่ละฉากแยกไว้อย่างเป็นอิสระต่อกัน จากนั้นก็นำมาเรียงร้อยเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน นวนิยายของพรุสต์จึง “อ่านเจาะ” ได้ ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งคือพรุสต์ใช้อุปลักษณ์ในการประดิษฐ์ภาษาอันซับซ้อนเป็นตัวของตัวเอง เช่น “เสียงกังวานรูปไข่และเป็นสีทอง” แม้จะเป็นการเปรียบเทียบชนิดข้ามสัมผัสรับรู้ แต่ก็สร้างภาพได้อย่างน่าฉงน เสียงที่มีรูปไข่จึงนุ่มนวลกลมมนไม่บาดหู
การอ่าน “กงเบรย์” แม้จะเป็นเพียงหนังตัวอย่างเศษเสี้ยวเล็กๆ จากหนังสือขนาดมหึมากว่า 3000 หน้า (ฉบับแปลภาษาอังกฤษ 4215 หน้า) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 เล่ม กงเบรย์อยู่ในเล่มแรก(ทางฟากบ้านนายสวานน์)ที่ประกอบด้วย 3 เล่มย่อย-- พรุสต์ใช้เวลา 15 ปีหลังของชีวิตในการเขียน-- เมื่อผนวกกับบทวิเคราะห์ชั้นครูที่ให้ความรู้ความเข้าใจในวรรณกรรมชั้นเยี่ยมของพรุสต์ ก็อาจทำให้ใครหลายคนตั้งตารอว่าสักวันหนึ่ง คงมีใครสักคนสนใจและทุ่มเทเวลาในชีวิต แปลเป็นภาษาไทยให้นักอ่านชาวไทยได้อ่านและศึกษาวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่องนี้ ซึ่งว่ากันว่า…
‘นักประพันธ์ที่บังเอิญได้อ่านพรุสต์จนทะลุปรุโปร่ง มักจะตกอยู่ในภาวะย่อท้อ เสียแรงบันดาลใจ ด้วยบังเกิดความรู้สึกว่า ทั้งในด้านพลังการสำรวจชีวิตมนุษย์และในแง่ชั้นเชิงการประพันธ์ ได้มีผู้พิชิตจุดสุดยอดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับนักอ่านที่อดทนอ่านพรุสต์จนช่ำชินกล่าวได้ว่า การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย คือ แดนสวรรค์แห่งวรรณกรรมเราดีๆ นี่เอง’ (วิจักษ์วิจารณ์วรรณกรรมฝรั่งเศส /นพพร ประชากุล)
น่าเสียดายที่มัคคุเทศก์บทเรื่อง ‘มีอะไรในกงเบรย์’ ที่อาจารย์นพพรตั้งใจจะเขียนนั้นไม่สามารถเขียนได้จบเนื่องจากอาจารย์ป่วยและเสียชีวิตไปก่อน เราจึงเห็นเค้าโครงคร่าวๆ ที่เป็นลายมืออาจารย์ปรากฏอยู่ที่ส่วนหน้า ซึ่งอาจชดเชยได้บ้างด้วยการอ่านภาคผนวก
--------
กงเบรย์ โลกใบแรกของมาร์แซ็ล
วชิระ ภัทรโพธิกุล แปล
นพพร ประชากุล บรรณาธิการแปลและบทวิเคราะห์พรุสต์อย่างละเอียด
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ 2554
อ่านชีวิต
“เวลา มิได้เพียงกัดกร่อนผู้คนและสรรพ...: ---อ่าน ‘กงเบรย์’ ค้นหาวันเวลาที่สูญหาย---
“เวลา มิได้เพียงกัดกร่อนผู้คนและสรรพสิ่งรอบตัวเราเท่านั้น หากร้ายกว่านั้นคือตัวตนของเราเองก็แตกกระจัดกระจายไปตามกระแสของเวลา ดังนั้น อาศัยความทรงจำที่กลับมาโดยบังเอิญ ผู้เล่าเรื่องจึงเริ่มกระบวนการแสวงหา ‘วันเวลาที่สูญหายไป’นั่นคือ การค้นหาสารัตถะอันต่อเนื่องของตัวตนจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อยืนยันว่าแม้เราจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่เราก็คือคนคนเดียวกับคนที่เราเคยเป็นในอดีต”
---นพพร ประชากุล/ พรุสต์:ตัวตน กาลเวลา วรรณกรรม
คอวรรณกรรมคลาสสิคต้องรู้จัก A la Recherche du temps perdu หรือ“การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย” นวนิยายเรื่องเอกของมาร์แซ็ล พรุสต์เป็นแน่ ที่ผ่านมาไม่เคยนึกอยากอ่าน ไม่ใช่หยิ่งหรอกแต่เพราะ หนึ่ง ไม่รู้หนังสือ(ฝรั่งเศส) สอง กิตติศัพท์ความยากของมัน เคยไปยืนอยู่ต่อหน้าฉบับแปลภาษาอังกฤษในร้านหนังสือมือสองที่ดีที่สุดในประเทศไทย (มั่นใจมาก) ประเมินตัวเองโดยมีคนขายหนังสือที่น่ารักที่สุดในโลกเป็นพยาน แล้วจำใจสารภาพว่าด้วยสถานการณ์ขณะนี้อาจใช้เวลาอ่านมากกว่าที่พรุสต์ใช้เวลาเขียน จึงได้แต่ชิมกงเบรย์ไปพลางๆก่อน
กงเบรย์ เป็นแค่เสี้ยวเล็กๆเสี้ยวหนึ่งของ “การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย”ซึ่งคุณวชิระ ภัทรโพธิกุล แปลขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาการแปล โดยมีอาจารย์นพพร ประชากุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เป็นบรรณาธิการแปล ส่วนที่คัดมาแปลเล่าถึงโลกวัยเยาว์ในเมืองเล็กๆ และวิถีชีวิตอันเรียบเรื่อยเอื่อยช้า อ่านแล้วภาพในวัยเด็กของเราเองอาจมาปรากฏกระจ่างอยู่ตรงหน้า เหมือนที่ ‘ข้าพเจ้า’ในเรื่อง รับประทานขนมไข่จุ่มน้ำชาแล้วนึกถึงวัยเด็กที่กงเบรย์ พรุสต์เล่าเรื่องอย่างมีรายละเอียดยิบ ด้วยประโยคที่ยาวและซับซ้อน ต้องตั้งใจและมีใจอ่านเป็นพิเศษ สำนวนแปลก็ทำได้นวลเนียนน่าอ่าน...แต่ส่วนที่สำคัญพอกันและอ่านแล้ววางไม่ลงคือ “ภาคผนวก”
ภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้เป็นบทความสองชิ้นของอาจารย์นพพร คือ “พรุสต์:ตัวตน กาลเวลา วรรณกรรม” และ “มาร์แซ็ล พรุสต์ : จากโมเดอร์นิสม์สู่โพสต์โมเดิร์น” อาจารย์นพพรนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมฝรั่งเศส และชื่นชอบหนังสือเล่มนี้เป็นพิเศษ อาจารย์ค่อยๆ พาเราไปรู้จักพรุสต์และวันเวลาที่สูญหายไปของเขาแต่ละเล่มแต่ละตอนซึ่งหากอ่านเองก็อาจจะยากในการทำความเข้าใจวรรณศิลป์ของผู้เขียนที่มีลักษณะเฉพาะตัว การอ่านกงเบรย์และบทวิเคราะห์จึงเท่ากับทำความรู้จัก “การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย” ในภาพรวม จึงเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นกับลีลาการเขียนของพรุสต์
“ในกงเบรย์ พรุสต์ค่อยๆ ประกอบสร้างโลกเล็กๆ ใบหนึ่งขึ้นมาอย่างบรรจง ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ บ้าน ผู้คน ถนน ห้องนอน ทิวทัศน์ หรือวัตถุสิ่งของ ขณะที่เขาเล่าขานถึงสิ่งเหล่านี้ ผู้อ่านจะได้พบเห็นกลวิธีพรรณนาและกระบวนการเล่าเรื่องอันจะเป็นเอกลักษณ์แห่งลีลาเขาตลอดไปในทุกเล่ม จะได้สัมผัสรายละเอียดอันล้นหลามซึ่งประมวลขึ้นเป็นบรรยากาศแบบพรุสต์ และจะได้รับความเพลิดเพลินเจริญใจเหมือนอย่างที่นักอ่านพรุสต์ได้รับจากเล่มอื่นๆ ในนวนิยายขนาดยาว ‘การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย’อย่างเต็มอิ่มไม่แพ้กัน” (คำโปรยปกหลัง)
งานของพรุสต์ใช้เทคนิค “ตัดต่อ” แบบภาพยนตร์ พรุสต์เขียนแต่ละฉากแยกไว้อย่างเป็นอิสระต่อกัน จากนั้นก็นำมาเรียงร้อยเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน นวนิยายของพรุสต์จึง “อ่านเจาะ” ได้ ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งคือพรุสต์ใช้อุปลักษณ์ในการประดิษฐ์ภาษาอันซับซ้อนเป็นตัวของตัวเอง เช่น “เสียงกังวานรูปไข่และเป็นสีทอง” แม้จะเป็นการเปรียบเทียบชนิดข้ามสัมผัสรับรู้ แต่ก็สร้างภาพได้อย่างน่าฉงน เสียงที่มีรูปไข่จึงนุ่มนวลกลมมนไม่บาดหู
การอ่าน “กงเบรย์” แม้จะเป็นเพียงหนังตัวอย่างเศษเสี้ยวเล็กๆ จากหนังสือขนาดมหึมากว่า 3000 หน้า (ฉบับแปลภาษาอังกฤษ 4215 หน้า) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 เล่ม กงเบรย์อยู่ในเล่มแรก(ทางฟากบ้านนายสวานน์)ที่ประกอบด้วย 3 เล่มย่อย-- พรุสต์ใช้เวลา 15 ปีหลังของชีวิตในการเขียน-- เมื่อผนวกกับบทวิเคราะห์ชั้นครูที่ให้ความรู้ความเข้าใจในวรรณกรรมชั้นเยี่ยมของพรุสต์ ก็อาจทำให้ใครหลายคนตั้งตารอว่าสักวันหนึ่ง คงมีใครสักคนสนใจและทุ่มเทเวลาในชีวิต แปลเป็นภาษาไทยให้นักอ่านชาวไทยได้อ่านและศึกษาวรรณกรรมชิ้นเอกเรื่องนี้ ซึ่งว่ากันว่า…
‘นักประพันธ์ที่บังเอิญได้อ่านพรุสต์จนทะลุปรุโปร่ง มักจะตกอยู่ในภาวะย่อท้อ เสียแรงบันดาลใจ ด้วยบังเกิดความรู้สึกว่า ทั้งในด้านพลังการสำรวจชีวิตมนุษย์และในแง่ชั้นเชิงการประพันธ์ ได้มีผู้พิชิตจุดสุดยอดไปแล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับนักอ่านที่อดทนอ่านพรุสต์จนช่ำชินกล่าวได้ว่า การค้นหาวันเวลาที่สูญหาย คือ แดนสวรรค์แห่งวรรณกรรมเราดีๆ นี่เอง’ (วิจักษ์วิจารณ์วรรณกรรมฝรั่งเศส /นพพร ประชากุล)
น่าเสียดายที่มัคคุเทศก์บทเรื่อง ‘มีอะไรในกงเบรย์’ ที่อาจารย์นพพรตั้งใจจะเขียนนั้นไม่สามารถเขียนได้จบเนื่องจากอาจารย์ป่วยและเสียชีวิตไปก่อน เราจึงเห็นเค้าโครงคร่าวๆ ที่เป็นลายมืออาจารย์ปรากฏอยู่ที่ส่วนหน้า ซึ่งอาจชดเชยได้บ้างด้วยการอ่านภาคผนวก
--------
กงเบรย์ โลกใบแรกของมาร์แซ็ล
วชิระ ภัทรโพธิกุล แปล
นพพร ประชากุล บรรณาธิการแปลและบทวิเคราะห์พรุสต์อย่างละเอียด
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ 2554
อ่านชีวิต
Hey there, We are Blossom Themes! We are trying to provide you the new way to look and use the blogger templates. Our designers are working hard and pushing the boundaries of possibilities to widen the horizon of the regular templates and provide high quality blogger templates to all hardworking bloggers!