สุจิตต์ วงษ์เทศ : เริ่มต้นเลียนแบบ วันนี้ พรุ่งนี้ก็เป็นกวี, นักเขียน, ศิลปิน:
มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556
“หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน คือการเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของคุณ เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวคุณเองขึ้นมา”
จากหนังสือ “ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน” Steal Like an Artist ของ Austin Kleon แปลโดย อาสยา ฐกัดกุล (สำนักพิมพ์วีเลิร์น)
คำว่า ขโมย ในชื่อหนังสือขโมยให้ได้อย่างศิลปิน จึงน่าจะหมายถึง เก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่นมาทำเลียนแบบด้วยชื่นชอบและศรัทธา มิได้เจตนาจะให้หมายถึงลักเอา(ทรัพย์สินทางปัญญา)ของคนอื่นอย่างจงใจจริง
ครูบาอาจารย์ผู้สอนทางวรรณกรรมและศิลปกรรม มักบอกตรงกันว่า ถ้าอยากเป็นกวี, นักเขียน, นักประพันธ์, ศิลปิน, ฯลฯ ให้นักเรียนนักศึกษาค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ของตัวเองอย่าให้เหมือนคนอื่นเป็นอันดับแรก
ผมคิดว่าคำสอนอย่างนี้ใช้การไม่ได้กับคนทั่วๆไปในวงกว้าง สิ่งที่ใช้การได้เลยทันที คือให้เริ่มต้นเลียนแบบ มีในหนังสือขโมยให้ได้อย่างศิลปิน ว่า
“ไม่มีใครเกิดมามีมุมมองหรือสไตล์เฉพาะตัวในทันที เราไม่ได้รู้จักตัวตนของตัวเองตั้งแต่หลุดออกมาจากท้องแม่ ในช่วงเริ่มต้นเราจะเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบฮีโร่ในดวงใจของเรา เราเรียนรู้ด้วยการลอกเลียนคนอื่น
นี่เราไม่ได้พูดถึงการขโมยผลงานนะครับ การขโมยผลงานคือการเอางานของคนอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นของตัวเอง
แต่การเลียนแบบคือการรื้อโครงสร้างเดิมออก แล้วประกอบขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ ไม่ต่างอะไรกับช่างเครื่องที่รื้อชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อดูว่ากลไกข้างในทำงานอย่างไร”
พระพุทธรูปแบบสุโขทัย(ที่เรียกกันทั่วไปว่า ศิลปะสุโขทัย) มีขึ้นจากการทำเลียนแบบพระพุทธรูปที่มีมาก่อนทั้งในสยามและในลังกา
พระพุทธรูปทั้งในสยามและในลังกาที่มีมาก่อน ก็ทำเลียนแบบพระพุทธรูปในอินเดียที่มีมาก่อน ซึ่งเลียนแบบเทวรูปกรีก เช่น เทพอพอลโล มาอีกชั้นหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น
ช่างแต่ละยุคที่ทำพระพุทธรูปเลียนแบบ ล้วนผสมผสานความคิดของตนเข้าไปด้วยเสมอ ซึ่งมีขึ้นจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมขณะนั้น จะโดยจงใจ หรือไม่จงใจก็ตาม
กลอนแปด หรือกลอนสุภาพ ส่งสัมผัสใน ไม่ใช่สิ่งที่สุนทรภู่สร้างสรรค์ใหม่ขึ้นด้วยตัวเองทั้งหมด
แต่สุนทรภู่เลียนแบบกลอนส่งสัมผัสในที่มีมาก่อนสุนทรภู่เกิด(มีหลักฐานอยู่ในหนังสือกลอนอ่านเรื่องท้าวปาจิตกุมาร แต่งสมัยปลายอยุธยา-ธนบุรี) แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดใหม่ของสุนทรภู่ จนกลายเป็นกลอนแบบสุนทรภู่
คุณขรรค์ชัย บุนปาน ก่อนอายุ 20 เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ(ในคลองบางกอกใหญ่) เริ่มเขียนกลอนเกี้ยวสาว และออกหนังสือพิมพ์คัดลายมือตัวเองในห้องเรียนแล้ว ได้ไปเช่าหนังสือขุนศึก นิยายขนาดยาวของ ไม้ เมืองเดิม แล้วชวนแกมบังคับให้ผมอ่านตั้งแต่เล่มแรกจนเล่มสุดท้าย (หุ้มปกแข็ง มี 9 เล่มหนาๆ)
ผมไม่เคยอ่านหนังสืออะไรมากมายขนาดนี้มาก่อน และไม่เคยคิดอยากอ่านอยากเขียนอะไรเลย เพราะถือว่าเป็นงานชั้นสูงที่อยู่ไกลเกินฝันของตัวเอง
ครั้นอ่านขุนศึกจบหมดแล้ว รู้สึกถูกจริตบ้านนอก ก็เกิดอาการกำเริบอยากเลียนแบบสำนวนลูกทุ่ง“มึงวาพาโวย” ของ ไม้ เมืองเดิม แล้วเริ่มลงมือตั้งแต่บัดนั้นสืบเนื่องมาจนบัดนี้
ถ้าใครถามว่าได้แบบอย่างเขียนเรื่องสั้นและนิยายจากไหน? ผมจะตอบทันใดด้วยภาษาปากเป็นที่รู้กันว่า“กูขโมย จาก ไม้ เมืองเดิม”
“เจ้าขุนทองไปปล้น ป่านฉะนี้ไม่เห็นมา” ผมขโมยจากเพลงร้องเล่นทั่วไปของชาวบ้านภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยุคก่อนๆ ที่จำได้จากไหนไม่รู้ ไม่ได้คิดขึ้นเองเลย
ความคิดที่ประดิษฐ์ถ้อยคำจำนวนมาก รวมถึงวลีและประโยคต่างๆ ผมได้จากวงข้าววงเหล้าเอามาใช้เขียนหนังสือหลายสิบปีมาแล้ว
บางอย่างและหลายอย่างเข้าหูซ้ายทะลุหูขวามาแต่แรก ไม่ได้ใส่ใจ แต่มันค้างคาเป็นขี้หูอยู่ในใจ พอมีวิกฤตต้องใช้งานก็ฉวยมาใช้ทันทีทันใดไม่ทันขออนุญาต
ไม่รู้จะขอใคร เพราะจำไม่ได้หรอกว่าของใคร? ที่ไหน? เมื่อไร? ก็ได้แต่รำลึกนึกถึงบทไหว้ครูเสภาว่า“ครูพักอักษร” คือ“ครูพักลักจำ”นี่เอง
ขโมยก็ดี เลียนแบบก็ดี ในงานวรรณกรรม คนโบราณถือว่าล้วนเป็นศิษย์ครูพักลักจำทั้งนั้น ไม่ใช่อาชญากร
เริ่มต้นเลียนแบบ“ครูพักลักจำ”วันนี้ พอถึงพรุ่งนี้ก็เป็น กวี, นักเขียน, นักประพันธ์, ศิลปิน (ถ้าคิดว่าตัวเองเป็นได้)
มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556
“หัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน คือการเก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่น แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดของคุณ เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวคุณเองขึ้นมา”
จากหนังสือ “ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน” Steal Like an Artist ของ Austin Kleon แปลโดย อาสยา ฐกัดกุล (สำนักพิมพ์วีเลิร์น)
คำว่า ขโมย ในชื่อหนังสือขโมยให้ได้อย่างศิลปิน จึงน่าจะหมายถึง เก็บเล็กผสมน้อยจากความคิดของคนอื่นมาทำเลียนแบบด้วยชื่นชอบและศรัทธา มิได้เจตนาจะให้หมายถึงลักเอา(ทรัพย์สินทางปัญญา)ของคนอื่นอย่างจงใจจริง
ครูบาอาจารย์ผู้สอนทางวรรณกรรมและศิลปกรรม มักบอกตรงกันว่า ถ้าอยากเป็นกวี, นักเขียน, นักประพันธ์, ศิลปิน, ฯลฯ ให้นักเรียนนักศึกษาค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ของตัวเองอย่าให้เหมือนคนอื่นเป็นอันดับแรก
ผมคิดว่าคำสอนอย่างนี้ใช้การไม่ได้กับคนทั่วๆไปในวงกว้าง สิ่งที่ใช้การได้เลยทันที คือให้เริ่มต้นเลียนแบบ มีในหนังสือขโมยให้ได้อย่างศิลปิน ว่า
“ไม่มีใครเกิดมามีมุมมองหรือสไตล์เฉพาะตัวในทันที เราไม่ได้รู้จักตัวตนของตัวเองตั้งแต่หลุดออกมาจากท้องแม่ ในช่วงเริ่มต้นเราจะเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบฮีโร่ในดวงใจของเรา เราเรียนรู้ด้วยการลอกเลียนคนอื่น
นี่เราไม่ได้พูดถึงการขโมยผลงานนะครับ การขโมยผลงานคือการเอางานของคนอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นของตัวเอง
แต่การเลียนแบบคือการรื้อโครงสร้างเดิมออก แล้วประกอบขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ ไม่ต่างอะไรกับช่างเครื่องที่รื้อชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อดูว่ากลไกข้างในทำงานอย่างไร”
พระพุทธรูปแบบสุโขทัย(ที่เรียกกันทั่วไปว่า ศิลปะสุโขทัย) มีขึ้นจากการทำเลียนแบบพระพุทธรูปที่มีมาก่อนทั้งในสยามและในลังกา
พระพุทธรูปทั้งในสยามและในลังกาที่มีมาก่อน ก็ทำเลียนแบบพระพุทธรูปในอินเดียที่มีมาก่อน ซึ่งเลียนแบบเทวรูปกรีก เช่น เทพอพอลโล มาอีกชั้นหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น
ช่างแต่ละยุคที่ทำพระพุทธรูปเลียนแบบ ล้วนผสมผสานความคิดของตนเข้าไปด้วยเสมอ ซึ่งมีขึ้นจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมขณะนั้น จะโดยจงใจ หรือไม่จงใจก็ตาม
กลอนแปด หรือกลอนสุภาพ ส่งสัมผัสใน ไม่ใช่สิ่งที่สุนทรภู่สร้างสรรค์ใหม่ขึ้นด้วยตัวเองทั้งหมด
แต่สุนทรภู่เลียนแบบกลอนส่งสัมผัสในที่มีมาก่อนสุนทรภู่เกิด(มีหลักฐานอยู่ในหนังสือกลอนอ่านเรื่องท้าวปาจิตกุมาร แต่งสมัยปลายอยุธยา-ธนบุรี) แล้วนำมาผสมผสานกับความคิดใหม่ของสุนทรภู่ จนกลายเป็นกลอนแบบสุนทรภู่
คุณขรรค์ชัย บุนปาน ก่อนอายุ 20 เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ(ในคลองบางกอกใหญ่) เริ่มเขียนกลอนเกี้ยวสาว และออกหนังสือพิมพ์คัดลายมือตัวเองในห้องเรียนแล้ว ได้ไปเช่าหนังสือขุนศึก นิยายขนาดยาวของ ไม้ เมืองเดิม แล้วชวนแกมบังคับให้ผมอ่านตั้งแต่เล่มแรกจนเล่มสุดท้าย (หุ้มปกแข็ง มี 9 เล่มหนาๆ)
ผมไม่เคยอ่านหนังสืออะไรมากมายขนาดนี้มาก่อน และไม่เคยคิดอยากอ่านอยากเขียนอะไรเลย เพราะถือว่าเป็นงานชั้นสูงที่อยู่ไกลเกินฝันของตัวเอง
ครั้นอ่านขุนศึกจบหมดแล้ว รู้สึกถูกจริตบ้านนอก ก็เกิดอาการกำเริบอยากเลียนแบบสำนวนลูกทุ่ง“มึงวาพาโวย” ของ ไม้ เมืองเดิม แล้วเริ่มลงมือตั้งแต่บัดนั้นสืบเนื่องมาจนบัดนี้
ถ้าใครถามว่าได้แบบอย่างเขียนเรื่องสั้นและนิยายจากไหน? ผมจะตอบทันใดด้วยภาษาปากเป็นที่รู้กันว่า“กูขโมย จาก ไม้ เมืองเดิม”
“เจ้าขุนทองไปปล้น ป่านฉะนี้ไม่เห็นมา” ผมขโมยจากเพลงร้องเล่นทั่วไปของชาวบ้านภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยุคก่อนๆ ที่จำได้จากไหนไม่รู้ ไม่ได้คิดขึ้นเองเลย
ความคิดที่ประดิษฐ์ถ้อยคำจำนวนมาก รวมถึงวลีและประโยคต่างๆ ผมได้จากวงข้าววงเหล้าเอามาใช้เขียนหนังสือหลายสิบปีมาแล้ว
บางอย่างและหลายอย่างเข้าหูซ้ายทะลุหูขวามาแต่แรก ไม่ได้ใส่ใจ แต่มันค้างคาเป็นขี้หูอยู่ในใจ พอมีวิกฤตต้องใช้งานก็ฉวยมาใช้ทันทีทันใดไม่ทันขออนุญาต
ไม่รู้จะขอใคร เพราะจำไม่ได้หรอกว่าของใคร? ที่ไหน? เมื่อไร? ก็ได้แต่รำลึกนึกถึงบทไหว้ครูเสภาว่า“ครูพักอักษร” คือ“ครูพักลักจำ”นี่เอง
ขโมยก็ดี เลียนแบบก็ดี ในงานวรรณกรรม คนโบราณถือว่าล้วนเป็นศิษย์ครูพักลักจำทั้งนั้น ไม่ใช่อาชญากร
เริ่มต้นเลียนแบบ“ครูพักลักจำ”วันนี้ พอถึงพรุ่งนี้ก็เป็น กวี, นักเขียน, นักประพันธ์, ศิลปิน (ถ้าคิดว่าตัวเองเป็นได้)