By : Nat
“A Moveable Feast” ของเฮมิงเวย์:
สาเหตุที่หาหนังสือเล่มนี้มาอ่านมีสาเหตุเดียวเลยจริงๆ คือดูหนังเรื่อง “Midnight in Paris” แล้วมันยังรู้สึกไม่อิ่ม เดินออกมาจากโรงหนังลิโด้ประมาณตอนบ่ายสองผมก็ก้าวฉับ ฉับ ฉับ ไปที่คิโนะคูนิยะที่สยามพารากอนมุ่งหน้าไปที่ชั้นวรรณกรรมของนักเขียนตัว “H” และภาวนาให้มันยังมี ‘A Moveable Feast’ และมันก็มีอยู่หนึ่งเล่มจริงๆ พลิกๆ หนังสือดูก่อนจะไปจ่ายสตางค์ตื่นเต้นมาก “เฮ้ย! ในหนังตอน 1920s มันเหมือนในหนังสือเล่มนี้เลยหนิ”
หนังสือเล่มนี้เฮมิงเวย์เขียนถึงเรื่องราวตอนที่เขาอาศัยอยู่ในปารีสยุค 1920s กับภรรยาและลูกชายตัวน้อยตอนนั้นเขายากจนมากๆ กินอาหารไม่ครบมื้ออดๆ อยากๆ แม้แต่หนังสือยังไม่มีเงินซื้อ กระทั่งเงินจะเช่ายืมหนังสือยังลำบาก แต่เขาก็โชคดีมากที่เจอ นักเขียน กวี และศิลปินที่เป็นชาวต่างชาติหลายคนที่มาอาศัยอยู่ในปารีสยุคนั้น เช่น ปิกัสโซ่, เกอร์ทรูด สไตน์, เจมส์ จอยซ์, เอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ฯลฯ และเขาก็ยังสามารถยืมหนังสือดีๆ ของนักเขียนรัสเซียและฝรั่งเศสได้จากห้องสมุดของ ซิลเวีย บีส เจ้าของร้าน Shakespeare and Company ตอนนั้นเฮมิงเวย์ยังไม่มีนิยายตีพิมพ์ เขากำลังเขียน “The Sun Also Rises” อยู่
หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกความทรงจำที่อ่านสนุกมากเขาแสดงให้เห็นถึงวินัยในการใช้ชีวิตของนักเขียนที่จริงจังกับงานเขียนมาก เขียนเล่าเรื่องต่างๆ ความสัมพันธ์กับเพื่อนนักเขียน กวี และศิลปิน หลายคน เฉพาะเรื่องเทคนิคการเขียนที่ผมพอจำได้คือ เฮมิงเวย์จะหยุดเขียนก่อนที่จะหมดเรื่องเขียนเพื่อว่าจากเขียนครั้งต่อไปเขาจะเริ่มได้เลยทันทีต่อจากที่หยุดไว้ และเมื่อหยุดเขียนเขาจะไม่คิดถึงงานอีกเขาจะให้จิตใต้สำนึกทำงานในขณะที่อ่านงานเขียนของคนอื่นๆ เท่าที่สังเกตเขาเป็นคนอ่านหนังสือแบบดูเรื่องเทคนิคการเขียนตลอดไม่ว่าจะเป็นการเขียนของดอสโตเยฟสกี้ที่เขารู้สึกว่าเขียนได้แย่มาก แต่ทำไมมันถึงได้กระทบอารมณ์เขามาก มีอยู่ตอนนึงเขาคุยเรื่องวรรณกรรมรัสเซียกับเพื่อนกวีเขาได้สนุกมาก เฮมิงเวย์มีความเชื่อหนึ่งที่เขาเรียกว่า “mot juste” คือมีคำเพียงคำเดียวเท่านั้นที่เป็นคำที่ถูกต้องที่จะใช้ (the one and only correct word to use) เท่าที่ผมเข้าใจคือในหนึ่งประโยคนั้นคำหลายคำที่สามารถเลือกมาใช้ได้นั้นจะมีเพียงคำเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง ซึ่งดอสโตเยฟสกี้ทำให้ความเชื่อเขาสั่นคล่อนเพราะงานเขียนของดอสโตเยฟสกี้นั้นโดยเทคนิคสำหรับเขาจัดว่าแย่แต่มันก็ทำให้เขามีอารมณ์ร่วมในงาน
ยังมีเรื่องที่น้ำเสียงในบันทึกจริงจังมาก แต่ทำให้ผมขำมากคือเขาเล่าเรื่องของสกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ไว้สามบทด้วยกันซึ่งสนุกทุกบท ในบทสุดท้ายเขาเล่าว่า สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์บอกว่าเคยนอนกับเซลด้าภรรยาสุดรักของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น และเซลด้าก็บอกว่า “ร่างกาย” ของเขาไม่อาจจะทำให้ผู้หญิงมีความสุขได้เลย (เซลด้าเคยมีคนรักเป็นทหารเรือฝรั่งเศส) ฟิตซ์เจอรัลด์อยากให้เฮมิงเวย์ช่วยบอกตามความจริงหน่อยว่ามันเป็นอย่างไร เฮมิงเวย์พาฟิตซ์เจอรัลด์ไปสำรวจแล้วก็บอกว่าปกติ แต่ฟิตซ์เจอรัลด์ก็ยังแคลงใจ เฮมิงเวย์ก็เลยพาไปดูรูปปั้นต่างๆ ที่ลูฟวร์อีก ถึงอย่างนั้นฟิตซ์เจอรัลด์ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าเขาปกติ ทั้งหมดนี้เล่าด้วยน้ำเสียงแบบเฮมิงเวย์
เฮมิงเวย์บอกเขาเรียนรู้เรื่องงานเขียนจากภาพวาดของพอล เซซานน์เยอะมากแต่มันเป็นความลับแล้วก็จบอยู่แค่นั้น แบบนี้แหละมั้งคือสิ่งที่เฮมิงเวย์บอกว่าเขาพบทฤษฎีการเขียนอย่างหนึ่งคือ “คุณสามารถกั๊กอะไรก็ตามที่คุณรู้ตัวว่าคุณกำลังกั๊ก และสิ่งที่คุณกั๊กไว้จะทำให้งานเขียนคุณมีพลังขึ้น เพราะคนอ่านจะรู้สึกเหมือนว่ามีอะไรบางอย่างที่เหนือไปกว่าความเข้าใจของพวกเขา”
“A Moveable Feast” ของเฮมิงเวย์:
สาเหตุที่หาหนังสือเล่มนี้มาอ่านมีสาเหตุเดียวเลยจริงๆ คือดูหนังเรื่อง “Midnight in Paris” แล้วมันยังรู้สึกไม่อิ่ม เดินออกมาจากโรงหนังลิโด้ประมาณตอนบ่ายสองผมก็ก้าวฉับ ฉับ ฉับ ไปที่คิโนะคูนิยะที่สยามพารากอนมุ่งหน้าไปที่ชั้นวรรณกรรมของนักเขียนตัว “H” และภาวนาให้มันยังมี ‘A Moveable Feast’ และมันก็มีอยู่หนึ่งเล่มจริงๆ พลิกๆ หนังสือดูก่อนจะไปจ่ายสตางค์ตื่นเต้นมาก “เฮ้ย! ในหนังตอน 1920s มันเหมือนในหนังสือเล่มนี้เลยหนิ”
หนังสือเล่มนี้เฮมิงเวย์เขียนถึงเรื่องราวตอนที่เขาอาศัยอยู่ในปารีสยุค 1920s กับภรรยาและลูกชายตัวน้อยตอนนั้นเขายากจนมากๆ กินอาหารไม่ครบมื้ออดๆ อยากๆ แม้แต่หนังสือยังไม่มีเงินซื้อ กระทั่งเงินจะเช่ายืมหนังสือยังลำบาก แต่เขาก็โชคดีมากที่เจอ นักเขียน กวี และศิลปินที่เป็นชาวต่างชาติหลายคนที่มาอาศัยอยู่ในปารีสยุคนั้น เช่น ปิกัสโซ่, เกอร์ทรูด สไตน์, เจมส์ จอยซ์, เอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ฯลฯ และเขาก็ยังสามารถยืมหนังสือดีๆ ของนักเขียนรัสเซียและฝรั่งเศสได้จากห้องสมุดของ ซิลเวีย บีส เจ้าของร้าน Shakespeare and Company ตอนนั้นเฮมิงเวย์ยังไม่มีนิยายตีพิมพ์ เขากำลังเขียน “The Sun Also Rises” อยู่
หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกความทรงจำที่อ่านสนุกมากเขาแสดงให้เห็นถึงวินัยในการใช้ชีวิตของนักเขียนที่จริงจังกับงานเขียนมาก เขียนเล่าเรื่องต่างๆ ความสัมพันธ์กับเพื่อนนักเขียน กวี และศิลปิน หลายคน เฉพาะเรื่องเทคนิคการเขียนที่ผมพอจำได้คือ เฮมิงเวย์จะหยุดเขียนก่อนที่จะหมดเรื่องเขียนเพื่อว่าจากเขียนครั้งต่อไปเขาจะเริ่มได้เลยทันทีต่อจากที่หยุดไว้ และเมื่อหยุดเขียนเขาจะไม่คิดถึงงานอีกเขาจะให้จิตใต้สำนึกทำงานในขณะที่อ่านงานเขียนของคนอื่นๆ เท่าที่สังเกตเขาเป็นคนอ่านหนังสือแบบดูเรื่องเทคนิคการเขียนตลอดไม่ว่าจะเป็นการเขียนของดอสโตเยฟสกี้ที่เขารู้สึกว่าเขียนได้แย่มาก แต่ทำไมมันถึงได้กระทบอารมณ์เขามาก มีอยู่ตอนนึงเขาคุยเรื่องวรรณกรรมรัสเซียกับเพื่อนกวีเขาได้สนุกมาก เฮมิงเวย์มีความเชื่อหนึ่งที่เขาเรียกว่า “mot juste” คือมีคำเพียงคำเดียวเท่านั้นที่เป็นคำที่ถูกต้องที่จะใช้ (the one and only correct word to use) เท่าที่ผมเข้าใจคือในหนึ่งประโยคนั้นคำหลายคำที่สามารถเลือกมาใช้ได้นั้นจะมีเพียงคำเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง ซึ่งดอสโตเยฟสกี้ทำให้ความเชื่อเขาสั่นคล่อนเพราะงานเขียนของดอสโตเยฟสกี้นั้นโดยเทคนิคสำหรับเขาจัดว่าแย่แต่มันก็ทำให้เขามีอารมณ์ร่วมในงาน
ยังมีเรื่องที่น้ำเสียงในบันทึกจริงจังมาก แต่ทำให้ผมขำมากคือเขาเล่าเรื่องของสกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ไว้สามบทด้วยกันซึ่งสนุกทุกบท ในบทสุดท้ายเขาเล่าว่า สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์บอกว่าเคยนอนกับเซลด้าภรรยาสุดรักของเขาเพียงคนเดียวเท่านั้น และเซลด้าก็บอกว่า “ร่างกาย” ของเขาไม่อาจจะทำให้ผู้หญิงมีความสุขได้เลย (เซลด้าเคยมีคนรักเป็นทหารเรือฝรั่งเศส) ฟิตซ์เจอรัลด์อยากให้เฮมิงเวย์ช่วยบอกตามความจริงหน่อยว่ามันเป็นอย่างไร เฮมิงเวย์พาฟิตซ์เจอรัลด์ไปสำรวจแล้วก็บอกว่าปกติ แต่ฟิตซ์เจอรัลด์ก็ยังแคลงใจ เฮมิงเวย์ก็เลยพาไปดูรูปปั้นต่างๆ ที่ลูฟวร์อีก ถึงอย่างนั้นฟิตซ์เจอรัลด์ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าเขาปกติ ทั้งหมดนี้เล่าด้วยน้ำเสียงแบบเฮมิงเวย์
เฮมิงเวย์บอกเขาเรียนรู้เรื่องงานเขียนจากภาพวาดของพอล เซซานน์เยอะมากแต่มันเป็นความลับแล้วก็จบอยู่แค่นั้น แบบนี้แหละมั้งคือสิ่งที่เฮมิงเวย์บอกว่าเขาพบทฤษฎีการเขียนอย่างหนึ่งคือ “คุณสามารถกั๊กอะไรก็ตามที่คุณรู้ตัวว่าคุณกำลังกั๊ก และสิ่งที่คุณกั๊กไว้จะทำให้งานเขียนคุณมีพลังขึ้น เพราะคนอ่านจะรู้สึกเหมือนว่ามีอะไรบางอย่างที่เหนือไปกว่าความเข้าใจของพวกเขา”