จาก : winbookclub
หากใช้รางวัลต่างๆ เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จชื่อชั้นของ “ชาติ กอบจิตติ” ก็เคยได้ซีไรต์มาแล้วถึง 2 ครั้ง ไม่นับรวมถึงอีกสารพัดความสำเร็จจากหลายสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นรางวัลศิลปินแห่งชาติ รางวัลศิลปาธร ฯลฯ
แต่ท้ายที่สุดแล้ว “รางวัล” มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรยึดติด เหตุเพราะที่ชาติลงมือเขียนหนังสือก็เพียงเพราะ “เขารักการเขียนหนังสือ” สั้นๆ ง่ายๆ เท่านั้นเอง!
หนังสือของชาติทั้ง 14 เล่มนั้น ถือว่าเป็นงานคุณภาพ ถ้าเทียบอายุงานกับหนังสือที่ออกมาสู่สายตาผู้อ่าน ชาติเป็นคนที่ทำงานน้อย จนบางคนบอกว่า “ช้า” แต่จะไม่ให้ช้าได้อย่างไรล่ะ เจ้าตัวบอก แค่รดน้ำต้นไม้ กวาดใบไม้ ก็ปาเข้าไปครึ่งวันแล้ว (ฮา)
ถอยหลังกลับไปประมาณ 4 ปีก่อน ชาติ กอบจิตติ ทำให้คนที่อยากเป็นนักเขียนได้กระดี๊กระด๊า อื้อหือ อ้าฮา ! เมื่อเขาเปิดอบรม แนะนำเกี่ยวกับการเขียนหนังสือ ซึ่งทุกวันนี้ผู้คนรู้จักกันดีในชื่อ “โรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ” (แม้เขาจะไม่อยากให้มันเป็นโรงเรียนเป็นสถาบันก็ตาม)
ชาติเปิดบ้านต้อนรับคนที่จะมาอบรมประมาณช่วงเดือนตุลาคมของแต่ละปี ผ่านไป 3 รุ่นแล้วสำหรับการใช้ชีวิต 10 วัน 10 คืน กิน อยู่ หลับนอน ฟรี ที่บ้านไร่ของชาติ อ.สีคิ้ว (เดินทางฝั่ง อ.ปากช่อง สะดวกกว่า) จ.นครราชสีมา ซึ่งชาติบอกว่านี่เป็นสิ่งที่เขาพอจะ “ให้ได้”
ระหว่างคำว่า “ให้” กับ “บริจาค” .. สำหรับชาติ กอบจิตติ แล้ว สองคำนี้มันต่างกันมากทีเดียว
โรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ หยุดพักไปหนึ่งเทอม เนื่องด้วยความไม่พร้อมบางอย่างบางประการ แต่ก็คาดว่าสำหรับปีนี้ “ตุลาคม 2550″ ชาติก็จะกลับมาเปิดบ้านต้อนรับผู้ที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนอีกครั้ง เตรียมงานเขียนสำหรับให้เขาพิจารณาให้พร้อมก็แล้วกัน
“เชตวัน เตือประโคน” นักเขียนหนุ่มเจ้าของรางวัล “7 บุ๊คส์ อวอร์ด” และหนึ่งในมวลหมู่ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านชาติ ถือโอกาสกลับไปเยี่ยมสำนักเก่า พูดคุย ทบทวนสิ่งที่ชาติเคยแนะนำอีกครั้ง และเรียบเรียงบทสัมภาษณ์กลับมา ให้ผู้ที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนได้กระดี๊กระด๊า อื้อหือ กันตามอัธยาศัย
- ชีวิต ชาติ กอบจิตติ ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
อยู่บ้านกับภรรยา และหมาอีก 8 ตัว มีเพื่อนพ้องน้องพี่มาเยี่ยมบ้าง แต่ละวันที่ผ่าน ก็เลี้ยงหมา รดน้ำต้นไม้ กวาดใบไม้ เหมือนอยู่วัดเลย แต่ไม่ได้ห่มจีวรนะ (หัวเราะ) ผมจะตื่นประมาณตี 5 คืออาจจะก่อน 6 โมงเช้าหน่อย เช็คเมลล์ ดูโน่นดูนี่ไปเรื่อย ก็ชงกาแฟแล้วเข้าห้องทำงาน พอสัก 8 โมง คนงานมา เราก็ออกมาสั่งงานหน่อย จากนั้นกินข้าว เสร็จแล้วก็เข้าห้องทำงานอีก อ่านหนังสือ อาจไม่ได้เขียนงานเป็นเรื่องเป็นราวนะ จะว่าเรื่องการตื่นเช้าเหมือนตอกบัตรเข้างานที่เราเป็นเจ้านายตัวเอง ก็น่าจะใช่ คือ คนมันแก่แล้วก็มักจะตื่นเช้า อีกอย่างก็เข้านอนเร็วด้วย เพราะที่นี่มันมืด เงียบ สัก 4-5 ทุ่มก็นอนแล้ว
- ถามถึงช่วงแรกที่คุณเริ่มเขียนหนังสือ ตอนที่เขียน เรื่องสั้น ‘ผู้แพ้’ ทำไมพอให้ เรืองเดช จันทร์คีรี อ่าน ถึงบอกว่าเป็นงานของ มานพ ถนอมศรี
โดยปกติ คนเขียนหนังสือใหม่ๆ คนอ่านเขาจะมีอคติอยู่ก่อนแล้วว่า เขียนไม่ดี เพราะยังใหม่ไง แต่ถ้าเป็นคนที่มีชื่อเสียง คล้ายกับว่าเวลาอ่าน คนอ่านจะไม่ค่อยมีอคติ เช่น ถ้าบอกว่างานชิ้นนี้เป็นของอีกคนดีกรีก็จะเพิ่มขึ้น คือ ถ้าเรารู้จักคนเขียนก่อน ยิ่งเป็นนักเขียนที่เราชอบ เราก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจ สมมติชอบ วินทร์(เลียววารินทร์)หรือปราบดา (หยุ่น) แล้วเราอ่านงานเขียนที่เป็นชื่อเขาให้คนอื่นอ่าน แต่ปราบดาหรือวินทร์อาจจะไม่ได้เขียนก็ได้ ซึ่งพออ่านเราก็จะรู้สึกดี บางทีอาจคิดว่า เรื่องนี้ปราบดาเขียนฉีกแนว ทั้งๆที่จริงใครก็ไม่รู้เป็นคนเขียน
- คุณได้แรงบันดาลใจในการเขียนงานแต่ละชิ้นจากไหน หรือจากอะไร
มี 3 อย่าง หนึ่งประสบการณ์ที่เราผ่าน อย่างประชาคม (ลุนาชัย) เคยเป็นลูกเรือประมงมาก่อน ก็ได้ประสบการณ์ตรงนั้น หรืออย่างเรื่อง ‘พันธุ์หมาบ้า’ ของผม นี่ก็เป็นประสบการณ์ตรง สองเหมือนกับเราคิดแก่นของเรื่องขึ้นมา เอ่อ… เรียกอะไรไม่รู้
อย่างเช่นเรื่อง ‘คำพิพากษา’ ก็คือจะบอกว่า ‘อย่าตัดสินใครง่าย ๆ’ อย่างนี้เป็นต้น คือเราตั้งไว้ แล้วก็มาแตกย่อย มาหารายละเอียด หาตัวละครเพื่อที่จะมาบอกในสิ่งที่เราคิดหรือตั้งใจ และสามคือ มันมีสิ่งที่มากระทบ
มักจะมีคนถามว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่ ผมก็ตอบไปว่า ไม่ได้ทำอะไร รอโทรศัพท์จากพระเจ้า คือ รอให้พระเจ้าโทรมาบอกว่าควรจะทำอะไร ก็อย่างเรื่อง ‘รายงานถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี’ อันนี้ก็เป็นโทรศัพท์จากพระเจ้าที่บอกว่า ‘ผมยังไม่ได้รับรายงานเลย’ (ประโยคที่นายกรัฐมนตรีสมัยหนึ่งชอบใช้ตอบคำถามนักข่าวบ่อยๆ) นี่คือสิ่งที่มากระทบ มันมาจากแค่นี้เอง
- ถ้าเป็นอย่างนี้ แรงบัลดาลใจข้อสุดท้ายที่ว่าการรอโทรศัพท์จากพระเจ้า หรือรออะไรมากระทบนั้น การออกมาอยู่ต่างจังหวัด สิ่งที่มากระทบ ถ้าเทียบกับในเมือง ที่นี่เจอน้อยกว่าไหม
มันคนละอย่างกัน อยู่ที่นี่เราจะเจอปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งถ้าอยู่ในเมืองเราก็จะไม่รู้ อย่างกรณีหนี้เงินล้าน หรืออะไรต่อมิอะไร ถ้าเราอยู่ในเมืองเราก็จะรู้สึกเฉยๆ แต่พอเรามาอยู่ที่หมู่บ้าน มีโอกาสได้เข้าประชุมกับชาวบ้านก็จะรู้ว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้ คือเห็นคนละอย่างกัน สิ่งที่มากระทบคนละอย่างกัน
แต่สำหรับคนที่จะเขียนหนังสือ ผมว่าเราอยู่ตรงไหนก็ได้ เชื่อว่าการเขียนหนังสือสอนกันไม่ได้ แต่แนะนำได้ สอนไม่ได้ ถ้าไม่งั้นคงมีคนเปิดโรงเรียนสำหรับนักเขียน ออกใบรับประกันการเรียนจบออกมาเป็นนักเขียนแล้วล่ะ มีใบประกาศ มีอะไรไปแล้ว แต่เชื่อว่าแนะนำได้
เคยมีคนเขาถามผมว่า เด็กที่มาอบรมเป็นไงกันบ้าง มีงานเขียนอะไรหรือยัง ผมบอกเขาว่ามันไม่ใช่ คือเด็กเขาเก่งของเขาเอง เราเพียงแต่แนะนำ มันเหมือนการขับรถ คือเราเคยขับมาก่อนก็จะรู้ว่าเส้นทางตรงนี้มันมีบ่อ ตรงนี้มันเป็นหลุม เป็นอย่างนี้ เดี๋ยวตรงนี้แตะเบรกหน่อย ส่วนเขาจะทำได้ไหมนั่นอีกเรื่อง มันเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของเรา เราเอามาแนะนำสำหรับคนที่สนใจจะก้าวมาทางนี้ ซึ่งถ้าวันหนึ่งไม่บอกมันก็จะหายไปกับเรา ถ้าจะให้แนะนำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
- กับคนที่เพิ่งจะเริ่ม
คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า ชอบจริง ๆ หรือเปล่า? ถ้าไม่ชอบก็ไปทำอย่างอื่นเถอะ เพราะเท่าที่เห็นการเขียนหนังสือมันก็ไม่ได้ทำตังค์อะไรมากมายนักเลย นั่นแหละ อย่างแรกต้องถามตัวเองว่าชอบไหม ถ้าชอบมันก็จะดิ้นรนไปของมันเอง ส่วนเรื่องการอ่านนั้นมันแน่นอนอยู่แล้ว คือถ้ามีคนเดินมาบอกผมว่าอยากเป็นนักเขียน ผมก็จะบอกเขาเลยว่า ลองเขียนดู ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากชาติ กอบจิตติ ถามเรื่องการสร้างฉากก่อนแล้วกัน ในแต่ละเรื่อง
- ฉากเอามาจากไหน
การเขียนหนังสือมันก็เหมือนกับที่ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? ฉากก็คือที่ไหนนั่นเอง คือเราต้องดูว่ามันเข้ากับเรื่องที่จะเขียนมั้ย สมมติว่าเราเขียนเรื่องสมัยสุโขทัย แต่ไปเอาฉากของเซ็นเตอร์พอยท์ มันก็ไม่ได้ เพราะฉากมันต้องกลืนกับเรื่อง ฉากจะเป็นตัวบอกว่าเรื่องที่เรากำลังจะเล่ามันสมจริงไหม เรื่องที่เกิดขึ้น บรรยากาศในฉากมันก็จะบรรยายเรื่องด้วย
สมมติถ้าเราจะเขียนเรื่องสยองขวัญ แต่บรรยายฉากสีชมพูหวานแหวว อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่ มันต้องมืดๆ ดำๆ ลึกลับ มีควันมีหมอก มีแสงน้อยๆ คือทำยังไงก็ได้ที่เอื้อให้คนอ่านเชื่อ ตัวละครในเรื่อง เราต้องรู้จักตัวละครของเราทะลุ เช่น คนเคยถูกไล่ตีมา ผ่านเหตุการณ์อย่างนี้มา คนพวกนี้จะหวาดระแวงข้างหลังอยู่พักใหญ่ เสียวๆ วูบๆ พักหนึ่ง
เราต้องรู้ปมของตัวละคร เด็กที่เคยถูกผู้ใหญ่รังแก ถูกข่มขืน เรื่องอย่างนี้มันก็จะส่งผลต่อตัวละคร หรือแม้แต่กระทั่งเหตุการณ์ในปัจจุบัน มันก็จะไปส่งผลกับอนาคต ตัวละครตรงนี้เราต้องรู้ทะลุ อยู่แต่ว่าจะเอามาใช้ แค่ไหน ยังไง แค่นั้นเอง
สำหรับเรื่องการสร้างตัวละครขึ้นมาใช้นั้น อันที่จริงมันไม่ใช่กฎตายตัวหรอกนะว่าจะสร้างให้เสร็จก่อน หรือค่อยๆ สร้างไปพร้อมๆ กับการเดินเรื่อง คือแต่ก่อน ผมอาจจะยังใหม่ ก็เลยพยายามทำให้อุปสรรคน้อยที่สุด คิดตัวละครให้เสร็จ ผมสร้างตัวละครขึ้นมาก่อน รูปร่าง หน้าตาลักษณะนิสัย ความสูง สร้างขึ้นมาก่อน คือปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วค่อยปล่อยเดิน แต่พอมาระยะหลังนี้ไม่แล้ว ผมปล่อยเรื่องเดินก่อน พอเจอตัวละครค่อยหยิบกลับมาปั้น มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ เหมือนหัดขับรถอีกนั่นแหละ ถ้าขับรถแรงๆ เลย แล่นปรู๊ดปร๊าดเลย บางทีเราก็เอาไม่อยู่
ถ้าจะให้ผมแนะนำสำหรับ คนเขียนหนังสือใหม่ ควรคิดให้เสร็จก่อนค่อยเขียน เพราะถ้าพลาดแล้วมันจะท้อ แต่ว่าจริงๆแล้วจะทำอย่างไรก็ได้ไม่มีถูกไม่มีผิดหรอก มันไม่ตายตัว คือจะปล่อยตัวละครมาเลยก็ได้ การเขียนหนังสือมันเขียนยังไงก็ได้ จะนอนเขียน นั่งเขียน เดินเขียน ตีลังกาเขียน คนอ่านเขาไม่ถามหรอกว่าเขียนยังไง เขาจะอ่านงานที่ออกมาแล้ว
- บทสนทนาที่เราจับใส่ปากตัวละครล่ะ
คือเราเขียนเรื่องคน ต้องฟังว่าคนเขาพูดยังไง มันมีเคล็ดลับง่ายๆ เวลาจะเขียนบทสนทนา พอเขียนจบลองอ่านออกมาดังๆ ดูสิว่ามันเข้าปากไหม ประโยคอย่างนี้คนเขาพูดกันไหม เพราะนักเขียนใหม่มักเจอเรื่องความไม่สมจริง คือคนเขาไม่พูดกันอย่างนี้หรอก ชาวบ้านเขาไม่พูดปรัชญาเอ็กซิตองหรอก แต่ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านเขาคิดไม่ถึง เขาคิดเป็น แต่จะพูดอีกอย่าง เขาอาจจะไม่รู้หรอกว่าพูด แต่ว่ามันสามารถตีความเป็นอย่างนั้นได้ มีวิธีการทำอย่างไรให้เรื่อง น่าสนใจหรือน่าติดตาม
เมื่อก่อนตอนเขียนเรื่อง ‘พันธุ์หมาบ้า’ เป็นตอนๆลงนิตยสาร ลลนา ก็ใช้วิธีให้เรื่องมันเดินตอนต่อตอน จบค้างไว้ให้คนอยากรู้เรื่องต่อ เรื่องมันต้องเดิน ต้องเคลื่อนไหว ไม่ใช่ตอนหนึ่งให้ตัวละครนั่งคิดอยู่ 4-5 หน้า อย่างนี้ถ้าเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คมันอาจจะทำได้ แต่การลงเป็นตอนๆ มันต้องน่าติดตาม สมมติ ตัวละครถือมีดกำลังจะแทงอีกฝ่าย คือ แทงหรือไม่แทง โปรดอ่านต่อฉบับหน้า อันนี้ไม่รู้ คนอ่านต้องติดตามเอง พอฉบับหน้ามา อาจจะแทงไปโดนปลั๊กไฟ ไฟช็อตตาย เป็นอย่างนี้ก็ได้
สำหรับนักเขียนใหม่ๆ แนะนำว่า หากเขียนเรื่องเสร็จแล้วลองเอาให้เพื่อนอ่าน ถ้าอ่านแล้วชอบ 4 ใน 5 โอเคประสบความสำเร็จ คือคนอ่านจะต้องติด ไม่งั้นเราก็จะไม่สามารถบอกอะไรกับคนอ่านได้ ไม่ใช่ว่าอ่านไป 4 หน้าแล้วยังไม่ได้อะไร ไม่รู้อะไรเลย คือข้างในต่อจากนั้นเรื่องดีน่ะ ภาษาดี แต่คนอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ เขาด้นไปไม่ไหวแล้ว แต่ทั้งหมดทั้งปวงก็อย่างที่บอก คือมันไม่ใช่เรื่องตายตัว อาจมีคนอ่านที่ด้นไปได้
สำหรับผม สิ่งที่เราจะให้กับคนอ่านคือ 1.ให้ความคิด คิดอะไรก็บอกคนอ่านไป 2.ให้ความรู้ เรื่องที่เราจะเขียนบอกคนอ่านนั้นเราต้องรู้จริง 3.ให้ความบันเทิง ไม่ได้หมายความว่าอ่านแล้วหัวเราะตลอดทั้งเล่ม แต่มันคือการอ่านแล้วไหลลื่น อ่านแล้ววางไม่ลงต้องติดตาม สามอย่างนี้ถ้าทำได้ก็สำเร็จ
- คุณสมบัติการจะเป็นคนเขียนหนังสือ ควรเป็นอย่างไร
บอกไม่ได้ คือมันไม่ใช่ลักษณะที่ว่าต้องกล้ามใหญ่ ไม่ใช่ (หัวเราะ) มันต้องเป็นคนที่ชอบ ไม่รู้ว่าจะแรงไปหรือเปล่าน่ะที่ผมจะพูดอย่างนี้ แต่ก็ต้องบอกว่า ‘ชีวิตนี้อุทิศให้กับการเขียน’ ส่วนเรื่องคุณสมบัติการช่างสังเกตอะไรพวกนี้มันจำเป็น
คนเขียนหนังสือเป็นคนช่างสังเกตอยู่แล้ว คนเขียนภาพ ตากล้อง มันจะมีโดยสัญชาตญาณ แต่เรื่องอย่างนี้ก็ฝึกกันได้ ผมไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรสวรรค์ สมัยก่อนนี่ไม่เชื่อเลย แต่ก็เคยสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมไอ้เด็กคนนี้วาดรูปเก่ง เด็กคนนี้เล่นฟุตบอลเก่ง ทั้งที่ต่างก็ไม่ได้ฝึกมา เรื่องนี้เราตอบไม่ได้ ถ้าถามเรื่องพรสวรรค์อย่างจริงๆจังๆ มันไม่น่าจะใช่ มันอยู่ที่การฝึกด้วย อย่างคนที่เคยเขียนเรียงความสมัยเด็กๆ ได้คะแนนเต็ม แต่วันหนึ่งก็ทิ้งไป ถ้าเทียบกับคนที่อยู่ระดับกลางๆ แต่ว่าฝึกทุกวันๆ ไอ้คนที่เขียนทุกวันน่าจะดีกว่า
พรสวรรค์ในทางวิทยาศาสตร์ ผมว่ามันเป็นความชอบ คือแต่ละคนจะชอบอะไรไม่เหมือนกัน บางคนชอบร้องเพลง บางคนชอบเล่นกีฬา ซึ่งพอมันชอบแล้วมันก็จะเกิดความใส่ใจ เรื่องพรสวรรค์ เรื่องท่านให้มา อะไรทำนองนี้ผมไม่อยากให้คิดมาก คือถ้ามันเดิน 4 ตีนแล้วเรายังเดิน 2 ตีน เออ สู้มันไม่ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้ามันเดิน 2 ตีนเหมือนกันกับเรา มันก็ไม่น่า…. มันอยู่ที่ความพยายาม ความเอาใจใส่ เรารู้ว่าเราขาด เราก็ต้องทำงานให้เยอะกว่าคนอื่น เหมือนอย่างที่อาจารย์วานิช (วิทยากรคนหนึ่งในโรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ) เคยเล่าให้ฟัง ตอนที่ทำโฆษณาใหม่ๆ คนอื่นทำ 1 ชิ้น แกรู้ว่าตัวเองขาดก็ทำ 10 ชิ้น คนอื่นทำ 20 ชิ้น แก 60 ชิ้น แล้วมาเลือกเอา มันต้องลักษณะนั้น
บางคนรู้ว่าตัวเองอ่อน แต่ก็ไม่เคยพยายามแล้วยังมาตีโพยตีพายว่า ท่านไม่ได้ให้มา อย่างนั้นไม่ใช่ คือกำลังจะบอกว่า ใครก็เขียนหนังสือได้ ถ้าชอบน่ะ ย้ำ ถ้าชอบ เขียนได้ถ้าใส่ใจกับมัน ศึกษา ฝึกฝน เรื่องดาราเขียนหนังสือนี่ผมไม่เคยปฏิเสธเลย แต่เขียนดีหรือเปล่าล่ะ เขียนเองหรือเปล่า ถ้าเขียนดีเขียนเองด้วยนั้นก็ยกย่อง คนที่จะให้เป็นนักเขียนหรือไม่ให้เป็น คือคนอ่าน
ยกตัวอย่างอาชีพตำรวจ พอเรียนจบ ได้ใบประกาศ คนที่จะให้เป็นตำรวจคืออธิบดี หรืออะไรอย่างนี้ใช่มั้ย แต่นักเขียน ขนาดเรียนจบคณะอักษรศาสตร์ ถ้าคนอ่านไม่ให้เป็น ก็ไม่ได้เป็น ก่อนหน้าที่ ชาติ กอบจิตติ จะยึดอาชีพนักเขียนอย่างเดียว เรียกว่าต้องทำงานทั้งสองอย่าง คือ งานเลี้ยงปากท้อง และงานเลี้ยงจิตวิญญาณ
โอเค ผมรู้ว่าตัวเองชอบเขียนหนังสือ ตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 13-14 ปี แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร รู้แต่ว่าอยากเป็นนักเขียน แต่ถ้าต้องเรียนจบมาแล้วเป็นนักเขียนเลย คือต้องเขียนงานตามใจตลาด เช่น อาจต้องเขียนเรื่องรัก เรื่องบู๊ เพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงปากท้อง อย่างนี้ผมมองว่า ถ้าเราจะเอางานที่เราชอบ มาทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เราน่าจะไปทำอย่างอื่นดีกว่า
อย่างที่บอกไง เงินดีกว่าด้วย แล้วก็ไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องมองหน้าตัวเองไม่สนิท ผมก็เลยมาทำกระเป๋าหนัง ตกกลางคืนก็เขียนหนังสือ คือไม่ต้องเอาสิ่งที่เราชอบมาหากินมาเบียดเบียน ทำอย่างนี้อยู่สักพัก พอเห็นว่าอยู่ได้ พอเลี้ยงตัวเองได้ก็เลิกทำกระเป๋า ไอ้คำว่า ‘นักเขียนไส้แห้ง’ ก็เลยไม่เคยรู้จัก (หัวเราะ) มันขึ้นอยู่กับคนๆไป ไม่ได้หมายความว่าทุกคน เคยพูดเหมือนกันว่า มันไม่ได้ไส้แห้งหรอก ถ้าคุณอยู่ 1-5 หรือ 1-10 ของประเทศนี้ มันอยู่ได้ แต่ถ้าคุณเป็นลำดับที่ 112 หรือลำดับที่115 ล่ะ มันยาก
แต่ถามว่าทำอย่างไรล่ะที่จะขึ้นมาอยู่ในลำดับต้นๆให้ได้ มันก็ต้องพัฒนาฝีมือ เหมือนนักเทนนิสที่ต้องซ้อม
สำหรับผม เรื่องที่เคยเขียนก่อนเรื่องสั้นเรื่องแรกจะได้ตีพิมพ์ มีเก็บไว้เป็นลัง เขียนทิ้งๆไว้ คุณเรียนจบเพาะช่าง เคยเล่นละครเวที เคยเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เคยทำกระเป๋าหนังขาย
- เรื่องพวกนี้สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้
เรื่องเหล่านี้มันมีประโยชน์ อะไรที่ผ่านเข้ามาในชีวิตคนเขียนหนังสือ ผมว่ามันมีประโยชน์ทั้งนั้น แต่ที่กำลังจะพูดคือ ไม่ได้ให้ไปลอง อย่างเช่นคนเคยติดคุก บางทีเขียนเรื่องเกี่ยวกับคุกอาจได้ดี หรืออย่างอกหักก็มีประโยชน์ แต่บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องไปลอง อย่างเช่นขาหัก ขาด้วน อย่างนี้ไม่ต้องลอง
ที่ผมเคยเล่าว่า เคยลองผูกคอตาย อืม เรื่องจริง แต่ผมป้องกัน มีคนอยู่ด้วยเยอะ ตอนนั้นคือเราอยากรู้ว่า อาการของคนผูกคอตายเป็นอย่างไร แต่พอเริ่มรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว แขวนคอไว้อีกหน่อยคงไปแน่เลย ก็ต้องเลิก เลยทำให้รู้ว่า คนผูกคอตายอาการเป็นอย่างไร อ๋อ มันอื้ออึงอย่างนี้ คือก่อนหน้านั้น เราไม่เคยได้เห็นการบรรยายอาการคนผูกคอตาย เคยอ่านเจอแต่เขาเขียนแค่ว่าพบศพคนที่ผูกคอตายเท่านั้น ยังไม่มีใครเคยบรรยายอาการอย่างจริงๆจังๆ
- ประสบการณ์ชีวิตสำคัญขนาดไหน
มาก แต่ทุกคนก็มีเวลาเท่ากัน คือ 24 ชั่วโมงต่อวัน เพียงแต่ว่าบางคนที่ไม่ได้ออกไปเจอผู้คน ก็อาจจะมีประสบการณ์ภายใน เรื่องจิตใจ เรื่องการคิดหรืออะไรต่อมิอะไร นักเขียนไม่มีพักร้อน มันอยู่ข้างใน
อย่างบางคนเห็นเขาบอก ทำงานค้างไม่เสร็จ พอจะเข้านอนก็นอนไม่หลับ เพราะในหัวมันยังติดอยู่ไง ยังคิดอยู่เรื่อยทั้งที่อยากนอนหรือเกิน เทียบกับงานอื่น อย่างเช่นไปแบกหามของมา พอนอนเหนื่อยก็หลับ เก็บข้าวโพด ถอนถั่ว กลับมานอนก็หลับได้ง่าย
แต่ไอ้การเขียนหนังสือ ขนาดเขียนถึงตีสามตีสี่ แสบตาอยากนอน ก็นอนไม่หลับ บางครั้งต้องอยู่จนเช้า ก็คิดเรื่องที่ค้างอยู่ในหัวนั่นแหละ เผลอๆในฝันก็เป็นเรื่องเป็นราวอีก
- อุปสรรคการเป็นคนเขียนหนังสือคืออะไร
น่าจะเป็น ความขี้เกียจ สำหรับนักเขียนใหม่ๆ แต่สำหรับผมคือเรื่องความคิด มันเหมือนกับว่า ความคิดใหม่ๆไม่ค่อยมี คืออย่างเขียนเรื่องธรรมดา อย่างเล่าเรื่องหมา เราเขียนได้เพราะฝีมือมีใช่ไหมล่ะ
อันนี้ไม่ได้พูดยกตัวเองน่ะ แต่หมายความถึงทั่วๆไป เขียนมานานขนาดนี้ ความเป็นช่างฝีมือมันมีอยู่แล้ว เขียนอะไรมันก็น่าอ่าน แต่ว่า เออ มันไม่มีอะไรที่เป็นความคิดใหม่ๆ ส่วนมากอุปสรรคเป็นเรื่องความคิดมากกว่า ไม่ใช่คิดไม่ออก เพราะการคิดไม่ออกคือมีเรื่องที่จะเขียนแล้วแต่ไปต่อไม่ได้ แต่นี่มันยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเลย ยังไม่รู้จะคิดอะไร ยังไม่เจออะไรเลย รอพระเจ้าโทรมาบอก (หัวเราะ)
- ช่างฝีมือกับศิลปินต่างกันอย่างไร
ช่างฝีมือ ขอโทษ ตรงนี้ผมพูดด้วยความเคารพนะครับ คืออย่างคนที่แกะช้างที่เชียงใหม่ เห็นไม้มาก็เป็นช้างอย่างเดียว ไม้ใหญ่หน่อยช้างตัวใหญ่ ไม้เล็กช้างตัวเล็ก ไม้ยาว เอ้า! ช้างเป็นโขลง คือมองอะไรเป็นช้าง ทำอะไรซ้ำๆ ทำด้วยความชำนาญ แต่ทำดี ทำสวย ทำเก่ง ทำเนียน แต่พอไม้มาก็ช้าง
ศิลปินมันจะต่างออกไป เอออันนี้ช้างได้ อันนี้เป็นปลาโลมา หรืออันนี้อาจจะเป็นปลัดขิก มันก็แล้วแต่ และความแนบเนียนของศิลปินอีกอย่างคือ คนไม่รู้ว่าเอามาจากไหน เหมือนอย่างคำที่ว่า ‘ช่างฝีมือขอยืม แต่ศิลปินขโมย’ ยืมมาคือยังรู้ว่าไปเอาของใครมา แต่ศิลปินนี่แนบเนียนมาก แต่ว่าหากสืบไปสืบมาก็อาจจะรู้น่ะ จริงๆ ก็คือเอามาโดยไม่ให้จับได้ มันเป็นการพัฒนาอีกขั้น อย่างช่างฝีมือ อาจจะจากหนึ่งไปสอง แต่ศิลปิน จากหนึ่งไปเจ็ด ไปแปดเลย หาที่มาไม่เจอ จริงๆแล้วมันไม่มีอะไรลอยๆมาเลยหรอก งานศิลปะก็เหมือนกัน ใช่ว่าจู่ๆมันก็มาเป็นแอบสแต็กเลยเมื่อไหร่ ในวงการงานเขียน การพิสูจน์
- ความเป็นตัวจริงคืออะไร
อาชีพนี้โอกาสฟลุ๊คไม่มีเลย ขอโทษ อย่างวงการเพลง อาจจะมีเพลงหนึ่งที่แต่งได้ดี ร้องดีก็ดังได้แล้ว แต่จะอยู่ยาวไหม อยู่ได้ตลอดไหมล่ะนั่นอีกเรื่อง แต่งานเขียนมันยาก คือผมไม่ได้พูดเข้าข้างอาชีพตัวเอง คุณก็รู้ เขียนหนังสือหนึ่งเรื่อง 100-200 หน้า มันไม่มีทางฟลุ๊ค การพิสูจน์ความเป็นตัวจริงอีกอย่างคือคุณต้องยืนระยะได้ ผมเคยพูดเปรียบ คือ คุณต้องยืนครบยก อาชีพอย่างนี้มันใช่วิ่ง 100 เมตร มันคือการวิ่งมาราธอน (หัวเราะ) ใช่ว่า 100 เมตรเข้าเส้นชัยแล้วเลิกเลย
- ตอนนี้เขียนหนังสืออย่างไร หมายถึงใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์ นั่งพิมพ์เลย แต่เมื่อก่อนที่ทำจะเป็นในลักษณะเขียนลายมือก่อนแล้วพิมพ์ดีด เพราะถ้าให้มานั่งจิ้มมันคิดไม่ออก แต่เพื่อนบางคนที่ผ่านงานหนังสือพิมพ์หรืองานข่าวมาก่อน พวกนี้จะเขียนได้คล่อง เขาเรียกว่ากดแบบ ‘ข้าวตอกแตก’ พอมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ ผมก็ใช้ คือมันเป็นเรื่องของยุคสมัย เพราะถ้าไม่ใช้ก็เหมือนกับคนแก่ที่อ่านหนังสือไม่ออก
ปัญหาที่เจอสำหรับการเขียนงานด้วยคอมพิวเตอร์ในระยะแรกๆก็คือ เหมือนว่ามันจะจ้องดูเราตลอด ถามเราตลอดว่าเมื่อไหร่จะเขียน เมื่อไหร่จะพิมพ์ ก็เลยเขียนไม่ค่อยได้ แต่ถ้าจะให้เขียนใส่กระดาษแล้วไปพิมพ์ ก็คิดว่าตรงนั้น มันไม่น่าจะใช่ขั้นตอนของการใช้คอมพิวเตอร์ ก็เลยเอาใหม่ ไม่กลัว พูดกับคอมพิวเตอร์ ‘กูซื้อมึงมานี่หว่า มึงต้องคอยกู กูเป็นเจ้าของมึง อย่ามาจ้อง’ (หัวเราะ) ก็เรียนรู้กับมันไป แต่มันก็มีปัญหาอีก คือเวลาเราลบหรือแก้อะไร มันจะหาย
เพราะถ้าเป็นอย่างยางลบ เป็นปากกา แก้ตรงไหนเรารู้ ตรงนี้มีวิธีแก้ปัญหาคือ ปริ๊นออกมาบ่อยๆ ปริ๊นแล้วแก้ๆ จะได้เห็นพัฒนาการของงานด้วย การเขียนหนังสือเคยได้ยินคุณบอกว่าเหมือนการหยอดกระปุก เอาว่าเขียนเรื่องยาวหนึ่งเรื่อง มันไม่ได้ในวันเดียวไง บางทีเขียนได้วันละหน้าสองหน้า มันไม่ได้เป็นเงินเลยในวันนั้น หากได้วันละหน้า แต่ถ้าเขียนทุกวันหนึ่งปีก็ได้ 300 กว่าหน้า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้งานเป็นเล่มในวันเดียว
- นิยายกับเรื่องสั้นคุณถนัดแบบไหนมากกว่ากัน
มันไม่น่าจะใช้คำว่า ถนัด ได้ .. บางเรื่องมันเหมาะสำหรับเรื่องสั้น มันก็ต้องเป็นเรื่องสั้น บางเรื่องมันยาว ก็ต้องเป็นนิยาย คือเราไม่มีทางทำเรื่องสั้นให้เป็นนิยายได้ มันจะโหรงเหรง มีแต่น้ำ เห็นบางคนพยายามดันเรื่องสั้นให้เป็นนิยาย เพราะคิดว่ามันได้ตังค์เยอะกว่า แต่สุดท้ายพอออกมา เรื่องสั้นก็ไม่ได้ นิยายก็ไม่ได้ ไม่มีอะไรเลย หรืออย่างเรื่องที่ต้องเป็นนิยาย ก็เขียนเป็นเรื่องสั้น มันก็ยัดไม่ลงสิ เพราะภาชนะมันแคบแต่ของมันใหญ่
ถ้าถามว่าผมสนุกกับอะไรมากกว่ากัน ก็ตอบว่า นิยาย ผมไม่ชอบเขียนงานคอลัมน์ ตอนนี้ที่เขียนมีอยู่ที่เดียวคือนิตยสาร สีสัน เพื่อนกันก็ช่วยกัน(หัวเราะ)
ผมไม่ชอบอะไรที่มันต้องส่งเป็นกำหนด อย่างบางที มันใกล้เข้ามาต้องส่งงานแล้ว เรามีพล็อตเรื่องที่เหมาะจะเป็นเรื่องสั้นดีๆ อยู่ ก็ต้องเอามาดัดแปลงเป็นบทความเป็นงานคอลัมน์เพื่อให้ได้ส่ง ทีนี้พอจะมาเขียนเรื่องสั้นมันก็ซ้ำแล้วไง งานคอลัมน์พอรวมเล่มก็เอาไปสร้างหนังไม่ได้ด้วย (หัวเราะ)
- กับหนังสือของคุณที่มีคนอื่นเอาไปทำหนัง ตรงนี้คิดอย่างไร
ผมไม่ซีเรียส สื่อมันคนละอย่างกัน มันดัดแปลงแต่งเติมได้ ถ้าเราคิดว่ามันเตะไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ขึ้นหิ้งดีกว่า สำหรับผมดูแค่ว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูดมันยังอยู่ไหม เนื้อมันยังอยู่หรือเปล่า เหมือนกับดินน้ำมันก้อนหนึ่ง เขาเอาไปขยำยังไง เนื้อมันก็เป็นดินน้ำมัน ไม่ค่อยเข้มงวดกับเรื่องนี้เท่าไหร่ เพราะบางที ถ้าคงไว้ในงานวรรณกรรมเกินไป หนังก็ดูไม่ได้เลย ก็ในหนังสือ ตัวละครสามารถนั่งคิดได้สามถึงสี่หน้า อาจด้วยวรรณศิลป์หรืออะไรก็แล้วแต่ มันชวนให้คนอ่านติดตาม
แต่ถ้าในหนัง ให้พระเอกมานั่งคิดริมกระท่อม เอาแค่นาทีเดียวคนดูก็เบื่อแล้ว (หัวเราะ) งานเขียนคุณมักจะมีรูปแบบใหม่ๆมาเสนอตลอดอย่าง ‘เวลา’ หรือ ‘ลมหลง’ ซึ่งเรื่องหลังนี่เขียนเป็นบทภาพยนตร์ทั้งเล่ม
- ตรงนี้เนื่องด้วยเหตุผลอะไร
เบื่อ ทำอะไรซ้ำๆมันเบื่อ ถามตัวเองก่อนเถอะ ขนาดคนเขียนยังเบื่อ แล้วคนอ่านไม่เบื่อหรือ อย่างมีคนถามถึงงานเรื่องใหม่ของผม (ซึ่งตอนนี้ปีกว่าแล้วเขียนได้ไม่กี่หน้า) โอเค อาจจะช้าหน่อย แต่เราสนุกนี่นา อย่างน้อยมันไม่เบื่อ เหมือนเราใส่ชุดลูกเสือทุกวัน (หัวเราะ)
มันก็มีบ้างแหละที่อยากใส่เสื้อยืดกางเกงขาสั้น ให้ใส่ชุดลูกเสือทุกวันอย่างนั้นไม่ไหว ลมหลงที่เขียนเป็นบทหนังทั้งเล่มนั้น ตอนแรกเขาวานให้ทำ เราก็คิดว่าไหนๆจะทำแล้วก็น่าจะอ่านได้ด้วย แต่ตอนนี้บริษัทหนังเขาเจ๊งไปแล้ว (หัวเราะ) ผมก็ไม่รู้เหมือนกันน่ะว่าทำไมเขาถึงไม่เอางานที่มีอยู่แล้วไปทำ ทำไมต้องเขียนบทใหม่ แต่ช่างมันเถอะ เพราะตอนที่ทำชิ้นนี้ ผมก็สนุกกับงานของผม
- คุณมีแนวคิดอย่างไรถึงได้เปิดอบรม ‘โรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ’
คิดถึงตอนตัวเองเด็กๆ ตอนที่ผมเริ่มเขียนหนังสือใหม่ๆ ผมก็อยากไปหานักเขียน อยากเอางานไปให้เขาอ่าน แต่บางทีท่านเหล่านั้น อาจไม่ว่าง หรือเจอเด็กแบบนี้จนเบื่อแล้ว ก็เลยปฏิเสธ
ผมรู้สึกว่า มันยากในการเข้าหา ซึ่งพอมาปัจจุบัน ผมมีโอกาส ก็เลยคิดว่า มันน่าจะมีเด็กที่คิดเหมือนผมสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้คิดว่าต้องเปิดเป็นสถาบันเป็นอะไรจริงจังหรอก มีเวลา มีกำลัง พร้อมก็ทำ แต่พอดีปีนี้ไม่พร้อม ก็เลยพักไปปีหนึ่ง คือที่ผมทำเพราะคิดว่า ไม่เดือนร้อนตัวเอง ไม่เดือนร้อนคนอื่น อย่างถ้าจะทำบุญ แต่ต้องไปยืมเงินคนอื่น ก็อย่าไปทำเลย เอาไว้มีก่อนแล้วค่อยทำ และสำหรับปีนี้ก็คงต้องดูก่อน น่าจะเป็นช่วงเดิมคือประมาณเดือนตุลาคม แต่ก็ต้องใกล้ๆก่อนถึงจะรู้ว่าทำได้ไหม
- สำหรับคนที่สนใจ มีเกณฑ์การคัดเลือกอย่างไร
ก็คงเป็นอย่างเดิม คืออายุไม่น่าจะเกิน 28 ปี ให้ส่งงานมาดู ไอ้เรื่องอายุนี่เคยมีคนถามมาเยอะว่า 40 กว่า 50 กว่า ทำไมไม่รับ จริงๆก็ไม่อยากจำกัด เพียงแต่คิดว่า ถ้าได้เด็กๆ มันจะได้เหลือเวลาทำงานเยอะหน่อย สมมติมาฝึกตอนอายุ 82 ปี เหลือเวลาทำงานอีกกี่ปีล่ะ (หัวเราะ) สำหรับช่วงอายุที่รับคือไม่เกิน 28 ปีประมาณนี้ก็น่าจะเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวได้แล้ว ตอนที่ผมเขียนเรื่อง ‘คำพิพากษา’ ก็อายุประมาณนี้แหละ การเปิดอบรมแต่ละปี ถามว่ามีคนสนใจเยอะมั้ย ก็มีงานส่งงานเข้ามาให้พิจารณา เอ่อ น่าจะเกินร้อยชิ้น แต่ที่รับได้น้อย ก็อยู่บ้านอย่างนี้จะรับเยอะๆได้ไงล่ะ มาเยอะเดี๋ยวแบ่งทีมเล่นฟุตบอลกันอีก (หัวเราะ) เดี๋ยวไม่ได้เขียน
- มองสถานการณ์วงการวรรณกรรมไทยตอนนี้อย่างไร
ผมว่านักเขียนใหม่ๆจะลำบาก หนึ่งคือหนังสือมันเยอะขึ้น คนก็เลยไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมไทย สมัยก่อน อย่างช่วง 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ พิมพ์หนังสือ 5,000 เล่ม 6,000 เล่ม มันปกติมาก แต่ทุกวันนี้ 2,000 เล่ม ไม่รู้สามปีจะขายหมดหรือเปล่า แล้วอย่างนี้คนใหม่ๆที่ขึ้นมาจะอยู่กันอย่างไรล่ะ ในขณะเดียวกันมันก็เริ่มมีค่าย นักเขียนก็ไปสังกัดค่าย ซึ่งอนาคตไม่รู้ว่าจะต้องถูกกำหนดหรือเปล่าว่าต้องเขียนแนวนั้นแนวนี้ อันนี้ไม่แน่ใจ ใช้คำว่า อาจจะ
- แล้วอย่างชาติ กอบจิตติ พิมพ์หนังสือตัวเอง
ผมมองอย่างนี้ ต้องบอกก่อนว่าพื้นฐานมันมาจากการที่ผมได้ทำกระเป๋า มีสตางค์เก็บ คิดว่าขาดทุนก็คงไม่เป็นไรเพราะได้เอาไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เลยถามตัวเองว่า เรื่องของเราดีมั้ย เออ เรื่องของเราดี ถ้าดีแล้วทำไมเราไม่พิมพ์เอง เพราะว่ากำไรจากการพิมพ์มันมากกว่าการรับค่าลิขสิทธิ์ แต่ถ้าสมมติว่าเรื่องของเราไม่ดีล่ะ อ้าว! ไม่ดีแล้วเราไปหลอกคนอื่นเขาพิมพ์ทำไม พิมพ์เองดีกว่า ถามเรื่องการมองโลก อย่างเพื่อนของคุณคนหนึ่งบอกว่าโลกนี้เหมือนสวนสนุก เขาแค่มาเที่ยว ถ้ารถเมล์ของเขามารับเมื่อไหร่เขาก็ไป
- ชาติมองโลกอย่างไร
ไม่เชื่อว่าโลกนี้มีอยู่จริง มันอยู่ที่สถานะเรา อยู่ที่สิ่งแวดล้อมของเรา เอ่อ…เอาไว้อ่านนิยายเรื่องใหม่ดีกว่า ในนั้นจะมีคำตอบ ไม่เล่าเรื่องย่อน่ะ เดี๋ยวมีคนเร่งไปเขียน ผมยิ่งไม่ค่อยได้เขียนด้วย (หัวเราะ)
- คิดว่าอะไรที่จะทำให้เลิกเขียนหนังสือ
ไม่เลิก เลิกทำไมล่ะก็เราชอบ บางทีละอายใจด้วยซ้ำที่ไม่ยอมเขียน เพราะครั้งหนึ่งเราใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน พอได้เป็นสมใจแล้วไม่เขียนมันก็รู้สึกละอาย มันเป็นเพราะตัวเราเองมากกว่า
- จากหนังสือเล่มแรก ถึงหนังสือเล่มสุดท้าย มองย้อนกลับไปบนเส้นทางนี้คุณเห็นอะไร
เห็นการพัฒนาของตัวเอง การพัฒนาของงาน คือตอนนี้กลับไปอ่านงานเล่มแรกคือ ‘ทางชนะ’ แล้วรู้สึกว่ามันเชย แต่ว่าปัญหามันก็ไม่ได้อยู่ตรงนี้ มันอยู่ที่ว่า ตอนที่เราอายุขนาดนั้น ตอนที่เขียนงานชิ้นนี้ เราทำเต็มที่หรือเปล่า ถ้าเต็มที่ก็โอเค อย่างพอย้อนกลับไปดูงาน ช่วงอายุ 20 กว่าๆ โอ้! ทำไมมันเชยอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้แก้อะไรหรอก เก็บไว้อย่างนั้นแหละ
หากใช้รางวัลต่างๆ เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จชื่อชั้นของ “ชาติ กอบจิตติ” ก็เคยได้ซีไรต์มาแล้วถึง 2 ครั้ง ไม่นับรวมถึงอีกสารพัดความสำเร็จจากหลายสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นรางวัลศิลปินแห่งชาติ รางวัลศิลปาธร ฯลฯ
แต่ท้ายที่สุดแล้ว “รางวัล” มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรยึดติด เหตุเพราะที่ชาติลงมือเขียนหนังสือก็เพียงเพราะ “เขารักการเขียนหนังสือ” สั้นๆ ง่ายๆ เท่านั้นเอง!
หนังสือของชาติทั้ง 14 เล่มนั้น ถือว่าเป็นงานคุณภาพ ถ้าเทียบอายุงานกับหนังสือที่ออกมาสู่สายตาผู้อ่าน ชาติเป็นคนที่ทำงานน้อย จนบางคนบอกว่า “ช้า” แต่จะไม่ให้ช้าได้อย่างไรล่ะ เจ้าตัวบอก แค่รดน้ำต้นไม้ กวาดใบไม้ ก็ปาเข้าไปครึ่งวันแล้ว (ฮา)
ถอยหลังกลับไปประมาณ 4 ปีก่อน ชาติ กอบจิตติ ทำให้คนที่อยากเป็นนักเขียนได้กระดี๊กระด๊า อื้อหือ อ้าฮา ! เมื่อเขาเปิดอบรม แนะนำเกี่ยวกับการเขียนหนังสือ ซึ่งทุกวันนี้ผู้คนรู้จักกันดีในชื่อ “โรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ” (แม้เขาจะไม่อยากให้มันเป็นโรงเรียนเป็นสถาบันก็ตาม)
ชาติเปิดบ้านต้อนรับคนที่จะมาอบรมประมาณช่วงเดือนตุลาคมของแต่ละปี ผ่านไป 3 รุ่นแล้วสำหรับการใช้ชีวิต 10 วัน 10 คืน กิน อยู่ หลับนอน ฟรี ที่บ้านไร่ของชาติ อ.สีคิ้ว (เดินทางฝั่ง อ.ปากช่อง สะดวกกว่า) จ.นครราชสีมา ซึ่งชาติบอกว่านี่เป็นสิ่งที่เขาพอจะ “ให้ได้”
ระหว่างคำว่า “ให้” กับ “บริจาค” .. สำหรับชาติ กอบจิตติ แล้ว สองคำนี้มันต่างกันมากทีเดียว
โรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ หยุดพักไปหนึ่งเทอม เนื่องด้วยความไม่พร้อมบางอย่างบางประการ แต่ก็คาดว่าสำหรับปีนี้ “ตุลาคม 2550″ ชาติก็จะกลับมาเปิดบ้านต้อนรับผู้ที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนอีกครั้ง เตรียมงานเขียนสำหรับให้เขาพิจารณาให้พร้อมก็แล้วกัน
“เชตวัน เตือประโคน” นักเขียนหนุ่มเจ้าของรางวัล “7 บุ๊คส์ อวอร์ด” และหนึ่งในมวลหมู่ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านชาติ ถือโอกาสกลับไปเยี่ยมสำนักเก่า พูดคุย ทบทวนสิ่งที่ชาติเคยแนะนำอีกครั้ง และเรียบเรียงบทสัมภาษณ์กลับมา ให้ผู้ที่ใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียนได้กระดี๊กระด๊า อื้อหือ กันตามอัธยาศัย
- ชีวิต ชาติ กอบจิตติ ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
อยู่บ้านกับภรรยา และหมาอีก 8 ตัว มีเพื่อนพ้องน้องพี่มาเยี่ยมบ้าง แต่ละวันที่ผ่าน ก็เลี้ยงหมา รดน้ำต้นไม้ กวาดใบไม้ เหมือนอยู่วัดเลย แต่ไม่ได้ห่มจีวรนะ (หัวเราะ) ผมจะตื่นประมาณตี 5 คืออาจจะก่อน 6 โมงเช้าหน่อย เช็คเมลล์ ดูโน่นดูนี่ไปเรื่อย ก็ชงกาแฟแล้วเข้าห้องทำงาน พอสัก 8 โมง คนงานมา เราก็ออกมาสั่งงานหน่อย จากนั้นกินข้าว เสร็จแล้วก็เข้าห้องทำงานอีก อ่านหนังสือ อาจไม่ได้เขียนงานเป็นเรื่องเป็นราวนะ จะว่าเรื่องการตื่นเช้าเหมือนตอกบัตรเข้างานที่เราเป็นเจ้านายตัวเอง ก็น่าจะใช่ คือ คนมันแก่แล้วก็มักจะตื่นเช้า อีกอย่างก็เข้านอนเร็วด้วย เพราะที่นี่มันมืด เงียบ สัก 4-5 ทุ่มก็นอนแล้ว
- ถามถึงช่วงแรกที่คุณเริ่มเขียนหนังสือ ตอนที่เขียน เรื่องสั้น ‘ผู้แพ้’ ทำไมพอให้ เรืองเดช จันทร์คีรี อ่าน ถึงบอกว่าเป็นงานของ มานพ ถนอมศรี
โดยปกติ คนเขียนหนังสือใหม่ๆ คนอ่านเขาจะมีอคติอยู่ก่อนแล้วว่า เขียนไม่ดี เพราะยังใหม่ไง แต่ถ้าเป็นคนที่มีชื่อเสียง คล้ายกับว่าเวลาอ่าน คนอ่านจะไม่ค่อยมีอคติ เช่น ถ้าบอกว่างานชิ้นนี้เป็นของอีกคนดีกรีก็จะเพิ่มขึ้น คือ ถ้าเรารู้จักคนเขียนก่อน ยิ่งเป็นนักเขียนที่เราชอบ เราก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจ สมมติชอบ วินทร์(เลียววารินทร์)หรือปราบดา (หยุ่น) แล้วเราอ่านงานเขียนที่เป็นชื่อเขาให้คนอื่นอ่าน แต่ปราบดาหรือวินทร์อาจจะไม่ได้เขียนก็ได้ ซึ่งพออ่านเราก็จะรู้สึกดี บางทีอาจคิดว่า เรื่องนี้ปราบดาเขียนฉีกแนว ทั้งๆที่จริงใครก็ไม่รู้เป็นคนเขียน
- คุณได้แรงบันดาลใจในการเขียนงานแต่ละชิ้นจากไหน หรือจากอะไร
มี 3 อย่าง หนึ่งประสบการณ์ที่เราผ่าน อย่างประชาคม (ลุนาชัย) เคยเป็นลูกเรือประมงมาก่อน ก็ได้ประสบการณ์ตรงนั้น หรืออย่างเรื่อง ‘พันธุ์หมาบ้า’ ของผม นี่ก็เป็นประสบการณ์ตรง สองเหมือนกับเราคิดแก่นของเรื่องขึ้นมา เอ่อ… เรียกอะไรไม่รู้
อย่างเช่นเรื่อง ‘คำพิพากษา’ ก็คือจะบอกว่า ‘อย่าตัดสินใครง่าย ๆ’ อย่างนี้เป็นต้น คือเราตั้งไว้ แล้วก็มาแตกย่อย มาหารายละเอียด หาตัวละครเพื่อที่จะมาบอกในสิ่งที่เราคิดหรือตั้งใจ และสามคือ มันมีสิ่งที่มากระทบ
มักจะมีคนถามว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่ ผมก็ตอบไปว่า ไม่ได้ทำอะไร รอโทรศัพท์จากพระเจ้า คือ รอให้พระเจ้าโทรมาบอกว่าควรจะทำอะไร ก็อย่างเรื่อง ‘รายงานถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี’ อันนี้ก็เป็นโทรศัพท์จากพระเจ้าที่บอกว่า ‘ผมยังไม่ได้รับรายงานเลย’ (ประโยคที่นายกรัฐมนตรีสมัยหนึ่งชอบใช้ตอบคำถามนักข่าวบ่อยๆ) นี่คือสิ่งที่มากระทบ มันมาจากแค่นี้เอง
- ถ้าเป็นอย่างนี้ แรงบัลดาลใจข้อสุดท้ายที่ว่าการรอโทรศัพท์จากพระเจ้า หรือรออะไรมากระทบนั้น การออกมาอยู่ต่างจังหวัด สิ่งที่มากระทบ ถ้าเทียบกับในเมือง ที่นี่เจอน้อยกว่าไหม
มันคนละอย่างกัน อยู่ที่นี่เราจะเจอปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งถ้าอยู่ในเมืองเราก็จะไม่รู้ อย่างกรณีหนี้เงินล้าน หรืออะไรต่อมิอะไร ถ้าเราอยู่ในเมืองเราก็จะรู้สึกเฉยๆ แต่พอเรามาอยู่ที่หมู่บ้าน มีโอกาสได้เข้าประชุมกับชาวบ้านก็จะรู้ว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้ คือเห็นคนละอย่างกัน สิ่งที่มากระทบคนละอย่างกัน
แต่สำหรับคนที่จะเขียนหนังสือ ผมว่าเราอยู่ตรงไหนก็ได้ เชื่อว่าการเขียนหนังสือสอนกันไม่ได้ แต่แนะนำได้ สอนไม่ได้ ถ้าไม่งั้นคงมีคนเปิดโรงเรียนสำหรับนักเขียน ออกใบรับประกันการเรียนจบออกมาเป็นนักเขียนแล้วล่ะ มีใบประกาศ มีอะไรไปแล้ว แต่เชื่อว่าแนะนำได้
เคยมีคนเขาถามผมว่า เด็กที่มาอบรมเป็นไงกันบ้าง มีงานเขียนอะไรหรือยัง ผมบอกเขาว่ามันไม่ใช่ คือเด็กเขาเก่งของเขาเอง เราเพียงแต่แนะนำ มันเหมือนการขับรถ คือเราเคยขับมาก่อนก็จะรู้ว่าเส้นทางตรงนี้มันมีบ่อ ตรงนี้มันเป็นหลุม เป็นอย่างนี้ เดี๋ยวตรงนี้แตะเบรกหน่อย ส่วนเขาจะทำได้ไหมนั่นอีกเรื่อง มันเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของเรา เราเอามาแนะนำสำหรับคนที่สนใจจะก้าวมาทางนี้ ซึ่งถ้าวันหนึ่งไม่บอกมันก็จะหายไปกับเรา ถ้าจะให้แนะนำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
- กับคนที่เพิ่งจะเริ่ม
คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า ชอบจริง ๆ หรือเปล่า? ถ้าไม่ชอบก็ไปทำอย่างอื่นเถอะ เพราะเท่าที่เห็นการเขียนหนังสือมันก็ไม่ได้ทำตังค์อะไรมากมายนักเลย นั่นแหละ อย่างแรกต้องถามตัวเองว่าชอบไหม ถ้าชอบมันก็จะดิ้นรนไปของมันเอง ส่วนเรื่องการอ่านนั้นมันแน่นอนอยู่แล้ว คือถ้ามีคนเดินมาบอกผมว่าอยากเป็นนักเขียน ผมก็จะบอกเขาเลยว่า ลองเขียนดู ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากชาติ กอบจิตติ ถามเรื่องการสร้างฉากก่อนแล้วกัน ในแต่ละเรื่อง
- ฉากเอามาจากไหน
การเขียนหนังสือมันก็เหมือนกับที่ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? ฉากก็คือที่ไหนนั่นเอง คือเราต้องดูว่ามันเข้ากับเรื่องที่จะเขียนมั้ย สมมติว่าเราเขียนเรื่องสมัยสุโขทัย แต่ไปเอาฉากของเซ็นเตอร์พอยท์ มันก็ไม่ได้ เพราะฉากมันต้องกลืนกับเรื่อง ฉากจะเป็นตัวบอกว่าเรื่องที่เรากำลังจะเล่ามันสมจริงไหม เรื่องที่เกิดขึ้น บรรยากาศในฉากมันก็จะบรรยายเรื่องด้วย
สมมติถ้าเราจะเขียนเรื่องสยองขวัญ แต่บรรยายฉากสีชมพูหวานแหวว อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่ มันต้องมืดๆ ดำๆ ลึกลับ มีควันมีหมอก มีแสงน้อยๆ คือทำยังไงก็ได้ที่เอื้อให้คนอ่านเชื่อ ตัวละครในเรื่อง เราต้องรู้จักตัวละครของเราทะลุ เช่น คนเคยถูกไล่ตีมา ผ่านเหตุการณ์อย่างนี้มา คนพวกนี้จะหวาดระแวงข้างหลังอยู่พักใหญ่ เสียวๆ วูบๆ พักหนึ่ง
เราต้องรู้ปมของตัวละคร เด็กที่เคยถูกผู้ใหญ่รังแก ถูกข่มขืน เรื่องอย่างนี้มันก็จะส่งผลต่อตัวละคร หรือแม้แต่กระทั่งเหตุการณ์ในปัจจุบัน มันก็จะไปส่งผลกับอนาคต ตัวละครตรงนี้เราต้องรู้ทะลุ อยู่แต่ว่าจะเอามาใช้ แค่ไหน ยังไง แค่นั้นเอง
สำหรับเรื่องการสร้างตัวละครขึ้นมาใช้นั้น อันที่จริงมันไม่ใช่กฎตายตัวหรอกนะว่าจะสร้างให้เสร็จก่อน หรือค่อยๆ สร้างไปพร้อมๆ กับการเดินเรื่อง คือแต่ก่อน ผมอาจจะยังใหม่ ก็เลยพยายามทำให้อุปสรรคน้อยที่สุด คิดตัวละครให้เสร็จ ผมสร้างตัวละครขึ้นมาก่อน รูปร่าง หน้าตาลักษณะนิสัย ความสูง สร้างขึ้นมาก่อน คือปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วค่อยปล่อยเดิน แต่พอมาระยะหลังนี้ไม่แล้ว ผมปล่อยเรื่องเดินก่อน พอเจอตัวละครค่อยหยิบกลับมาปั้น มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ เหมือนหัดขับรถอีกนั่นแหละ ถ้าขับรถแรงๆ เลย แล่นปรู๊ดปร๊าดเลย บางทีเราก็เอาไม่อยู่
ถ้าจะให้ผมแนะนำสำหรับ คนเขียนหนังสือใหม่ ควรคิดให้เสร็จก่อนค่อยเขียน เพราะถ้าพลาดแล้วมันจะท้อ แต่ว่าจริงๆแล้วจะทำอย่างไรก็ได้ไม่มีถูกไม่มีผิดหรอก มันไม่ตายตัว คือจะปล่อยตัวละครมาเลยก็ได้ การเขียนหนังสือมันเขียนยังไงก็ได้ จะนอนเขียน นั่งเขียน เดินเขียน ตีลังกาเขียน คนอ่านเขาไม่ถามหรอกว่าเขียนยังไง เขาจะอ่านงานที่ออกมาแล้ว
- บทสนทนาที่เราจับใส่ปากตัวละครล่ะ
คือเราเขียนเรื่องคน ต้องฟังว่าคนเขาพูดยังไง มันมีเคล็ดลับง่ายๆ เวลาจะเขียนบทสนทนา พอเขียนจบลองอ่านออกมาดังๆ ดูสิว่ามันเข้าปากไหม ประโยคอย่างนี้คนเขาพูดกันไหม เพราะนักเขียนใหม่มักเจอเรื่องความไม่สมจริง คือคนเขาไม่พูดกันอย่างนี้หรอก ชาวบ้านเขาไม่พูดปรัชญาเอ็กซิตองหรอก แต่ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านเขาคิดไม่ถึง เขาคิดเป็น แต่จะพูดอีกอย่าง เขาอาจจะไม่รู้หรอกว่าพูด แต่ว่ามันสามารถตีความเป็นอย่างนั้นได้ มีวิธีการทำอย่างไรให้เรื่อง น่าสนใจหรือน่าติดตาม
เมื่อก่อนตอนเขียนเรื่อง ‘พันธุ์หมาบ้า’ เป็นตอนๆลงนิตยสาร ลลนา ก็ใช้วิธีให้เรื่องมันเดินตอนต่อตอน จบค้างไว้ให้คนอยากรู้เรื่องต่อ เรื่องมันต้องเดิน ต้องเคลื่อนไหว ไม่ใช่ตอนหนึ่งให้ตัวละครนั่งคิดอยู่ 4-5 หน้า อย่างนี้ถ้าเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คมันอาจจะทำได้ แต่การลงเป็นตอนๆ มันต้องน่าติดตาม สมมติ ตัวละครถือมีดกำลังจะแทงอีกฝ่าย คือ แทงหรือไม่แทง โปรดอ่านต่อฉบับหน้า อันนี้ไม่รู้ คนอ่านต้องติดตามเอง พอฉบับหน้ามา อาจจะแทงไปโดนปลั๊กไฟ ไฟช็อตตาย เป็นอย่างนี้ก็ได้
สำหรับนักเขียนใหม่ๆ แนะนำว่า หากเขียนเรื่องเสร็จแล้วลองเอาให้เพื่อนอ่าน ถ้าอ่านแล้วชอบ 4 ใน 5 โอเคประสบความสำเร็จ คือคนอ่านจะต้องติด ไม่งั้นเราก็จะไม่สามารถบอกอะไรกับคนอ่านได้ ไม่ใช่ว่าอ่านไป 4 หน้าแล้วยังไม่ได้อะไร ไม่รู้อะไรเลย คือข้างในต่อจากนั้นเรื่องดีน่ะ ภาษาดี แต่คนอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ เขาด้นไปไม่ไหวแล้ว แต่ทั้งหมดทั้งปวงก็อย่างที่บอก คือมันไม่ใช่เรื่องตายตัว อาจมีคนอ่านที่ด้นไปได้
สำหรับผม สิ่งที่เราจะให้กับคนอ่านคือ 1.ให้ความคิด คิดอะไรก็บอกคนอ่านไป 2.ให้ความรู้ เรื่องที่เราจะเขียนบอกคนอ่านนั้นเราต้องรู้จริง 3.ให้ความบันเทิง ไม่ได้หมายความว่าอ่านแล้วหัวเราะตลอดทั้งเล่ม แต่มันคือการอ่านแล้วไหลลื่น อ่านแล้ววางไม่ลงต้องติดตาม สามอย่างนี้ถ้าทำได้ก็สำเร็จ
- คุณสมบัติการจะเป็นคนเขียนหนังสือ ควรเป็นอย่างไร
บอกไม่ได้ คือมันไม่ใช่ลักษณะที่ว่าต้องกล้ามใหญ่ ไม่ใช่ (หัวเราะ) มันต้องเป็นคนที่ชอบ ไม่รู้ว่าจะแรงไปหรือเปล่าน่ะที่ผมจะพูดอย่างนี้ แต่ก็ต้องบอกว่า ‘ชีวิตนี้อุทิศให้กับการเขียน’ ส่วนเรื่องคุณสมบัติการช่างสังเกตอะไรพวกนี้มันจำเป็น
คนเขียนหนังสือเป็นคนช่างสังเกตอยู่แล้ว คนเขียนภาพ ตากล้อง มันจะมีโดยสัญชาตญาณ แต่เรื่องอย่างนี้ก็ฝึกกันได้ ผมไม่ค่อยเชื่อเรื่องพรสวรรค์ สมัยก่อนนี่ไม่เชื่อเลย แต่ก็เคยสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมไอ้เด็กคนนี้วาดรูปเก่ง เด็กคนนี้เล่นฟุตบอลเก่ง ทั้งที่ต่างก็ไม่ได้ฝึกมา เรื่องนี้เราตอบไม่ได้ ถ้าถามเรื่องพรสวรรค์อย่างจริงๆจังๆ มันไม่น่าจะใช่ มันอยู่ที่การฝึกด้วย อย่างคนที่เคยเขียนเรียงความสมัยเด็กๆ ได้คะแนนเต็ม แต่วันหนึ่งก็ทิ้งไป ถ้าเทียบกับคนที่อยู่ระดับกลางๆ แต่ว่าฝึกทุกวันๆ ไอ้คนที่เขียนทุกวันน่าจะดีกว่า
พรสวรรค์ในทางวิทยาศาสตร์ ผมว่ามันเป็นความชอบ คือแต่ละคนจะชอบอะไรไม่เหมือนกัน บางคนชอบร้องเพลง บางคนชอบเล่นกีฬา ซึ่งพอมันชอบแล้วมันก็จะเกิดความใส่ใจ เรื่องพรสวรรค์ เรื่องท่านให้มา อะไรทำนองนี้ผมไม่อยากให้คิดมาก คือถ้ามันเดิน 4 ตีนแล้วเรายังเดิน 2 ตีน เออ สู้มันไม่ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้ามันเดิน 2 ตีนเหมือนกันกับเรา มันก็ไม่น่า…. มันอยู่ที่ความพยายาม ความเอาใจใส่ เรารู้ว่าเราขาด เราก็ต้องทำงานให้เยอะกว่าคนอื่น เหมือนอย่างที่อาจารย์วานิช (วิทยากรคนหนึ่งในโรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ) เคยเล่าให้ฟัง ตอนที่ทำโฆษณาใหม่ๆ คนอื่นทำ 1 ชิ้น แกรู้ว่าตัวเองขาดก็ทำ 10 ชิ้น คนอื่นทำ 20 ชิ้น แก 60 ชิ้น แล้วมาเลือกเอา มันต้องลักษณะนั้น
บางคนรู้ว่าตัวเองอ่อน แต่ก็ไม่เคยพยายามแล้วยังมาตีโพยตีพายว่า ท่านไม่ได้ให้มา อย่างนั้นไม่ใช่ คือกำลังจะบอกว่า ใครก็เขียนหนังสือได้ ถ้าชอบน่ะ ย้ำ ถ้าชอบ เขียนได้ถ้าใส่ใจกับมัน ศึกษา ฝึกฝน เรื่องดาราเขียนหนังสือนี่ผมไม่เคยปฏิเสธเลย แต่เขียนดีหรือเปล่าล่ะ เขียนเองหรือเปล่า ถ้าเขียนดีเขียนเองด้วยนั้นก็ยกย่อง คนที่จะให้เป็นนักเขียนหรือไม่ให้เป็น คือคนอ่าน
ยกตัวอย่างอาชีพตำรวจ พอเรียนจบ ได้ใบประกาศ คนที่จะให้เป็นตำรวจคืออธิบดี หรืออะไรอย่างนี้ใช่มั้ย แต่นักเขียน ขนาดเรียนจบคณะอักษรศาสตร์ ถ้าคนอ่านไม่ให้เป็น ก็ไม่ได้เป็น ก่อนหน้าที่ ชาติ กอบจิตติ จะยึดอาชีพนักเขียนอย่างเดียว เรียกว่าต้องทำงานทั้งสองอย่าง คือ งานเลี้ยงปากท้อง และงานเลี้ยงจิตวิญญาณ
โอเค ผมรู้ว่าตัวเองชอบเขียนหนังสือ ตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 13-14 ปี แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร รู้แต่ว่าอยากเป็นนักเขียน แต่ถ้าต้องเรียนจบมาแล้วเป็นนักเขียนเลย คือต้องเขียนงานตามใจตลาด เช่น อาจต้องเขียนเรื่องรัก เรื่องบู๊ เพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงปากท้อง อย่างนี้ผมมองว่า ถ้าเราจะเอางานที่เราชอบ มาทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เราน่าจะไปทำอย่างอื่นดีกว่า
อย่างที่บอกไง เงินดีกว่าด้วย แล้วก็ไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องมองหน้าตัวเองไม่สนิท ผมก็เลยมาทำกระเป๋าหนัง ตกกลางคืนก็เขียนหนังสือ คือไม่ต้องเอาสิ่งที่เราชอบมาหากินมาเบียดเบียน ทำอย่างนี้อยู่สักพัก พอเห็นว่าอยู่ได้ พอเลี้ยงตัวเองได้ก็เลิกทำกระเป๋า ไอ้คำว่า ‘นักเขียนไส้แห้ง’ ก็เลยไม่เคยรู้จัก (หัวเราะ) มันขึ้นอยู่กับคนๆไป ไม่ได้หมายความว่าทุกคน เคยพูดเหมือนกันว่า มันไม่ได้ไส้แห้งหรอก ถ้าคุณอยู่ 1-5 หรือ 1-10 ของประเทศนี้ มันอยู่ได้ แต่ถ้าคุณเป็นลำดับที่ 112 หรือลำดับที่115 ล่ะ มันยาก
แต่ถามว่าทำอย่างไรล่ะที่จะขึ้นมาอยู่ในลำดับต้นๆให้ได้ มันก็ต้องพัฒนาฝีมือ เหมือนนักเทนนิสที่ต้องซ้อม
สำหรับผม เรื่องที่เคยเขียนก่อนเรื่องสั้นเรื่องแรกจะได้ตีพิมพ์ มีเก็บไว้เป็นลัง เขียนทิ้งๆไว้ คุณเรียนจบเพาะช่าง เคยเล่นละครเวที เคยเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เคยทำกระเป๋าหนังขาย
- เรื่องพวกนี้สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้
เรื่องเหล่านี้มันมีประโยชน์ อะไรที่ผ่านเข้ามาในชีวิตคนเขียนหนังสือ ผมว่ามันมีประโยชน์ทั้งนั้น แต่ที่กำลังจะพูดคือ ไม่ได้ให้ไปลอง อย่างเช่นคนเคยติดคุก บางทีเขียนเรื่องเกี่ยวกับคุกอาจได้ดี หรืออย่างอกหักก็มีประโยชน์ แต่บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องไปลอง อย่างเช่นขาหัก ขาด้วน อย่างนี้ไม่ต้องลอง
ที่ผมเคยเล่าว่า เคยลองผูกคอตาย อืม เรื่องจริง แต่ผมป้องกัน มีคนอยู่ด้วยเยอะ ตอนนั้นคือเราอยากรู้ว่า อาการของคนผูกคอตายเป็นอย่างไร แต่พอเริ่มรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว แขวนคอไว้อีกหน่อยคงไปแน่เลย ก็ต้องเลิก เลยทำให้รู้ว่า คนผูกคอตายอาการเป็นอย่างไร อ๋อ มันอื้ออึงอย่างนี้ คือก่อนหน้านั้น เราไม่เคยได้เห็นการบรรยายอาการคนผูกคอตาย เคยอ่านเจอแต่เขาเขียนแค่ว่าพบศพคนที่ผูกคอตายเท่านั้น ยังไม่มีใครเคยบรรยายอาการอย่างจริงๆจังๆ
- ประสบการณ์ชีวิตสำคัญขนาดไหน
มาก แต่ทุกคนก็มีเวลาเท่ากัน คือ 24 ชั่วโมงต่อวัน เพียงแต่ว่าบางคนที่ไม่ได้ออกไปเจอผู้คน ก็อาจจะมีประสบการณ์ภายใน เรื่องจิตใจ เรื่องการคิดหรืออะไรต่อมิอะไร นักเขียนไม่มีพักร้อน มันอยู่ข้างใน
อย่างบางคนเห็นเขาบอก ทำงานค้างไม่เสร็จ พอจะเข้านอนก็นอนไม่หลับ เพราะในหัวมันยังติดอยู่ไง ยังคิดอยู่เรื่อยทั้งที่อยากนอนหรือเกิน เทียบกับงานอื่น อย่างเช่นไปแบกหามของมา พอนอนเหนื่อยก็หลับ เก็บข้าวโพด ถอนถั่ว กลับมานอนก็หลับได้ง่าย
แต่ไอ้การเขียนหนังสือ ขนาดเขียนถึงตีสามตีสี่ แสบตาอยากนอน ก็นอนไม่หลับ บางครั้งต้องอยู่จนเช้า ก็คิดเรื่องที่ค้างอยู่ในหัวนั่นแหละ เผลอๆในฝันก็เป็นเรื่องเป็นราวอีก
- อุปสรรคการเป็นคนเขียนหนังสือคืออะไร
น่าจะเป็น ความขี้เกียจ สำหรับนักเขียนใหม่ๆ แต่สำหรับผมคือเรื่องความคิด มันเหมือนกับว่า ความคิดใหม่ๆไม่ค่อยมี คืออย่างเขียนเรื่องธรรมดา อย่างเล่าเรื่องหมา เราเขียนได้เพราะฝีมือมีใช่ไหมล่ะ
อันนี้ไม่ได้พูดยกตัวเองน่ะ แต่หมายความถึงทั่วๆไป เขียนมานานขนาดนี้ ความเป็นช่างฝีมือมันมีอยู่แล้ว เขียนอะไรมันก็น่าอ่าน แต่ว่า เออ มันไม่มีอะไรที่เป็นความคิดใหม่ๆ ส่วนมากอุปสรรคเป็นเรื่องความคิดมากกว่า ไม่ใช่คิดไม่ออก เพราะการคิดไม่ออกคือมีเรื่องที่จะเขียนแล้วแต่ไปต่อไม่ได้ แต่นี่มันยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเลย ยังไม่รู้จะคิดอะไร ยังไม่เจออะไรเลย รอพระเจ้าโทรมาบอก (หัวเราะ)
- ช่างฝีมือกับศิลปินต่างกันอย่างไร
ช่างฝีมือ ขอโทษ ตรงนี้ผมพูดด้วยความเคารพนะครับ คืออย่างคนที่แกะช้างที่เชียงใหม่ เห็นไม้มาก็เป็นช้างอย่างเดียว ไม้ใหญ่หน่อยช้างตัวใหญ่ ไม้เล็กช้างตัวเล็ก ไม้ยาว เอ้า! ช้างเป็นโขลง คือมองอะไรเป็นช้าง ทำอะไรซ้ำๆ ทำด้วยความชำนาญ แต่ทำดี ทำสวย ทำเก่ง ทำเนียน แต่พอไม้มาก็ช้าง
ศิลปินมันจะต่างออกไป เอออันนี้ช้างได้ อันนี้เป็นปลาโลมา หรืออันนี้อาจจะเป็นปลัดขิก มันก็แล้วแต่ และความแนบเนียนของศิลปินอีกอย่างคือ คนไม่รู้ว่าเอามาจากไหน เหมือนอย่างคำที่ว่า ‘ช่างฝีมือขอยืม แต่ศิลปินขโมย’ ยืมมาคือยังรู้ว่าไปเอาของใครมา แต่ศิลปินนี่แนบเนียนมาก แต่ว่าหากสืบไปสืบมาก็อาจจะรู้น่ะ จริงๆ ก็คือเอามาโดยไม่ให้จับได้ มันเป็นการพัฒนาอีกขั้น อย่างช่างฝีมือ อาจจะจากหนึ่งไปสอง แต่ศิลปิน จากหนึ่งไปเจ็ด ไปแปดเลย หาที่มาไม่เจอ จริงๆแล้วมันไม่มีอะไรลอยๆมาเลยหรอก งานศิลปะก็เหมือนกัน ใช่ว่าจู่ๆมันก็มาเป็นแอบสแต็กเลยเมื่อไหร่ ในวงการงานเขียน การพิสูจน์
- ความเป็นตัวจริงคืออะไร
อาชีพนี้โอกาสฟลุ๊คไม่มีเลย ขอโทษ อย่างวงการเพลง อาจจะมีเพลงหนึ่งที่แต่งได้ดี ร้องดีก็ดังได้แล้ว แต่จะอยู่ยาวไหม อยู่ได้ตลอดไหมล่ะนั่นอีกเรื่อง แต่งานเขียนมันยาก คือผมไม่ได้พูดเข้าข้างอาชีพตัวเอง คุณก็รู้ เขียนหนังสือหนึ่งเรื่อง 100-200 หน้า มันไม่มีทางฟลุ๊ค การพิสูจน์ความเป็นตัวจริงอีกอย่างคือคุณต้องยืนระยะได้ ผมเคยพูดเปรียบ คือ คุณต้องยืนครบยก อาชีพอย่างนี้มันใช่วิ่ง 100 เมตร มันคือการวิ่งมาราธอน (หัวเราะ) ใช่ว่า 100 เมตรเข้าเส้นชัยแล้วเลิกเลย
- ตอนนี้เขียนหนังสืออย่างไร หมายถึงใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์ นั่งพิมพ์เลย แต่เมื่อก่อนที่ทำจะเป็นในลักษณะเขียนลายมือก่อนแล้วพิมพ์ดีด เพราะถ้าให้มานั่งจิ้มมันคิดไม่ออก แต่เพื่อนบางคนที่ผ่านงานหนังสือพิมพ์หรืองานข่าวมาก่อน พวกนี้จะเขียนได้คล่อง เขาเรียกว่ากดแบบ ‘ข้าวตอกแตก’ พอมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ ผมก็ใช้ คือมันเป็นเรื่องของยุคสมัย เพราะถ้าไม่ใช้ก็เหมือนกับคนแก่ที่อ่านหนังสือไม่ออก
ปัญหาที่เจอสำหรับการเขียนงานด้วยคอมพิวเตอร์ในระยะแรกๆก็คือ เหมือนว่ามันจะจ้องดูเราตลอด ถามเราตลอดว่าเมื่อไหร่จะเขียน เมื่อไหร่จะพิมพ์ ก็เลยเขียนไม่ค่อยได้ แต่ถ้าจะให้เขียนใส่กระดาษแล้วไปพิมพ์ ก็คิดว่าตรงนั้น มันไม่น่าจะใช่ขั้นตอนของการใช้คอมพิวเตอร์ ก็เลยเอาใหม่ ไม่กลัว พูดกับคอมพิวเตอร์ ‘กูซื้อมึงมานี่หว่า มึงต้องคอยกู กูเป็นเจ้าของมึง อย่ามาจ้อง’ (หัวเราะ) ก็เรียนรู้กับมันไป แต่มันก็มีปัญหาอีก คือเวลาเราลบหรือแก้อะไร มันจะหาย
เพราะถ้าเป็นอย่างยางลบ เป็นปากกา แก้ตรงไหนเรารู้ ตรงนี้มีวิธีแก้ปัญหาคือ ปริ๊นออกมาบ่อยๆ ปริ๊นแล้วแก้ๆ จะได้เห็นพัฒนาการของงานด้วย การเขียนหนังสือเคยได้ยินคุณบอกว่าเหมือนการหยอดกระปุก เอาว่าเขียนเรื่องยาวหนึ่งเรื่อง มันไม่ได้ในวันเดียวไง บางทีเขียนได้วันละหน้าสองหน้า มันไม่ได้เป็นเงินเลยในวันนั้น หากได้วันละหน้า แต่ถ้าเขียนทุกวันหนึ่งปีก็ได้ 300 กว่าหน้า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้งานเป็นเล่มในวันเดียว
- นิยายกับเรื่องสั้นคุณถนัดแบบไหนมากกว่ากัน
มันไม่น่าจะใช้คำว่า ถนัด ได้ .. บางเรื่องมันเหมาะสำหรับเรื่องสั้น มันก็ต้องเป็นเรื่องสั้น บางเรื่องมันยาว ก็ต้องเป็นนิยาย คือเราไม่มีทางทำเรื่องสั้นให้เป็นนิยายได้ มันจะโหรงเหรง มีแต่น้ำ เห็นบางคนพยายามดันเรื่องสั้นให้เป็นนิยาย เพราะคิดว่ามันได้ตังค์เยอะกว่า แต่สุดท้ายพอออกมา เรื่องสั้นก็ไม่ได้ นิยายก็ไม่ได้ ไม่มีอะไรเลย หรืออย่างเรื่องที่ต้องเป็นนิยาย ก็เขียนเป็นเรื่องสั้น มันก็ยัดไม่ลงสิ เพราะภาชนะมันแคบแต่ของมันใหญ่
ถ้าถามว่าผมสนุกกับอะไรมากกว่ากัน ก็ตอบว่า นิยาย ผมไม่ชอบเขียนงานคอลัมน์ ตอนนี้ที่เขียนมีอยู่ที่เดียวคือนิตยสาร สีสัน เพื่อนกันก็ช่วยกัน(หัวเราะ)
ผมไม่ชอบอะไรที่มันต้องส่งเป็นกำหนด อย่างบางที มันใกล้เข้ามาต้องส่งงานแล้ว เรามีพล็อตเรื่องที่เหมาะจะเป็นเรื่องสั้นดีๆ อยู่ ก็ต้องเอามาดัดแปลงเป็นบทความเป็นงานคอลัมน์เพื่อให้ได้ส่ง ทีนี้พอจะมาเขียนเรื่องสั้นมันก็ซ้ำแล้วไง งานคอลัมน์พอรวมเล่มก็เอาไปสร้างหนังไม่ได้ด้วย (หัวเราะ)
- กับหนังสือของคุณที่มีคนอื่นเอาไปทำหนัง ตรงนี้คิดอย่างไร
ผมไม่ซีเรียส สื่อมันคนละอย่างกัน มันดัดแปลงแต่งเติมได้ ถ้าเราคิดว่ามันเตะไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ขึ้นหิ้งดีกว่า สำหรับผมดูแค่ว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูดมันยังอยู่ไหม เนื้อมันยังอยู่หรือเปล่า เหมือนกับดินน้ำมันก้อนหนึ่ง เขาเอาไปขยำยังไง เนื้อมันก็เป็นดินน้ำมัน ไม่ค่อยเข้มงวดกับเรื่องนี้เท่าไหร่ เพราะบางที ถ้าคงไว้ในงานวรรณกรรมเกินไป หนังก็ดูไม่ได้เลย ก็ในหนังสือ ตัวละครสามารถนั่งคิดได้สามถึงสี่หน้า อาจด้วยวรรณศิลป์หรืออะไรก็แล้วแต่ มันชวนให้คนอ่านติดตาม
แต่ถ้าในหนัง ให้พระเอกมานั่งคิดริมกระท่อม เอาแค่นาทีเดียวคนดูก็เบื่อแล้ว (หัวเราะ) งานเขียนคุณมักจะมีรูปแบบใหม่ๆมาเสนอตลอดอย่าง ‘เวลา’ หรือ ‘ลมหลง’ ซึ่งเรื่องหลังนี่เขียนเป็นบทภาพยนตร์ทั้งเล่ม
- ตรงนี้เนื่องด้วยเหตุผลอะไร
เบื่อ ทำอะไรซ้ำๆมันเบื่อ ถามตัวเองก่อนเถอะ ขนาดคนเขียนยังเบื่อ แล้วคนอ่านไม่เบื่อหรือ อย่างมีคนถามถึงงานเรื่องใหม่ของผม (ซึ่งตอนนี้ปีกว่าแล้วเขียนได้ไม่กี่หน้า) โอเค อาจจะช้าหน่อย แต่เราสนุกนี่นา อย่างน้อยมันไม่เบื่อ เหมือนเราใส่ชุดลูกเสือทุกวัน (หัวเราะ)
มันก็มีบ้างแหละที่อยากใส่เสื้อยืดกางเกงขาสั้น ให้ใส่ชุดลูกเสือทุกวันอย่างนั้นไม่ไหว ลมหลงที่เขียนเป็นบทหนังทั้งเล่มนั้น ตอนแรกเขาวานให้ทำ เราก็คิดว่าไหนๆจะทำแล้วก็น่าจะอ่านได้ด้วย แต่ตอนนี้บริษัทหนังเขาเจ๊งไปแล้ว (หัวเราะ) ผมก็ไม่รู้เหมือนกันน่ะว่าทำไมเขาถึงไม่เอางานที่มีอยู่แล้วไปทำ ทำไมต้องเขียนบทใหม่ แต่ช่างมันเถอะ เพราะตอนที่ทำชิ้นนี้ ผมก็สนุกกับงานของผม
- คุณมีแนวคิดอย่างไรถึงได้เปิดอบรม ‘โรงเรียนนักเขียนบ้านชาติ กอบจิตติ’
คิดถึงตอนตัวเองเด็กๆ ตอนที่ผมเริ่มเขียนหนังสือใหม่ๆ ผมก็อยากไปหานักเขียน อยากเอางานไปให้เขาอ่าน แต่บางทีท่านเหล่านั้น อาจไม่ว่าง หรือเจอเด็กแบบนี้จนเบื่อแล้ว ก็เลยปฏิเสธ
ผมรู้สึกว่า มันยากในการเข้าหา ซึ่งพอมาปัจจุบัน ผมมีโอกาส ก็เลยคิดว่า มันน่าจะมีเด็กที่คิดเหมือนผมสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้คิดว่าต้องเปิดเป็นสถาบันเป็นอะไรจริงจังหรอก มีเวลา มีกำลัง พร้อมก็ทำ แต่พอดีปีนี้ไม่พร้อม ก็เลยพักไปปีหนึ่ง คือที่ผมทำเพราะคิดว่า ไม่เดือนร้อนตัวเอง ไม่เดือนร้อนคนอื่น อย่างถ้าจะทำบุญ แต่ต้องไปยืมเงินคนอื่น ก็อย่าไปทำเลย เอาไว้มีก่อนแล้วค่อยทำ และสำหรับปีนี้ก็คงต้องดูก่อน น่าจะเป็นช่วงเดิมคือประมาณเดือนตุลาคม แต่ก็ต้องใกล้ๆก่อนถึงจะรู้ว่าทำได้ไหม
- สำหรับคนที่สนใจ มีเกณฑ์การคัดเลือกอย่างไร
ก็คงเป็นอย่างเดิม คืออายุไม่น่าจะเกิน 28 ปี ให้ส่งงานมาดู ไอ้เรื่องอายุนี่เคยมีคนถามมาเยอะว่า 40 กว่า 50 กว่า ทำไมไม่รับ จริงๆก็ไม่อยากจำกัด เพียงแต่คิดว่า ถ้าได้เด็กๆ มันจะได้เหลือเวลาทำงานเยอะหน่อย สมมติมาฝึกตอนอายุ 82 ปี เหลือเวลาทำงานอีกกี่ปีล่ะ (หัวเราะ) สำหรับช่วงอายุที่รับคือไม่เกิน 28 ปีประมาณนี้ก็น่าจะเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวได้แล้ว ตอนที่ผมเขียนเรื่อง ‘คำพิพากษา’ ก็อายุประมาณนี้แหละ การเปิดอบรมแต่ละปี ถามว่ามีคนสนใจเยอะมั้ย ก็มีงานส่งงานเข้ามาให้พิจารณา เอ่อ น่าจะเกินร้อยชิ้น แต่ที่รับได้น้อย ก็อยู่บ้านอย่างนี้จะรับเยอะๆได้ไงล่ะ มาเยอะเดี๋ยวแบ่งทีมเล่นฟุตบอลกันอีก (หัวเราะ) เดี๋ยวไม่ได้เขียน
- มองสถานการณ์วงการวรรณกรรมไทยตอนนี้อย่างไร
ผมว่านักเขียนใหม่ๆจะลำบาก หนึ่งคือหนังสือมันเยอะขึ้น คนก็เลยไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมไทย สมัยก่อน อย่างช่วง 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ พิมพ์หนังสือ 5,000 เล่ม 6,000 เล่ม มันปกติมาก แต่ทุกวันนี้ 2,000 เล่ม ไม่รู้สามปีจะขายหมดหรือเปล่า แล้วอย่างนี้คนใหม่ๆที่ขึ้นมาจะอยู่กันอย่างไรล่ะ ในขณะเดียวกันมันก็เริ่มมีค่าย นักเขียนก็ไปสังกัดค่าย ซึ่งอนาคตไม่รู้ว่าจะต้องถูกกำหนดหรือเปล่าว่าต้องเขียนแนวนั้นแนวนี้ อันนี้ไม่แน่ใจ ใช้คำว่า อาจจะ
- แล้วอย่างชาติ กอบจิตติ พิมพ์หนังสือตัวเอง
ผมมองอย่างนี้ ต้องบอกก่อนว่าพื้นฐานมันมาจากการที่ผมได้ทำกระเป๋า มีสตางค์เก็บ คิดว่าขาดทุนก็คงไม่เป็นไรเพราะได้เอาไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็เลยถามตัวเองว่า เรื่องของเราดีมั้ย เออ เรื่องของเราดี ถ้าดีแล้วทำไมเราไม่พิมพ์เอง เพราะว่ากำไรจากการพิมพ์มันมากกว่าการรับค่าลิขสิทธิ์ แต่ถ้าสมมติว่าเรื่องของเราไม่ดีล่ะ อ้าว! ไม่ดีแล้วเราไปหลอกคนอื่นเขาพิมพ์ทำไม พิมพ์เองดีกว่า ถามเรื่องการมองโลก อย่างเพื่อนของคุณคนหนึ่งบอกว่าโลกนี้เหมือนสวนสนุก เขาแค่มาเที่ยว ถ้ารถเมล์ของเขามารับเมื่อไหร่เขาก็ไป
- ชาติมองโลกอย่างไร
ไม่เชื่อว่าโลกนี้มีอยู่จริง มันอยู่ที่สถานะเรา อยู่ที่สิ่งแวดล้อมของเรา เอ่อ…เอาไว้อ่านนิยายเรื่องใหม่ดีกว่า ในนั้นจะมีคำตอบ ไม่เล่าเรื่องย่อน่ะ เดี๋ยวมีคนเร่งไปเขียน ผมยิ่งไม่ค่อยได้เขียนด้วย (หัวเราะ)
- คิดว่าอะไรที่จะทำให้เลิกเขียนหนังสือ
ไม่เลิก เลิกทำไมล่ะก็เราชอบ บางทีละอายใจด้วยซ้ำที่ไม่ยอมเขียน เพราะครั้งหนึ่งเราใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน พอได้เป็นสมใจแล้วไม่เขียนมันก็รู้สึกละอาย มันเป็นเพราะตัวเราเองมากกว่า
- จากหนังสือเล่มแรก ถึงหนังสือเล่มสุดท้าย มองย้อนกลับไปบนเส้นทางนี้คุณเห็นอะไร
เห็นการพัฒนาของตัวเอง การพัฒนาของงาน คือตอนนี้กลับไปอ่านงานเล่มแรกคือ ‘ทางชนะ’ แล้วรู้สึกว่ามันเชย แต่ว่าปัญหามันก็ไม่ได้อยู่ตรงนี้ มันอยู่ที่ว่า ตอนที่เราอายุขนาดนั้น ตอนที่เขียนงานชิ้นนี้ เราทำเต็มที่หรือเปล่า ถ้าเต็มที่ก็โอเค อย่างพอย้อนกลับไปดูงาน ช่วงอายุ 20 กว่าๆ โอ้! ทำไมมันเชยอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้แก้อะไรหรอก เก็บไว้อย่างนั้นแหละ
Tags: Editor's Picks
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น