รำแก้บน
สายวันนั้นขณะผมนั่งคุยกับซีเล็กรอติดรถอุทยานฯ เข้าตลาด เห็นกลุ่มคนยกขบวนมา พวกเขาส่งตัวแทนติดต่อซีเล็กขอใช้สถานที่ “รำลองเง็ง” นายแฝดไทลุกออกไปจัดการอำนวยความสะดวก ส่วนผมก็...ตามไปดู มีหญิงวัยเลยกลางคนหลายคนแต่งตัวเสื้อผ้าลูกไม้ ผ้าถุงปาเต๊ะ แต่งหน้า ทาปากแดง ดูเหมือนจะเป็นผู้รำ นักดนตรีกำลังจัดที่ทาง เครื่องดนตรีมีไวโอลิน (อ่านไม่ผิดหรอกครับ ไวโอลินจริง ๆ) กับกลอง พวกผู้ชายกำลังรินเบียร์สด ๆ ใส่แก้ว (หมายถึงรินสด ๆ จากขวดที่ไม่ได้ผ่านเครื่องทำความเย็นใด) นักดนตรีพร้อมแล้ว ได้ความว่า..พวกเขาเป็นชาวเลบ้าน “สังกาอู้” มีคนป่วยมาบนไว้ตอนนี้เขาหายดีแล้ว จึงมารำแก้บน เมื่อนางรำพร้อม ดนตรีทำนองสนุกมีเสียงกลองรำมะนาให้จังหวะ กลุ่มนางรำ ๕-๖ คน ร้องเพลงภาษาชาวเลด้วยท่วงทำนองเดียวกับโน้ตไวโอลิน รำฟ้อนเป็นวงกลม ดูเหมือนจะมีนางรำที่เจนเวทีอยู่คนหนึ่งเป็นผู้นำ เธอเคลื่อนไหวท่าทางได้อ่อนช้อยงดงาม ช่วงพักหลังเพลงแรก ผมสัมภาษณ์มือสีไวโอลินต่อ... ปรากฏว่า...มือไวโอลินของเราไม่เบา! เคยออกทีวีด้วย เบียร์สิงห์สด ๆ จากลังถูกจ่ายแจกไปเรื่อย ๆ จนถึงผม ผมเคยรังเกียจเบียร์ที่ไม่แช่เสมอ เพราะคิดว่าคนดื่มไม่มีรสนิยมในการดื่ม เบียร์ต้องมีความเย็นพอเหมาะที่จะทำให้กลิ่นหอมเฉพาะของเบียร์นั้น ๆ เผยตัวออกมา เบียร์มีขบวนการหมักที่ต้องเอาใจใส่ ตอนจะดื่มก็ต้องใส่ใจ....ไม่ใช่เอาแต่เมา! แต่คราวนี้..เบียร์สด ๆ ที่ชาวเลรินให้คนต่างถิ่นอย่างผมแก้วนั้น..รสดี! ผมเสียดายไม่ได้อยู่ดูจนจบเพราะต้องติดรถอุทยานฯ เข้าตลาดไปเปลี่ยนแก๊ส ยังมีคำถามค้างคาใจที่ยังไม่ได้ถาม "ไม่ทราบทำไม..นางรำทั้งหมดดูอายุ ๔๐-๕๐ กันทั้งนั้น ทั้งหมู่บ้านสังกาอู้ไม่มีสาว ๆ เลยสักคนหรือไร?" OOO ขอพรคุณพระคุ้มครองท่านสหัทยาให้ทุกอย่างผ่านพ้นด้วยดีแข็งแรงในเร็ววันขอรับ
แต่พวกนางรำยังไม่พร้อม
ผมขยับเข้าใกล้มือไวโอลินทำตัวเป็นนักข่าวสอบถามด้วยความใคร่รู้
ตรงจุดที่ตั้งอุทยานฯ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา โดยเฉพาะตรงปลายสุดที่เลยประภาคารออกไป เป็นที่พวกเขากราบไหว้ขอพรก่อนออกทะเล
มือสีไวโอลินเริ่มบรรเลง
มีรายการทีวีมาถ่ายทำหลายครั้ง การแสดงทุกครั้งมีเขาเป็นตัวหลัก เพราะเขาเป็นเดี่ยวมือหนึ่งเรื่องไวโอลิน
เป็นรสของน้ำใจไมตรี รสชาติของการแบ่งบันจากผู้ที่ไม่ได้มั่งมีมากมาย
หากผมเจอเดี่ยวไวโอลินอีกครั้ง จะต้องถามให้รู้เรื่อง.. (ฮา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น