ต่อจาก http://winbookclub.com/viewanswer.php?qid=14545
เอาล่ะ มาว่ากันต่อ..
พอจะเห็นใช่ไหมขอรับ..เราเป็นนักมวย
ขณะแลกหมัดกับคู่ชกขอแค่มีช่องว่างหรือจังหวะหมัดปล่อยออกเราจะปล่อยไปตามสัญชาตญาณ หวังผลกำหราบฝ่ายตรงข้ามให้หมอบราบคาบหมัด ส่วนหมัดที่ปล่อยออกนั้นจะเรียกว่า อัปคัต, สวิง, หรือหมัดตรงคงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของคนพากษ์
เขียนเถอะขอรับ เขียนไปตามทักษะปัจจุบัน (เจเค โลว์ลิ่งเมื่อแรกลงมือเขียนแฮรี่เธอแค่อยากเล่าเรื่องราวของเด็กชายกำพร้าคนหนึ่งในโลกของพ่อมดและมักเกิ้ล) ใช้ตัวอักษรสื่อเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่าออกมา ส่วนจะบอกเล่าด้วยสำเนียงใดจึงเหมาะสม ทักษะฝึกฝนจะบอกเราเอง
ขออย่าได้สงกาเลยว่าที่เราเขียนไปนี้เป็นเป็นแนวไหน จะเป็นวรรณกรรมหรือวรรณเวร เยาวชนหรือเยาวไม่ชน การจัดประเภทหมวดหมู่เพียงเพื่อง่ายต่อการเรียกขานและจดจำ..ผู้อ่านจะจัดการให้
แต่หากท่านขมวดคิ้วนิ่วหน้าแล้วกล่าวว่า "เอ๊ะ! ตาดินนี่กระไร! อิฉันแค่อยากรู้ที่เขาเรียกกันว่าวรรณกรรมเยาวชนนั้นหน้าตามันเป็นอย่างไร..ดันชักเรือออกไปเสียพ้นคุ้งอ่าวกว่าจะกลับมาเป็นไม่รู้เรื่องกันพอดี"
เช่นนั้นผู้น้อยก็จะขอวกกลับเข้าประเด็นที่ถาม
สรุปเอาตามขี้เลื่อยน้อยพอจะเรียบเรียง 'วรรณกรรมเยาวชน' เป็นเรื่องสำหรับเด็ก(รวมทั้งเด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านดี), เรื่องเล่าด้วยสำเนียงไร้เดียงสา ใสซื่อ, เล่าด้วยมุมมองของเด็ก ๆ, เรื่องที่มีตัวละคอนหลักเป็นเด็ก, เนื้อเรื่องง่าย ๆ มีคติสอนใจ, ประเด็นไม่ซับซ้อน, ตัวละคอนมีความเป็นฮีโร่ไม่จำเป็นต้องมีพัฒนาการ, เด็กจะต้องฉลาดกว่าผู้ใหญ่และแก้ปมปัญหาในเรื่องเอง, (คิดไม่ออกแระ!)
ไม่ว่าจะกล่าวคำจำกัดความไปยืดยาวเพียงใด แทบทุกคำจำกัดความยังต้องมีข้อแม้ กล่าวจบยังต้องโยนทิ้งเสีย
หากเขียนโดยปล่อยให้คำจำกัดความเหล่านี้มาเป็นกรอบเสียแล้ว ไหนเลยสามารถรังสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในโลกจินตนาการ
(ในความเห็นท่าน ท่านคิดว่าคำจำกัดความเหล่านี้มีก่อนหรือหลังตัวเรื่อง?)
เรื่องเล่าเกี่ยวกกับเด็ก ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมองจากมุมของเด็กแต่เป็นมุมมองของคุณครูผู้มีหัวใจบริสุทธิ์ อาจเป็นเรื่องเล่าของเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นหัวโจกในหมู่เพื่อนตัวน้อยกระทั่งใกล้จบเรืองผู้อ่านจึงทราบว่าเขาอายุล่วงวัยผู้ใหญ่ไปนานแล้ว
หากจะจำเพาะเอาว่าเป็นประเด็นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เจเคก็วางมุกในแฮรี่ไว้จนผู้ใหญ่เดาทางไม่ออกเอาเทียว
วรรณกรรมเยาวชนอเมริกันเรื่องหนึ่ง 'เก็บเงินซื้อจักรยาน' เล่าเรื่องเด็กผู้หญิงใช้เวลาช่วงปิดเทอมเปิดกิจการเล็ก ๆ หาเงินซื้อจักรยาน กิจการดำเนินไปด้วยดี เด็กหญิงต้องจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เรื่องสอนวิชาบริหารธุรกิจผ่านกิจการเล็ก ๆ รับเลี้ยงเด็ก, รับตัดหญ้า, ทำคุกกี้ของเด็ก ๆ กระทั่งความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนเกิดรอยร้าวเพราะผลประโยชน์ทางธุรกิจ เด็ก ๆ จึงต้องกลับมาทบทวนกันใหม่และที่สุดพวกเขาก็เลือกที่จะรักษาความเป็นเพื่อนไว้
ประเด็นไม่เบาเลยใช่ไหม?
ต่อข้อถาม 'เด็กน้อย: วันที่พ่อแม่จากไป...เป็นวรรณกรรมเยาวชนหรือไม่?'
คำตอบผู้น้อยเหมือนท่านเพลง ไม่ใช่! ด้วยเหตุผลเทียบเคียงนิยามที่กล่าวข้างต้น แลคำตอบนั้นก็หาก่อคุณค่าใดต่องานเขียนชิ้นหนึ่ง ตัวอักษรซึ่งชักนำงานเขียนไปจนจบเรื่องต่างหากที่จักสำแดงคุณค่า
แต่หากคำถามคือตั้งใจหมายเขียนแนววรรณกรรมเยาวชนสักเรื่อง ก็คงยกคำกล่าวของเหล่านักเขียน 'พึงอ่านเรื่องแนวที่ต้องการเขียน'
หวังข้าพเจ้าได้ชักใบเรือกลับเข้าโค้งอ่าวทิ้งสมอเทียบท่าเป็นที่เรียบร้อย
คำตอบหาได้สำคัญไปกว่าคำถาม การตั้งคำถามเปิดประเด็นพูดคุยนั้นน่าเล่นนัก ได้ระดมสมอง แง่คิด มุมมอง แลกเปลี่ยนความเห็น ฝึกเรียบเรียงความคิด ทั้งหมดล้วนเกิดแต่อานิสงส์ของคำถามซึ่งแน่ล่ะต้องขอขอบคุณท่านผู้ตั้งปุจฉาที่กรุณานำประเด็นมาแหมะให้ได้ครุ่นคิดเรียบเรียงถ้อยคำ
แทบท้าวท่าน
ธุลีดิลล์
เอาล่ะ มาว่ากันต่อ..
พอจะเห็นใช่ไหมขอรับ..เราเป็นนักมวย
ขณะแลกหมัดกับคู่ชกขอแค่มีช่องว่างหรือจังหวะหมัดปล่อยออกเราจะปล่อยไปตามสัญชาตญาณ หวังผลกำหราบฝ่ายตรงข้ามให้หมอบราบคาบหมัด ส่วนหมัดที่ปล่อยออกนั้นจะเรียกว่า อัปคัต, สวิง, หรือหมัดตรงคงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของคนพากษ์
เขียนเถอะขอรับ เขียนไปตามทักษะปัจจุบัน (เจเค โลว์ลิ่งเมื่อแรกลงมือเขียนแฮรี่เธอแค่อยากเล่าเรื่องราวของเด็กชายกำพร้าคนหนึ่งในโลกของพ่อมดและมักเกิ้ล) ใช้ตัวอักษรสื่อเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่าออกมา ส่วนจะบอกเล่าด้วยสำเนียงใดจึงเหมาะสม ทักษะฝึกฝนจะบอกเราเอง
ขออย่าได้สงกาเลยว่าที่เราเขียนไปนี้เป็นเป็นแนวไหน จะเป็นวรรณกรรมหรือวรรณเวร เยาวชนหรือเยาวไม่ชน การจัดประเภทหมวดหมู่เพียงเพื่อง่ายต่อการเรียกขานและจดจำ..ผู้อ่านจะจัดการให้
แต่หากท่านขมวดคิ้วนิ่วหน้าแล้วกล่าวว่า "เอ๊ะ! ตาดินนี่กระไร! อิฉันแค่อยากรู้ที่เขาเรียกกันว่าวรรณกรรมเยาวชนนั้นหน้าตามันเป็นอย่างไร..ดันชักเรือออกไปเสียพ้นคุ้งอ่าวกว่าจะกลับมาเป็นไม่รู้เรื่องกันพอดี"
เช่นนั้นผู้น้อยก็จะขอวกกลับเข้าประเด็นที่ถาม
สรุปเอาตามขี้เลื่อยน้อยพอจะเรียบเรียง 'วรรณกรรมเยาวชน' เป็นเรื่องสำหรับเด็ก(รวมทั้งเด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านดี), เรื่องเล่าด้วยสำเนียงไร้เดียงสา ใสซื่อ, เล่าด้วยมุมมองของเด็ก ๆ, เรื่องที่มีตัวละคอนหลักเป็นเด็ก, เนื้อเรื่องง่าย ๆ มีคติสอนใจ, ประเด็นไม่ซับซ้อน, ตัวละคอนมีความเป็นฮีโร่ไม่จำเป็นต้องมีพัฒนาการ, เด็กจะต้องฉลาดกว่าผู้ใหญ่และแก้ปมปัญหาในเรื่องเอง, (คิดไม่ออกแระ!)
ไม่ว่าจะกล่าวคำจำกัดความไปยืดยาวเพียงใด แทบทุกคำจำกัดความยังต้องมีข้อแม้ กล่าวจบยังต้องโยนทิ้งเสีย
หากเขียนโดยปล่อยให้คำจำกัดความเหล่านี้มาเป็นกรอบเสียแล้ว ไหนเลยสามารถรังสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในโลกจินตนาการ
(ในความเห็นท่าน ท่านคิดว่าคำจำกัดความเหล่านี้มีก่อนหรือหลังตัวเรื่อง?)
เรื่องเล่าเกี่ยวกกับเด็ก ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมองจากมุมของเด็กแต่เป็นมุมมองของคุณครูผู้มีหัวใจบริสุทธิ์ อาจเป็นเรื่องเล่าของเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นหัวโจกในหมู่เพื่อนตัวน้อยกระทั่งใกล้จบเรืองผู้อ่านจึงทราบว่าเขาอายุล่วงวัยผู้ใหญ่ไปนานแล้ว
หากจะจำเพาะเอาว่าเป็นประเด็นเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เจเคก็วางมุกในแฮรี่ไว้จนผู้ใหญ่เดาทางไม่ออกเอาเทียว
วรรณกรรมเยาวชนอเมริกันเรื่องหนึ่ง 'เก็บเงินซื้อจักรยาน' เล่าเรื่องเด็กผู้หญิงใช้เวลาช่วงปิดเทอมเปิดกิจการเล็ก ๆ หาเงินซื้อจักรยาน กิจการดำเนินไปด้วยดี เด็กหญิงต้องจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เรื่องสอนวิชาบริหารธุรกิจผ่านกิจการเล็ก ๆ รับเลี้ยงเด็ก, รับตัดหญ้า, ทำคุกกี้ของเด็ก ๆ กระทั่งความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนเกิดรอยร้าวเพราะผลประโยชน์ทางธุรกิจ เด็ก ๆ จึงต้องกลับมาทบทวนกันใหม่และที่สุดพวกเขาก็เลือกที่จะรักษาความเป็นเพื่อนไว้
ประเด็นไม่เบาเลยใช่ไหม?
ต่อข้อถาม 'เด็กน้อย: วันที่พ่อแม่จากไป...เป็นวรรณกรรมเยาวชนหรือไม่?'
คำตอบผู้น้อยเหมือนท่านเพลง ไม่ใช่! ด้วยเหตุผลเทียบเคียงนิยามที่กล่าวข้างต้น แลคำตอบนั้นก็หาก่อคุณค่าใดต่องานเขียนชิ้นหนึ่ง ตัวอักษรซึ่งชักนำงานเขียนไปจนจบเรื่องต่างหากที่จักสำแดงคุณค่า
แต่หากคำถามคือตั้งใจหมายเขียนแนววรรณกรรมเยาวชนสักเรื่อง ก็คงยกคำกล่าวของเหล่านักเขียน 'พึงอ่านเรื่องแนวที่ต้องการเขียน'
หวังข้าพเจ้าได้ชักใบเรือกลับเข้าโค้งอ่าวทิ้งสมอเทียบท่าเป็นที่เรียบร้อย
คำตอบหาได้สำคัญไปกว่าคำถาม การตั้งคำถามเปิดประเด็นพูดคุยนั้นน่าเล่นนัก ได้ระดมสมอง แง่คิด มุมมอง แลกเปลี่ยนความเห็น ฝึกเรียบเรียงความคิด ทั้งหมดล้วนเกิดแต่อานิสงส์ของคำถามซึ่งแน่ล่ะต้องขอขอบคุณท่านผู้ตั้งปุจฉาที่กรุณานำประเด็นมาแหมะให้ได้ครุ่นคิดเรียบเรียงถ้อยคำ
แทบท้าวท่าน
ธุลีดิลล์
Tags: The Note Book
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อา... กระจ่างแจ้งแจ่มภพ!!
ตอบลบขอบพระคุณสำหรับรอยหยักในสมองของข้าพเจ้าที่ท่านขุดให้ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
อย่างที่บอกข้าพเจ้าต้องการเขียนวรรณกรรมเยาวชนสักเรื่อง ก็ถ้าเรื่องนี้ไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนถือว่าความตั้งใจยังไม่ได้เริ่มต้น และมันก็ดันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
ตั้งแต่วันที่เริ่มอักษรตัวแรกในห้องสมุดประชาชนเมื่อวันนั้น(วันที่สาวเสื้อชมพูนั่งน้ำลายยืด) จนถึงวันนี้ ตัวอักษรได้เพิ่มมาหลายตอนแล้ว(แต่ยังไม่เรียบร้อยเลยสักตอน)
และในเมื่อมันไม่เข้าข่ายวรรณกรรมเยาวชน ข้าพเจ้าก็มีสองทางเลือก
1.พักเรื่องนั้นไป แล้วเริ่มอักษรตัวแรกใหม่อีกครั้ง(เพราะถ้าให้แก้ข้าพเจ้าว่าเริ่มใหม่ดูท่าจะง่ายกว่า)
2.ดุ่มเขียนเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ มันจะจัดเข้าประเภทห่าเหวอะไรก็ช่างหัวมัน ส่วนวรรณกรรมเยาวชนที่อยากเขียน...รอไปก่อน
เสียดายที่ข้าพเจ้าไม่ได้เข้าไปขอบคุณสหายที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในสำนัก เพิ่งได้เข้าไปเปิดดูเมื่อตะกี๊นี้เอง
แวะเข้าไปอ่าน "ล่ำลาชั่วคราว" แล้วเจ้าค่ะ จะรอจนถึงกลางเดือนนี้ หวังว่าระหว่างนี้ท่านคงฟื้นฟูร่างกายกลับมาปกติได้ดังเดิม
แทบท้าวท่าน(เช่นกัลล์)
พระพายส์
ระหว่างวรรณกรรมเยาวชนที่อยากเขียน
ตอบลบกับเรื่องของเด็กน้อยวันที่พ่อแม่จากไป
ตอนนี้ท่านพระพายอยากเขียนสิ่งใด
เขียนสิ่งนั้นล่ะค่ะ
เหมือนท่านอยู่หน้าเฟรมผ้าใบ
ภายในใจท่านเรียกร้องให้ร่างภาพนี้ออกมา
ครั้นมีผู้ผ่านทางมาเจอ แล้วบอกท่านว่า...
นี่มันไม่ใช่ภาพแบบอิมเพรสชั่นนิสต์นี่
ท่านจะหยุดมองภาพ แล้วใช้สีอะคริลิคสีขาวมาทาทับภาพที่ท่านวาดไปแล้วกระนั้นหรือ
เป็นข้าเจ้า...ข้าเจ้าเลือกวาดภาพที่ร่างไว้นั่นต่อจนจบ
จากการเขียนหนังสือมันสอนว่า...ถ้ากำลังเขียนได้ จงรีบเขียนมันออกมาเสีย หาไม่เช่นนั้นแล้ว มันก็จะกลายเป็นฝุ่นความคิดที่ติดตามซอกทรงจำเท่านั้นเอง
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ แม่เพลง
ตอบลบหลังจากคิดถี่ถ้วนแล้ว ข้าพเจ้าก็ตั้งใจจะเขียนมันไปเรื่อยๆ เหมือนกัลล์ ได้มาอ่านคำแนะนำจากท่านแล้ว ได้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นโขเลยค่ะ
ด้วยมิตรฯ