จาก : จุดประกายวรรณกรรม เบื้องหลังโต๊ะ บก. พรชัย จัทโศก

มรู้สึกว่าช่วงหลัง ๆ วงการวรรณกรรมขาดบรรยากาศของการวิจารณ์ นอกจากฝึกการเขียนยังฝึกการวิจารณ์ไปด้วย พยายามจะสร้างสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของการวิจารณ์  ความหมายคือว่าเวลาถูกวิจารณ์ก็จะต้องสะกดคำว่ามารยาทผู้ดีให้เป็นในการที่จะไม่พูด มีหน้าที่ฟังอย่างเดียว หรือต่อให้ได้รางวัลซีไรต์ทุกคนช่วยกันวิจารณ์ได้ บรรยากาศเป็นพี่เป็นน้อง  ทำอย่างนี้กันมาเป็นปีแล้ว  อันที่จริงคิดว่าก็ทำกันไป แล้วไม่จำเป็นจะต้องรีบร้อนที่จะบอกกล่าวให้ผู้ใดรับรู้  ก่อนหน้านี้ยังไม่มีชื่อคณะด้วยซ้ำ เพิ่งตั้งขึ้นมาไม่กี่เดือนนี่เอง"


เขายังพูดถึงภาพรวมของเรื่องสั้นทั้ง 9 เรื่องนี้ว่า  "ผมได้อ่านทุกเรื่องและทุกผลงาน ผมพอประเมินได้ว่าถ้าพูดถึงคุณภาพโดยรวมของเล่มนี้ ผมเข้าใจว่าคงอยากจะจงใจ หมายถึงว่าจงใจให้คุณภาพมันดูต่ำกว่าที่เป็นจริง จริง ๆ เรื่องที่เขียน ๆ กันอยู่ หลายเรื่องดีกว่าที่เอามารวม เหตุเพราะอะไร คำถามนี้ผมว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจ คือผมประเมินอย่างนี้ว่าบรรณาธิการน่าจะจงใจที่จะเลือกเรื่องธรรมดา ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีที่สุดของแต่ละคนเอามารวมเพื่อจะได้เห็นว่านี่ขนาดระดับธรรมดา มาตรฐานยังขนาดนี้ ถ้าเลือกเรื่องที่ดีมาล่ะ ผมคิดว่าอธิคมตั้งใจ"

เมื่อกติกาถูกกำหนดไว้ออย่างนั้น ทำให้นักเขียนบางคนอาจต้องมีเผางานกันบ้าง โดยเฉพาะนักเขียนรุ่นพี่ของสมาชิกในกลุ่มอีกคนหนึ่งอย่าง ทินกร หุตางกูร สารภาพแบบขำ ๆ ว่า "ต้องยอมรับว่ามีการเผางานจริง แต่ในที่สุดแล้วมันต้องมีคนวิจารณ์ว่ามันจะผ่านไหม   ถ้าคุณเผาไม่ได้มาตรฐานคุณได้ที่โหล่ไป ตัวนักเขียนแต่ละคนจะต้องวิจารณ์กันตรง ๆ อยู่แล้ว  ตอนแรกบอก บก. ไปว่าแค่สะบัด ๆ แต่ว่าผมแค่พูดเล่นแหละ ไม่ได้เขียนง่ายขนาดนั้น ถามว่าคำวิจารณ์ไหนที่เจ็บปวดที่สุด  มันไม่ค่อยมีหรอก เพราะว่าตนวิจารณ์สติสตังค์ไม่ค่อยมีแล้วล่ะ (ฮา)

แต่ว่ามีความรู้สึกว่ามันดีอย่างหนึ่งคือมันได้คนรุ่นใหม่ ๆ มันมีน้องเยอะแยะมาก แต่ละคนเขียนเรื่องสั้นได้ดีอยู่แล้ว ดีใจที่เห็นน้องเขาตั้งใจทำงานกันจริง ๆ จัง ๆ เลย จะรู้สึกอายตัวเองนิดนึง จริง ๆ ผมตั้งใจนะ แต่ตั้งใจน้อยกว่าน้องเขา  สิ่งหนึ่งที่เห็นคือว่านักเขียนรุ่นใหม่ที่ขึ้นมา รู้สึกได้ถึงความตั้งใจจริง ดีใจมากเลยที่ได้อ่านงานของน้อง ๆ  และได้อ่านงานของพี่เวียงเพราะแกไม่ได้เขียนเรื่องสั้นมานานมากแล้วและเราไปท้าอะไรบางอย่าง  รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ผิดพลาดมาก  เพิ่งคิดได้ว่าไม่น่าไปท้าแกเลย"

ลองมาฟังความรู้สึกจากนักเขียนเรื่องสั้นรุ่นใหม่อย่าง อุเทน วงศ์จันดา เผยว่า "จริง ๆ มันก็เหมือนฝันนะครับ ก่อนหน้านั้นผมไม่ได้รู้จักพี่เวียงมาก่อน แต่ว่าผมอ่านงานของสำนักพิมพ์ของพี่เวียงมาตลอด  พอมีโอกาสได้ส่งเรื่องสั้นไปให้พี่เวียง  พี่เวียงเป็นบรรณาธิการคนแรกที่วิจารณ์เรื่องสั้นผมกลับคืนมา  หลังจากที่ผมเคยส่งเรื่องสึ้นไปหลายที่แล้วก็เงียบหายไป ไม่ได้ตีพิมพ์ แต่ว่าพี่เวียงแม้กระทั่งคำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ประโยคนิด ๆ หน่อย ๆ ก็แก้ไขให้ผม และแนะนำว่าควรจะส่งมาใหม่หรือว่าให้ผ่านเหมือนการซื้อใจกันว่าถ้ามีบรรณาธิการที่ดีอย่างนี้  คนที่เขียนก็มีความฮึกเหิมที่จะเขียนงาน  หลังจาหนั้นพี่เวียงก็ชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่มนี้"

แรก ๆ เรื่องสั้นของเขาได้ที่หนึ่งตลอด (หมายความว่าได้ 1 คะแนน) เรียกว่าอยู่ท้ายตาารางตลอดและตอนนี้กำลังหนีการตกชั้นอยู่ (ฮา) และเมื่อถามถึงเรื่องสั้นเรื่อง 'แม่' ที่ถูกคัดมารวมในเล่มนี้ เขาบอกว่า "ถือว่าตรงใจครับเพราะมันเป็นเรื่องที่ผมชอบอยู่แล้ว หมายถึงว่าผมเขียนจากประสบการณ์จริง จากเรื่องเล่าส่วนหนึ่ง เอามาผสมผสานกัน มองถึงความเป็นแม่ เพื่อน ๆ ในกลุ่มถามว่าทำไมไม่เขียนเแม่ในด้านที่เลวบ้างทำไมต้องเขียนแม่ในแง่ดี ๆ ซึ่งจริง ๆ ผมมองว่าเรื่องสั้นที่ดีไม่จำเป็นต้องเลวครับ หมายถึงว่านักเขียนที่ดีไม่ต้องกินเหล้าก็ได้ ไม่ต้องสูบบุหรี่ก็ได้ หรือว่าไม่ต้องทำตัวเสเพลก็ได้  ไม่ได้อยู่ที่ชิ้นงาน ไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล หรือไม่ได้อยู่ที่การสร้างภาพเหล่านั้น

แรก ๆ ผมคิดว่าส่ง ๆ ไปก่อน พอโดนวิจารณ์กลับมา ผมไม่กล้าส่งเรื่องสั้นมั่ว ๆ ไป เพราะว่ากดดันหนักมาก แต่ละคนวิจารณ์กันแบบถึงพริกึงขิงเลย ทำให้รู้สึกว่าทำไมตัวเองต้องส่งเรื่องอย่างนี้มาด้วย แต่ไม่ถึงขั้นฆ่าตัวตายนะครับ (ฮา)"

ด้านสาวสวยเพียงหนึ่วเดียวอย่าง กันต์ธร อักษรนำ ที่สมาชิกออกจะปลื้มมาก  เธอบอกความรู้สึกว่า "จริง ๆ ตั้งใจกับงานทุกชิ้นเรื่องสั้นค่อนข้างได้รับผลตอบรับที่ดีเพราะอย่างน้อยล่าสุดได้ลงที่ 'ช่อการเกด' รู้สึกว่าการได้รับคำวิจารณ์หรือการที่มีคนอ่านเรื่องเราอย่างตั้งใจรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ดีมาก  เขียนแล้วมีคนตั้งใจอ่าน ตั้งใจวิจารณ์ทำให้เราได้นำกลับมาคิดมากขึ้น"

แน่นอนว่าปกหนังสือเล่มนี้จะต้องทำเอาหลายคนถึงกับตะลึงแกมพรั่นพรึง (ฮา) เพราะนอกจากจะเท่พิลึกพิลั่นแล้วยังออกแนวสุภาพบุรุษเกินเหตุนั้น อธิคม ชี้แจงว่า "การแต่งตัวผูกเนกไทใส่สูททำให้รู้สึกว่าเหมือนก้บ 'คณะสุภาพบุรุษ' ของท่านกุหลาบ สายประดิษฐ์ ลองมาแต่งตัวกันเป็นสุภาพบุรุษกันหน่อยดีไหม แต่ละคนไม่ค่อยมีใครเคยใส่สูท อาจจะเป็นครั้งแรกในชีวิตเลยก็ว่าได้ บางคนไปซื้อมาใหม่ไปถอยมาใหม่เพื่อถ่ายรูปโดยเฉพาะ  นึกถึงคณะสุภาพบุรุษสมัยก่อนแล้วอยากจะเป็นคนสุภาพบ้าง ทั้ง ๆ ที่โดยพื้นฐานนิสัยบางคนอาจจะไม่ค่อยสุภาพ  เลยคิดว่าการใส่สูทอาจทำให้สุภาพได้มากขึ้น

ไอเดียเรื่องทำอะไรให้ชาวบ้านหมั่นไส้มันมาจาก 'ศิริวร' นั่นแหละ เขายุแหย่พวกเราว่าทำอย่างนี้ดีไหม แต่พอยุแหย่เสร็จก็หายตัวปลีกวิเวกไป  อ้างโน่นอ้างนี่ว่าจะต้องไปขัดเกลานิยายเป็นเวลาสองเดือน  พวกเราก็นัดถ่ายรูปกันเจ้าของไอเดียตัดช่องน้อยแต่พอตัวไปอยู่คนเดียว  ไม่อยากจะทิ้งพื่อนเลยเอารูปมาถ่ายเพื่อให้เกิดบทเรียนในทางการรับผิดชอบ..คุณศิริวรยังมีชีวิตอยู่นะครับ พ่อแม่พี่น้องครับ (ฮา)"

หากบรรยากาศการอ่าน การเขียนและการวิจารณ์ของหลาย ๆ กลุ่มเป็นเหมือนเช่น 'คณะพลเมืองเรื่องสั้น' แล้ว รับประกันได้ว่าวงการวรรณกรรมไทยโดยเฉพาะเรืองสั้นน่าจะคึกคักขึ้นอีกมากโข


@อ่านรีวิวของพี่สามกระบี่พลิ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น