From : http://tuktaravin.wordpress.com
นิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ โดย อู่ทอง โฆวินทะ:
นิทเช่ อายุ 17 ปี ค.ศ.1961
นิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ* โดย อู่ทอง โฆวินทะ อาจารย์ประจำสาขาปรัชญา (ตะวันตก) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตำแหน่งในปี พ.ศ.2533)**
ฟรีดริค นิทเช่ (Friedrich Nietzsche 1844-1900) นักปราชญ์เยอรมันที่มีความสำคัญต่อนักคิดยุโรปศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปัจจุบัน ปรัชญาของนิทเช่มีลักษณะท้าทายและพยายามเอาชนะความคิดแบบอภิปรัชญาตะวันตก ที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ Plato ซึ่งนิทเช่มองว่า เป็นกระแสของคววามเสื่อมเสมือนอาการของโรคภัยที่กำลังบั่นทอนสุขภาพ(ทั้งกายและใจ) ของมนุษย์ ซึ่งจำเป็นต้องเยียวยารักษา
ความคิดหลักๆ ของนิทเช่ เช่น Nihilism, Revaluation of all values, The will to power, Overman, Eternal Returns และวิธีการ genealogy ต่างมีผลกระทบต่อกระแสความคิดศตวรรษที่ 20 อาทิเช่น Existentialism, Deconstruction และ Poststructuralism ในแง่ของนักคิดฝรั่งเศสร่วมสมัยนิทเช่เป็นเสมือน “นักปราชญ์ผู้บุกเบิกของนักปราชญ์รุ่นใหม่” แต่ในแง่ของนักปราชญ์เยอรมัน เช่น Martin Heidegger นิทเช่เป็นเสมือนนักอภิปรัชญาคนสุดท้ายที่เบิกทางสู่การอ่าน การคิด การมองแบบใหม่ ดังนั้น ไม่ว่าจะมองในแง่ใด นิทเช่เป็นเสมือนนักคิดผู้เปิดศักราชใหม่ของปรัชญาที่ท้าทายปรัชญาแบบเดิม (Traditional Philosophy)
เมื่อกล่าวถึงนักปราชญ์คนสำคัญของศตวรรษที่ 19 ที่มีอิทธิพลต่อนักคิดนักเขียนในศตวรรษที่ 20 เรามักนึกถึง Mark, Freud และ Nietzsche ในประเทศไทยปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับความคิดของ Marx โดยเฉพาะทฤษฎี Dialectical Materialism ของเขา อย่างน้อยผู้ที่ผ่านขั้นอุดมศึกษาคงจะเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น ปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ และปรัชญาตะวันตก ส่วน Freud นั้น ก็พอมีผู้สนใจติดตามงานของเขาอยู่บ้างประปราย แม้จะไม่ได้เจาะลึกในสาขาวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และในหมู่ผู้สนใจทั่วไป แต่สำหรับ Nietzsche นั้น ถึงแม้ความคิดของเขาจะมีผลกระทบต่อนักคิดยุโรปร่วมสมัยมากมายจากกลุ่ม Existentialism ตลอดถึง Post-structuralism การอ่านหรือการศึกษางานของเขาไม่ว่าจะในระดับใดดูแทบจะไม่ปรากฏ นิทเช่เป็นเพียงชื่อนักปราชญ์เยอรมันที่นักวิชาการบางท่านเพียงแต่เอ่ยถึงควบคู่ไปกับนักคิดร่วมสมัยศตวรรษที่ 20 เช่น Michel Foucault
แต่นั่นมิใช่ของแปลกที่งานของนิทเช่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการศึกษาไทยเพราะแม้ในวงการศึกษาตะวันตก งานของนิทเช่คงมีผู้อ่านอย่างจริงจังก็เพียงในหมู่นักวิชาการวงแคบๆ ส่วนในวงกว้างผลงานของนิทเช่ได้รับการอ่านอย่างผิวเผิน โดยส่วนตัวนิทเช่คงไม่แปลกใจกับปรากฏการณ์นี้ ในผลงานเชิงอัตชีวประวัติของเขา ชื่อ Ecce Homo นิทเช่ ได้กล่าวถึงชะตากรรมของเขาไว้ว่า
“The time for me has not yet come : some are born posthumously”[1] ถ้านิทเช่เป็นหมอก็นับว่าแม่นมาก ในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่นิทเช่อยู่อย่างโดดเดี่ยวทั้งทางด้านความคิดและความเป็นอยู่ น้อยคนที่จะได้สัมผัส รู้จัก และชื่นชอบงานเขียนของเขา งานเขียนที่ปราศจากผู้อ่านก็เหมือนไม่มีตัวตน แต่ทุกครั้งที่มีผู้อ่าน งานชิ้นนั้นก็ถูกชุบชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้ง ในแง่นี้กว่าชีวิตของนิทเช่จะเริ่มต้นจริงๆ ก็เมื่อตัวเขาเองได้ล่วงลับไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ นิทเช่เองตระหนักดีถึงสภาพความจริงนี้ เขารู้ว่าคนร่วมสมัยกับเขาไม่พร้อมที่จะฟัง ไม่มีหูว่าง (จากค่านิยม, ความเชื่อดั้งเดิม) พอที่จะได้ยินและเข้าใจสิ่งที่เขาพูด เปรียบดังแสงของดวงดาวที่ต้องใช้เวลาเดินทางมาสู่โลกมนุษย์ งานเขียนของนิทเช่ก็เช่นกันต้องใช้เวลาในการหยั่งถึง เวลาซึ่ง “คนยุคใหม่” (modern mon)
เมื่อนิทเช่เสียชีวิตใหม่ๆ นั้น งานเขียนของเขาเริ่มได้รับความสนใจในวงแคบๆ เช่นในหมู่ของคนรุ่นใหม่ที่ทึ่งในความคิดที่ท้าทายของนิทเช่แต่ความสนใจดังกล่าวเกิดจากความนิยมอันสืบเนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงที่คนรุ่นหนุ่มสาว เริ่มถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งรอบข้าง เริ่มไม่มั่นใจในคุณค่าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เขายึดถือ ส่วนในวงการศึกษาถึงแม้จะมีผู้อ่านงานของนิทเช่กว้างขวางขึ้น แต่ในช่วงนั้นบรรดานักวิชาการทั่วไปยังคงมองนิทเช่ว่าเป็นกวีหรือนักเขียนที่ชอบวิจารณ์สังคมมิใช่ปราชญ์ ฉะนั้นการอ่านงานของนิทเช่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ยังคงเป็นในเชิงวรรณคดีมากกว่าปรัชญา เพิ่งมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 คือ เมื่อ 60 ปี หลังจากนิทเช่เสียสติที่นิทเช่ กลับได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์ผู้บุกเบิก” โดยเฉพาะในหมู่นักคิด นักเขียนชาวฝรั่งเศส เช่น Pierre Klossowski, Maurice Blanchot, George Bataille, Michel Foucault, Jacques Derrida และ Gille Delcuze นับเป็นการถือกำเนิดครั้งที่สองของนิทเช่ กำเนิดที่รุ่งโรจนฺที่นิทเช่เองไม่เคยได้สัมผัส ด้วยเหตุนี้ ในแวดวงของนักวิชาการหมวดสังคมและมนุษยศาสตร์ นิทเช่กลับกลายเป็นนักคิดที่มีคนนิยมอ้างถึงบ่อยครั้ง แต่นั่นมิได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่มีหู “ว่าง” พอ และพร้อมที่จะเข้าใจสาส์นของนิทเช่
ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณาถึงการอ่านงานนิทเช่ว่าเหตุใดสาส์นของเขาถึงใช้เวลานานใน “การเดินทาง” สู่โสตประสาทของเรา อะไรคืออุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงปรัชญาของ นิทเช่ : ตัวเนื้อหา วิธีเขียน และภาษา หรือการอ่าน
อุปสรรคสำคัญขั้นหนึ่งในการอ่านงานของนิทเช่เห็นจะเป็นตัวเนื้อหาปรัชญาของเขา ซึ่งมีลักษณะ subjective เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เป็นกลาง ผิดจากนักปราชญ์ทั่วไปที่เชื่อว่าสิ่งที่เขาค้นพบเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตายตัวไม่ขึ้นกับตัวบุคคล ในทางตรงกันข้ามนิทเช่มองว่าปรัชญาต้องสัมพันธ์กับชีวิตของนักปราชญ์นั้นๆ อย่างแยกไม่ออก ความจริงของเขาคือประสบการณ์ส่วนตัวที่เขาสัมผัสด้วยเลือดเนื้อของเขาเอง ซึ่งผูกพันกับค่านิยม (values) ความรู้สึกนึกคิด และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเขา ปรัชญาของนิทเช่มิใช่เป็นเพียงทฤษฎีที่คิดค้นทางวิชาการ แต่คือชีวิตคือความเจ็บปวดและความยินดีที่เขาได้รับ นิทเช่มักแยกตัวเองออกจาก กรรมกรทางปรัชญา (philosophical labourers) ผู้ใช้ชีวิตต่างจากสิ่งที่เขาพูดและคิดทางวิชาการ ฉะนั้นในสายตาของนิทเช่ปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ต้องมีลักษณะไม่ต่างจากคำสารภาพหรือบันทึกส่วนตัวของผู้เขียน พูดอีกนัยหนึ่ง ผลงานของเขาเป็นประหนึ่งอัตชีวประวัติที่บอกเราว่าเขาคือใคร
“Gradually it has become clear to me what every great philosophy so far has been: namely, the personal confession of its author and a kind of involuntary and unconscious memoir; also that the moral (or immoral) intentions in every philosophy constituted the real germ of life from which the whole plant had grown.”[2]
สำหรับนิทเช่ไม่มีความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้ค่าสิ่งต่างๆ (Valuation) เมื่อเรากล่าวว่าสิ่งที่เป็นสัจธรรมควรปฏิบัติ สิ่งนั้นเป็นภาพลวงไม่ควรไปยึดถือ นั่นคือเรากำลังให้ค่าสิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง ฉะนั้นความคิดทุกความคิดต่างเป็นการตีความ(interpretation) การให้ค่าจากแง่มุมหนึ่งสมมุติฐานหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ความคิดทุกความคิดสัมพันธ์กับค่านิยม(Values) และศีลธรรมของผู้คิด มนุษย์อยู่ไม่ได้โดยปราศจากการให้ความหมายหรือให้ค่าสิ่งต่างๆ
นิทเช่รู้ตัวดีว่าเขามิได้เขียนหนังสือสำหรับทุกคนแต่เฉพาะคนบางคนเท่านั้น คนที่ได้ประสบได้สัมผัสความเจ็บปวดและความยินดีที่เขาได้สัมผัส
“What one has no access to through experience one has no ear for” [3]
เพราะสิ่งที่เขาเขียนนั้นเขียนออกมาจากประสบการณ์ จากความรู้สึก นิทเช่เน้นว่าเขาเขียนด้วยเลือดด้วยชีวิต มิใช่ด้วยเหตุผลฝ่ายเดียวดังที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่อ้าง ในจดหมายส่วนตัวถึงเพื่อนนิทเช่พูดถึง Thus Spoke Zarathustra, ผลงานชิ้นสำคัญของเขาว่าเป็น “expression of my inner experience” แม้ในชื่อรอง (subtitle) ของหนังสือเล่มนี้ซึ่งเขาให้ชื่อว่า The book for All and None ก็บอกชัดถึงความเป็นหนึ่ง Zarathustra เป็นหนังสือที่บรรจงแต่งขึ้นมาสำหรับทุกผู้ทุกนาม เพราะเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์สามัญคนหนึ่งในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ผู้หนึ่งเราก็น่าจะเข้าใจได้ แต่ในอีกแง่หนึ่ง Zarathustra มิใช่หนังสือสำหรับผู้ใดเลย เพราะเป็นผลงานที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของนิทเช่ ซึ่งยากที่ผู้อื่นจะเข้าถึงเนื่องจาก “การที่จะเข้าใจเลือดเนื้อของผู้อื่นนั้นมิใช่ของง่าย” (“It is not easy to understand the blood of another”, Zarathustra, “On reading and Writing”) นอกจากผู้อ่านเองได้สัมผัสในสิ่งที่นิทเช่ประสบมา นี้คือประเด็นที่ทำให้การอ่านงานของลำบาก นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อ George Bataille ถึงกับกล่าวว่าถ้าจะเข้าใจงานเขียนของนิทเช่ผู้อ่านต้องกลายเป็นนิทเช่ (To understand Nietzsche one has to become Nietzsche) ต้องสวมจิตวิญญาณของเขามิฉะนั้นแล้วจะเป็นการยากที่จะเข้าใจความคิดของเขา…
มีต่อ
นิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ โดย อู่ทอง โฆวินทะ:
นิทเช่ อายุ 17 ปี ค.ศ.1961
นิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ* โดย อู่ทอง โฆวินทะ อาจารย์ประจำสาขาปรัชญา (ตะวันตก) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตำแหน่งในปี พ.ศ.2533)**
ฟรีดริค นิทเช่ (Friedrich Nietzsche 1844-1900) นักปราชญ์เยอรมันที่มีความสำคัญต่อนักคิดยุโรปศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปัจจุบัน ปรัชญาของนิทเช่มีลักษณะท้าทายและพยายามเอาชนะความคิดแบบอภิปรัชญาตะวันตก ที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ Plato ซึ่งนิทเช่มองว่า เป็นกระแสของคววามเสื่อมเสมือนอาการของโรคภัยที่กำลังบั่นทอนสุขภาพ(ทั้งกายและใจ) ของมนุษย์ ซึ่งจำเป็นต้องเยียวยารักษา
ความคิดหลักๆ ของนิทเช่ เช่น Nihilism, Revaluation of all values, The will to power, Overman, Eternal Returns และวิธีการ genealogy ต่างมีผลกระทบต่อกระแสความคิดศตวรรษที่ 20 อาทิเช่น Existentialism, Deconstruction และ Poststructuralism ในแง่ของนักคิดฝรั่งเศสร่วมสมัยนิทเช่เป็นเสมือน “นักปราชญ์ผู้บุกเบิกของนักปราชญ์รุ่นใหม่” แต่ในแง่ของนักปราชญ์เยอรมัน เช่น Martin Heidegger นิทเช่เป็นเสมือนนักอภิปรัชญาคนสุดท้ายที่เบิกทางสู่การอ่าน การคิด การมองแบบใหม่ ดังนั้น ไม่ว่าจะมองในแง่ใด นิทเช่เป็นเสมือนนักคิดผู้เปิดศักราชใหม่ของปรัชญาที่ท้าทายปรัชญาแบบเดิม (Traditional Philosophy)
เมื่อกล่าวถึงนักปราชญ์คนสำคัญของศตวรรษที่ 19 ที่มีอิทธิพลต่อนักคิดนักเขียนในศตวรรษที่ 20 เรามักนึกถึง Mark, Freud และ Nietzsche ในประเทศไทยปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับความคิดของ Marx โดยเฉพาะทฤษฎี Dialectical Materialism ของเขา อย่างน้อยผู้ที่ผ่านขั้นอุดมศึกษาคงจะเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น ปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ และปรัชญาตะวันตก ส่วน Freud นั้น ก็พอมีผู้สนใจติดตามงานของเขาอยู่บ้างประปราย แม้จะไม่ได้เจาะลึกในสาขาวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และในหมู่ผู้สนใจทั่วไป แต่สำหรับ Nietzsche นั้น ถึงแม้ความคิดของเขาจะมีผลกระทบต่อนักคิดยุโรปร่วมสมัยมากมายจากกลุ่ม Existentialism ตลอดถึง Post-structuralism การอ่านหรือการศึกษางานของเขาไม่ว่าจะในระดับใดดูแทบจะไม่ปรากฏ นิทเช่เป็นเพียงชื่อนักปราชญ์เยอรมันที่นักวิชาการบางท่านเพียงแต่เอ่ยถึงควบคู่ไปกับนักคิดร่วมสมัยศตวรรษที่ 20 เช่น Michel Foucault
แต่นั่นมิใช่ของแปลกที่งานของนิทเช่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการศึกษาไทยเพราะแม้ในวงการศึกษาตะวันตก งานของนิทเช่คงมีผู้อ่านอย่างจริงจังก็เพียงในหมู่นักวิชาการวงแคบๆ ส่วนในวงกว้างผลงานของนิทเช่ได้รับการอ่านอย่างผิวเผิน โดยส่วนตัวนิทเช่คงไม่แปลกใจกับปรากฏการณ์นี้ ในผลงานเชิงอัตชีวประวัติของเขา ชื่อ Ecce Homo นิทเช่ ได้กล่าวถึงชะตากรรมของเขาไว้ว่า
“The time for me has not yet come : some are born posthumously”[1] ถ้านิทเช่เป็นหมอก็นับว่าแม่นมาก ในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่นิทเช่อยู่อย่างโดดเดี่ยวทั้งทางด้านความคิดและความเป็นอยู่ น้อยคนที่จะได้สัมผัส รู้จัก และชื่นชอบงานเขียนของเขา งานเขียนที่ปราศจากผู้อ่านก็เหมือนไม่มีตัวตน แต่ทุกครั้งที่มีผู้อ่าน งานชิ้นนั้นก็ถูกชุบชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้ง ในแง่นี้กว่าชีวิตของนิทเช่จะเริ่มต้นจริงๆ ก็เมื่อตัวเขาเองได้ล่วงลับไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ นิทเช่เองตระหนักดีถึงสภาพความจริงนี้ เขารู้ว่าคนร่วมสมัยกับเขาไม่พร้อมที่จะฟัง ไม่มีหูว่าง (จากค่านิยม, ความเชื่อดั้งเดิม) พอที่จะได้ยินและเข้าใจสิ่งที่เขาพูด เปรียบดังแสงของดวงดาวที่ต้องใช้เวลาเดินทางมาสู่โลกมนุษย์ งานเขียนของนิทเช่ก็เช่นกันต้องใช้เวลาในการหยั่งถึง เวลาซึ่ง “คนยุคใหม่” (modern mon)
เมื่อนิทเช่เสียชีวิตใหม่ๆ นั้น งานเขียนของเขาเริ่มได้รับความสนใจในวงแคบๆ เช่นในหมู่ของคนรุ่นใหม่ที่ทึ่งในความคิดที่ท้าทายของนิทเช่แต่ความสนใจดังกล่าวเกิดจากความนิยมอันสืบเนื่องจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงที่คนรุ่นหนุ่มสาว เริ่มถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งรอบข้าง เริ่มไม่มั่นใจในคุณค่าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เขายึดถือ ส่วนในวงการศึกษาถึงแม้จะมีผู้อ่านงานของนิทเช่กว้างขวางขึ้น แต่ในช่วงนั้นบรรดานักวิชาการทั่วไปยังคงมองนิทเช่ว่าเป็นกวีหรือนักเขียนที่ชอบวิจารณ์สังคมมิใช่ปราชญ์ ฉะนั้นการอ่านงานของนิทเช่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ยังคงเป็นในเชิงวรรณคดีมากกว่าปรัชญา เพิ่งมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 คือ เมื่อ 60 ปี หลังจากนิทเช่เสียสติที่นิทเช่ กลับได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์ผู้บุกเบิก” โดยเฉพาะในหมู่นักคิด นักเขียนชาวฝรั่งเศส เช่น Pierre Klossowski, Maurice Blanchot, George Bataille, Michel Foucault, Jacques Derrida และ Gille Delcuze นับเป็นการถือกำเนิดครั้งที่สองของนิทเช่ กำเนิดที่รุ่งโรจนฺที่นิทเช่เองไม่เคยได้สัมผัส ด้วยเหตุนี้ ในแวดวงของนักวิชาการหมวดสังคมและมนุษยศาสตร์ นิทเช่กลับกลายเป็นนักคิดที่มีคนนิยมอ้างถึงบ่อยครั้ง แต่นั่นมิได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่มีหู “ว่าง” พอ และพร้อมที่จะเข้าใจสาส์นของนิทเช่
ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณาถึงการอ่านงานนิทเช่ว่าเหตุใดสาส์นของเขาถึงใช้เวลานานใน “การเดินทาง” สู่โสตประสาทของเรา อะไรคืออุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงปรัชญาของ นิทเช่ : ตัวเนื้อหา วิธีเขียน และภาษา หรือการอ่าน
อุปสรรคสำคัญขั้นหนึ่งในการอ่านงานของนิทเช่เห็นจะเป็นตัวเนื้อหาปรัชญาของเขา ซึ่งมีลักษณะ subjective เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เป็นกลาง ผิดจากนักปราชญ์ทั่วไปที่เชื่อว่าสิ่งที่เขาค้นพบเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตายตัวไม่ขึ้นกับตัวบุคคล ในทางตรงกันข้ามนิทเช่มองว่าปรัชญาต้องสัมพันธ์กับชีวิตของนักปราชญ์นั้นๆ อย่างแยกไม่ออก ความจริงของเขาคือประสบการณ์ส่วนตัวที่เขาสัมผัสด้วยเลือดเนื้อของเขาเอง ซึ่งผูกพันกับค่านิยม (values) ความรู้สึกนึกคิด และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเขา ปรัชญาของนิทเช่มิใช่เป็นเพียงทฤษฎีที่คิดค้นทางวิชาการ แต่คือชีวิตคือความเจ็บปวดและความยินดีที่เขาได้รับ นิทเช่มักแยกตัวเองออกจาก กรรมกรทางปรัชญา (philosophical labourers) ผู้ใช้ชีวิตต่างจากสิ่งที่เขาพูดและคิดทางวิชาการ ฉะนั้นในสายตาของนิทเช่ปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ต้องมีลักษณะไม่ต่างจากคำสารภาพหรือบันทึกส่วนตัวของผู้เขียน พูดอีกนัยหนึ่ง ผลงานของเขาเป็นประหนึ่งอัตชีวประวัติที่บอกเราว่าเขาคือใคร
“Gradually it has become clear to me what every great philosophy so far has been: namely, the personal confession of its author and a kind of involuntary and unconscious memoir; also that the moral (or immoral) intentions in every philosophy constituted the real germ of life from which the whole plant had grown.”[2]
สำหรับนิทเช่ไม่มีความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้ค่าสิ่งต่างๆ (Valuation) เมื่อเรากล่าวว่าสิ่งที่เป็นสัจธรรมควรปฏิบัติ สิ่งนั้นเป็นภาพลวงไม่ควรไปยึดถือ นั่นคือเรากำลังให้ค่าสิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง ฉะนั้นความคิดทุกความคิดต่างเป็นการตีความ(interpretation) การให้ค่าจากแง่มุมหนึ่งสมมุติฐานหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ความคิดทุกความคิดสัมพันธ์กับค่านิยม(Values) และศีลธรรมของผู้คิด มนุษย์อยู่ไม่ได้โดยปราศจากการให้ความหมายหรือให้ค่าสิ่งต่างๆ
นิทเช่รู้ตัวดีว่าเขามิได้เขียนหนังสือสำหรับทุกคนแต่เฉพาะคนบางคนเท่านั้น คนที่ได้ประสบได้สัมผัสความเจ็บปวดและความยินดีที่เขาได้สัมผัส
“What one has no access to through experience one has no ear for” [3]
เพราะสิ่งที่เขาเขียนนั้นเขียนออกมาจากประสบการณ์ จากความรู้สึก นิทเช่เน้นว่าเขาเขียนด้วยเลือดด้วยชีวิต มิใช่ด้วยเหตุผลฝ่ายเดียวดังที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่อ้าง ในจดหมายส่วนตัวถึงเพื่อนนิทเช่พูดถึง Thus Spoke Zarathustra, ผลงานชิ้นสำคัญของเขาว่าเป็น “expression of my inner experience” แม้ในชื่อรอง (subtitle) ของหนังสือเล่มนี้ซึ่งเขาให้ชื่อว่า The book for All and None ก็บอกชัดถึงความเป็นหนึ่ง Zarathustra เป็นหนังสือที่บรรจงแต่งขึ้นมาสำหรับทุกผู้ทุกนาม เพราะเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์สามัญคนหนึ่งในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ผู้หนึ่งเราก็น่าจะเข้าใจได้ แต่ในอีกแง่หนึ่ง Zarathustra มิใช่หนังสือสำหรับผู้ใดเลย เพราะเป็นผลงานที่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวของนิทเช่ ซึ่งยากที่ผู้อื่นจะเข้าถึงเนื่องจาก “การที่จะเข้าใจเลือดเนื้อของผู้อื่นนั้นมิใช่ของง่าย” (“It is not easy to understand the blood of another”, Zarathustra, “On reading and Writing”) นอกจากผู้อ่านเองได้สัมผัสในสิ่งที่นิทเช่ประสบมา นี้คือประเด็นที่ทำให้การอ่านงานของลำบาก นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อ George Bataille ถึงกับกล่าวว่าถ้าจะเข้าใจงานเขียนของนิทเช่ผู้อ่านต้องกลายเป็นนิทเช่ (To understand Nietzsche one has to become Nietzsche) ต้องสวมจิตวิญญาณของเขามิฉะนั้นแล้วจะเป็นการยากที่จะเข้าใจความคิดของเขา…
มีต่อ
[1]Nietzsche, Friedrich. Ecce Homo.
[2] Nietzsche, Friedrich. Beyond Good and Evil, Section 6.
[3] Ecce Homo, “Why I Write Such Great Books,” I.
*บทความนิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ โดย อู่ทอง โฆวินทะ จุลสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533
**อาจารย์อู่ทอง เกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อู่ทอง โฆวินทะ ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2551
เครดิตภาพ : http://www.theglobalfczone.com/images/Nietzsche-young-mason.jpg
เนื้อหาเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการ ค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
*บทความนิทเช่ : การอ่านคืองานศิลปะ โดย อู่ทอง โฆวินทะ จุลสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2533
**อาจารย์อู่ทอง เกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อู่ทอง โฆวินทะ ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2551
เครดิตภาพ : http://www.theglobalfczone.com/images/Nietzsche-young-mason.jpg
เนื้อหาเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการ ค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
Tags: Editor's Picks
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น