เช้านี้ข้าพเจ้าขอทำตัวเป็นนักโพสท์ในตระกูล 'Post Modern' เสียหน่อย  โดยการจิ้มอักษรตนแต่พอกล้อมแกล้ม แล้วอาศัยงานงาม ๆ สอดไส้..ใส่มาทั้งกระบิ ดูแล้วเพิ่มสง่าราศีไม่เบา..

สหายพี่สามห่างหายไปนาน  ครั้นพอมีเวลายังอุตสาหะรื้อค้นข้อมูลใส่ชะลอมมากำนัลเป็นผลไม้อักษรอุดมด้วยเบต้าสาม เพิ่มริ้วรอยหยักให้กองขี้เลื่อยในกะโหลกกลวง ๆ ของผู้น้อย..อืมม์..ไม่เบา..

เราคุยกันด้วยเรื่องของคำ 'ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว'

เชิญทักศนาขอรับ

space1.jpg

--

ความเป็นมาของศิลปะไทย

ไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว
เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800
พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม
--

ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ.440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน
ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์
และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี
ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์

--

ศิลปะ มาจากคำว่า สิปปะ ในภาษบาลีมีคำหมายกว้างๆ
เช่น การมีผีมือยอดเยี่ยม การแสดงออกทางความคิดและความชำนาญของมนุษย์ การสร้างสรรค์ความงาม

--

ลักษณะทั่วไปของศิลปะตะวันออก
โดยทั่วไปแล้วมักจะลงความเห็นกันว่า ศิลปะตะวันออกเป็นศิลปะอุดมคติ อันเป็นศิลปะที่มิได้ยึดถือเอาความจริงตามธรรมชาติเป็นหลักจนเกินไป
หรือทำเหมือนธรรมชาติทุกกระเบียดนิ้ว และแม้ว่าจะใช้ลักษณะรูปแบบของธรรมชาติเป็นพื้นฐาน
แต่ก็มิได้เน้นจนเกิดความสำคัญเท่ากับลักษณะรูปแบบที่สร้างสรรค์โดยจินตนาการ เพราะฉะนั้นเมื่อสร้างสรรค์รูปที่ประสงค์จะเอาไว้สักการบูชา
จึงพยายามถ่ายทอดแนวคิดออกมาให้มีลักษณะที่สูงกว่าธรรมชาติ สังเกตได้จากพระพุทธรูป ซึ่งมีส่วนประกอบพระวรกาย เช่นเดียวกับมนุษย์
แต่ก็มิได้คล้อยตามลักษณะอันแท้จริงของมนุษย์ตามธรรมชาติ
--
คราวหนึ่ง ฉันเคยถามเอากับ ‘สิงห์สนามหลวง’ หรือ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ให้ช่วยท่านไขให้ฟัง ในฐานะที่ท่านเป็นผู้รอบรู้ และมีคนยกให้ท่านเป็นเอ็นไซโคพีเดียทางด้านวรรณกรรม แม้ว่าท่านจะเพิ่งแบ่งใจจากงานด้านวรรณกรรมมาให้กับงานด้านทัศนศิลป์ได้ไม่นานก็ตามที “ผมเคยอ่านมาจากอาจารย์เจตนา ท่านบอกว่า ไอ้คำว่าชีวิตสั้น ศิลปะยาว ความหมายที่ศิลปินแต่ก่อนรับรู้ก็คล้ายกับว่า ต้องเร่งทำงานศิลปะ เพราะว่าชีวิตคนเรามันสั้น แต่ชิ้นงานจะอยู่ต่อไป หลังจากที่เราตายไปแล้ว  ท่านไปอ่านมาจากไหนก็ไม่ทราบ ท่านบอกว่ามันเป็นคำกรีก หรือคำลาตินไม่ทราบ”
--
*หมายเหตุ. ข้างบนนี้เป็นอะไรที่ค้นไปเรื่อยขอรับ *
...
สวัสดียามเย็นขอรับ รับกาแฟร้อนๆสักถ้วยเป็นไรกัน
ข้าพเจ้าโดนไปอยู่ในพื้นที่ๆสายใยแก้วเข้าไปไม่ถึงเป็นเวลานาน
ไม่ทราบว่าชาวบ้านโครงข่ายใยแก้วเขาเคลื่อนไหวเป็นอย่างไรบ้าง
กลับมาเปิดกล่องจดหมายที่ อ่า.. อ่า อา.. แม่เจ้า
ครั้งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าเช็คเมล์ก็รับทราบแล้วว่า ตะรีมครานี้เกี่ยวกับท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ว่ากัลล์ซื่อๆข้าพเจ้าก็ไม่ค่อยรู้เรื่องกับเขาหรอกขอรับว่าท่านทำอะไรไว้บ้าง
เปิดกรุหนังสือมีเล่มไหนที่มันมีคำว่าศิลปะก็วักมาปัดฝุ่นโลด (แหะๆ)
ส่วนประโยคทองของท่าน อาจารย์ศิลป์ พีระศรี  ที่ว่า "ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว"
ก็เพิ่งมาทราบที่มาก็ไอ้วันนี้ละครับ ขอบคุณท่านพลีนหลายๆ
ส่วนการตีความจะผิดเพี้ยนยังไงนั้นข้าพเจ้าไม่มีความเห็นแหะ(ครับ)
คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักตีความทำงานกันต่อไปดีกว่า(เนอะ!!ท่านว่ามะ)
ว่าแล้วไหนๆก็ได้เข้าเนตซะที(ในรอบสัปดาห์) ข้าพเจ้าก็เลยลองค้นคำไปเรื่อย เผื่อจะเจออะไรๆเกี่ยวกับศิลปะที่เราไม่เคยนึกถึง
ก็ไม่มีอะไรมากหรอกขอรับ เจออะไรน่าสนใจก็เอามาฝากกันเท่านั้นเอง
เจอเรื่องราวที่น่าหยิบยกมาเป็นประเด็นเกี่ยวกับศิลปะหลายเรื่องเหมือนกัน ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ ในด้านของอนาคตข้างหน้า
และแง่มุมของคำว่า "ศีลปะ"ที่มีด้านให้มองมากกว่าแผ่นผ้าใบและแท่นวางปฏิมากรรม
พบคำนิยามที่บุคคลต่างในอดีตและปัจจุบันได้ให้ความหมายกับคำๆนี้มากมาย
ต่างคนก็มีมุมที่มองแตกต่างกันไป และส่วนใหญเป็นมุมมองในด้านดี เห็นจะมีแต่ของท่านป้าปา นี่ละครับที่อ่านแล้วสะดุดกึก
--
Friday, October 27, 2006 - วาทะเฮมมิงเวย์
ศิลปะทุกแขนงถูกสร้างขึ้นมาโดยปัจเจกบุคคลเท่านั้น ความเป็นปัจเจกภาพเป็นสิ่งเดียวที่ท่านต้องการ
ไอ้สกุลศิลปะน่ะเขามีไว้เพื่อแยกแยะว่า ไอ้คนไหนบ้างในแนวทางศิลปะสกุลใดบ้างที่มันเป็นผู้ล้มเหลว
--
ข้าพเจ้าทำศิลปะด้วยใจรักเลื่อมใสและจริงใจ มิได้ทำไปเพราะใยแห่งอามิส
ข้าพเจ้าทำศิลปะเพื่อศึกษาค้นหาความจริงในความหมายอันเล้นลับอยู่ภายใต้สภาวะแห่งธรรม
ผลงานอันเกิดจากกำลังกายกำลังความคิดและกำลังของข้าพเจ้า ขอน้อมอุทิศให้กับท่านอาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
-เฟื้อ หริพิทักษ์-
--
"สำหรับข้าพเจ้า ศิลปะหาใช่ความบันเทิงเริงรมย์ส่วนตัวไม่
แต่ศิลปะเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะก่อความสะเทือนอารมณ์ แก่ผู้คนในวงกว้างมากที่สุดทั้งนี้โดยการเสนอภาพชีวิตร่วมทุกแง่มุม
ทั้งด้านที่แสดงความทุกข์ยากเจ็บปวด และ ความปิติเบิกบานของมนุษย์..."
-อัลแบร์ กามู-
--
นับตั้งแต่ยุคพุทธกาลมาเลย จนกระทั่งเดี้ยวนี้วรรณกรรมหรือศิลปกรรมก็ตาม ล้วนแต่มุ่งหมายความงามที่บริสุทธิ์
วรรณกรรมก็มุ่งหมายความงามของทางวรรณคดี สามารถที่จะจับจิตใจของคนให้ลืมความเห็นแก่ตัวได้อย่างน้อยก็ชั่วขณะหนึ่ง;
ศิลปก็เหมือนกัน ความงามนั้นมุ่งหมายจะให้จับใจคน จนถึงกับลืมความเห็นแก่ตัวตนเสียได้ จูงใจบุคคลไปได้
ไปในทางที่จะให้สูงขึ้น ถ้าสูงขึ้นก็หมายความว่าไม่เห็นแก่ตัว คือละ selfishness (ความเห็นแก่ตัว) เสียได้ตามควร
-ท่านพุทธทาส-
--
นึกๆตามดูแล้ว งานศิลปะที่คนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงได้ ทั้งในทางกายภาพและการรับรู้ทางความรู้สึก
ชิ้นงานหรือผลผลิตนั้นยังเรียกได้ว่าเป็นงานศิลปะหรือไม่ (ถึงแม้จะอ้างว่ามาจากจิตวิญญาณก็ตามเถอะ)
คนบางคนทุ่มเงินมากมายซื้องานศิลปเป็นล้านๆ โดยไม่สนใจด้วยซ้ำว่าผู้สร้างงานต้องการสื่ออะไร
หากแต่อีกมุมหนึ่งของบางคนแย้มยิ้มมีความสุขกับกระดาษแผ่นเล็กๆที่ลูกสาวเพียงเขียนรูปด้วยสีเทียน
จรดตัวอักษรขยุกขยิกที่ด้านล่างว่า"ครอบครัวของฉัน"
ว่าแล้วก็นะ ..
ศิลปะในความคิดของท่านทั้งหลายเป็นอย่างไรบ้างขอรับ
..

[...]

ปิดท้ายได้คายคมสมเป็นสหายพี่สาม ส่วน post Modern กำมะลออย่างข้าพเจ้าหากจะให้ดูดีก็ต้องกลับมาปิดท้ายด้วย (จะได้ดูเป็นงานเป็นการสักหน่อย) แต่ต้องหาบทสรุปที่เฉียบเนียนไม่เช่นนั้นจะถูกเหล่าท่านจับได้ว่าข้าพเจ้าอู้ไม่มีอะไรจะเขียน..เอ่...อะไรดีล่ะ...เอาเป็นตอบปุจฉาสหายพี่สามก็แล้วกัลล์...

ศิลปะในความคิดของข้าพเจ้าน่ะหรือ...อือออ...อ่า...เอ่อ...อ้อ...........เอ้อ!

เป็นไงเนียนไหม? 

 k r a t o m t u l e e Din : My Writing Life,

2 ความคิดเห็น:

  1. เพลงลาวดำเนินทรายใช่ไม๊คะ

    เพราะ ๆ

    อยากได้มั่งจัง

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณที่แวะทักทายขอรับท่าน Pen
    ไม่ทราบปะขนำซอมซ่อได้อย่างไรขอรับ ?

    คารวะ

    ตอบลบ