จาก : On Writing : Stephen King
แปลโดย : นพดล เวชสวัสดิ์

การเล่าเรื่องเขียนนิยายชั้นดี จะเป็นการปลดปล่อยความกลัวและความหลงใหลได้ปลื้มทิ้งไป ความหลงใหลได้ปลื้มจะเป็นการพิพากษาลงความเห็นเป็นปฐมก่อนว่าเป็นเรื่อง ‘ดี’ หรือ ‘เลว’ งานเขียนชั้นดีจะจำกัดความอยู่แต่เพียงการลงความเห็นคัดเลือกดีที่สุด ในการหยิบเครื่องมือที่เหมาะสมจากกล่องมาใช้งาน

ไม่มีนักเขียนคนใดหลบรอดจากบาปผิดเรื่องนี้ไปได้ แม้วิลเลียม สตรังก์ จะแผ่อิทธิพลครอบงำ อี.บี. ไวต์ ในยามที่ไวต์ยังเป็นนักศึกษาคอร์เนลล์ ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ (ส่งมาเลย ส่งมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ๆ ตกมาอยู่ในเงื้อมมือของข้าฯ ไม่มีทางรอด จะต้องเป็นทาสข้าฯ ไปชั่วนิรันดร์ เหอ เหอ เหอ)  แม้ว่าไวต์จะเข้าใจและสนองรับอคติของสตรังค์ได้อย่างเต็มที่ ในการเขียนหละหลวมและขาดไร้ประเด็นความคิดแน่ชัด  ไวต์ยอมรับว่า “ผมคิดว่าผมนำวลี the fact that มาใช้นับพันครั้งในการเขียนเรียงความ ตอนตรวจแก้ ตัดทิ้งไปได้สัก 500 จุด สถิติการตีลูกได้เพียงแค่ .500 ปลายฤดูกาลแข่งขัน ล้มเหลวไปกว่าครึ่ง จากการขว้างลูกอ้วน ๆ แบบนี้ ทำให้ผมเศร้าใจยิ่ง...”  แม้กระนั้น ไวต์ก็ยังเขียนหนังสือต่อไปได้อีกหลายปี  หลังจากร่วมมือกับสตรังก์ออกหนังสือ ‘มารยาทเล่มน้อย (ในการเขียน)’ ในปี 1957

ผมเองก็คงเขียนหนังสือต่อไป แม้จะหว่านโปรยข้อผิดพลาด เช่น

‘You can’t be serious,’ Bill said unbelievingly.

คุณเองก็คงผิดพลาดได้ไม่น้อยเช่นกัน นี่คือ แก่นการเขียนภาษาอังกฤษสไตล์อเมริกัน  แม้แก่นเรื่องนี้จะลื่นไถล ยากจะคว้ากุมไว้ให้มั่น ผมขอฝากคุณไว้  ทำต่อไปให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระลึกเสมอว่า การเขียนโดยใช้วิเศษณ์เป็นฝีมือมนุษย์ ส่วนตัดทอนให้เหลือเพียง he said, she said เป็นฝีมือของเหล่าเทวะ

OOO
(ครั้งหน้าเรามาคุยกันเรื่อง..ย่อหน้า-ธุลีดิน)

“ทำงานด้านศิลปะมาราวสามสิบปี ผมยัง stand ยัน sit ยัน ว่า งานดีมักเรียบง่ายเสมอครับ”
                                                         วินทร์ เลียววาริณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น