6 ปีที่แล้ว วินทร์ เลียววาริณ พาผมสนุกสนานไปกับ 
ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล 
เป็นหนังสือชวนคิด ที่อ่านแล้วรักการคิดไปได้ง่ายๆ 

ผู้เขียนเปรียบ คนเป็นปลา และโลกนี้ก็คือสนามฟุตบอลที่เรามาว่ายเล่น
ในความเป็นจริงแล้ว คนเราก็เป็นปลาจริงๆ นั่นแหละ 
จากหลักฐานมากมายทางวิทยาศาสตร์ ซากฟอสซิลต่างๆ ทฤษฏีวิวัฒนาการ 
บ่งชี้ว่า คนเรานั้นมีต้นกำเินิดมาจากปลา หรือหากจะย้อนไปไกลกว่านั้น
ไม่ว่าจะพืช หรือสัตว์ (บก น้ำ ปีก) ล้วนแต่เริ่มต้นมาจาก สัตว์เซลล์เดียว
หรือจะไกลไปอีก เราล้วนเริ่มต้นมาจากธาตุต่างๆ นั่นเอง

มาครั้งนี้ ผู้เขียนพาเราออกนอก สนามฟุตบอล 
มองออกไปไกลขึ้น (เรื่องของจักรวาล, ผู้สร้างจักรวาล) 
ในขณะเดียวกันก็มองตัวเองให้ลึกขึ้น (เรื่องของชีวิต และจิต)
ตอบคำถามเรื่องราวต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์ 
นั่นคือมีหลักฐาน พิสูจน์ได้ 

กำเนิดจักรวาลเป็นอย่างไร แล้วมันจะเป็นยังไงต่อไป 
เวลาเริ่มต้นที่ไหน 
ชีิวิตกำเนิดขึ้นจากอะไร 
ตายแล้วไปไหน กรรมเก่ามีจริงหรือ?
มีอะไรเหมือนเราบนท้องฟ้าที่กว้างใหญ่หรือเปล่า?
มีผู้สร้างหรือเปล่า? 
แล้วถ้ามีแล้วใครสร้างผู้สร้าง? 
ระหว่างที่ปลา(อย่างผม)ท่องไปในทะเลความคิดจากหนังสือเล่มนี้
ก็อดขำตัวเองไม่ได้ว่า เืกือบทุกคำถาม ผมเคยถามตัวเองอยู่เหมือนกัน
ถามตัวเองตั้งแต่สมัยเรียนประถม !!

ขำเพราะว่า ไม่น่าเชื่อว่าเด็กตัวกระเปี๊ยกตอนนั้น
ทำไมถึงไปนั่งคิดว่า จักรวาลมันใหญ่แค่ไหน มันมีอะไรอยู่บ้าง
แล้วมันเกิดมาได้ไง ซึ่งพอคิดว่าเกิดมาได้ไงนี่ก็จะงงมากว่า
เฮ้ย หรือจะมีคนสร้างจริงอ่ะ แล้วใครสร้างคนสร้างล่ะ 
เอ.. หรือเราจะเล่นละครอยู่ มีคนสร้างมา (คิดไปได้ปานนั้น) 

พอโตสักหน่อยเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ รู้เรื่องอะตอมว่าเป็นสิ่งที่เล็กที่สุด
ต่อมาก็มี นิวตรอน อิเล็กตรอน โปรตอน 
เฮ้ย...แล้วยังไงอ่ะ มันก็ต้องมีอะไรที่เล็กกว่านั้นอีกสิ 
(จนตอนนี้เขาไปถึง ควาร์ก ที่มีอยู่ 6 ประเภท up down ฯลฯ 
และยังมี อนุภาคสปินอีกนะ ยิ่งอ่านยิ่งมึน)

ฟิสิกส์สมัยมัธยม ผมคืนคุณครูไปหมดแล้ว 
แต่ยังจำได้ถึงความน่าทึ่งของ กฏของนิวตัน 
ที่ทำให้เรารู้ว่า ธรรมชาติที่กฏที่แน่นอนตายตัวที่มนุษย์เดินดินอย่างเราคาดการณ์ได้
และยังจำได้ว่าอัศจรรย์กับ ทฤษฏีสัมพันทธภาพของ ไอน์สไตน์ 
เวลาจะเดินช้าลงเมื่อเราเคลื่อนที่เร็วขึ้น 
เมื่อมวลมากขึ้นจะทำให้พื้นที่บิดเบี้ยว แสงวิ่งเป็นเส้นโค้ง โอ้วว
และยิ่งพิศวงงงวบ ควอนตัมที่บอกว่าเรา อิเล็กตรอนที่เรานึกว่าเป็นอนุภาคเคลื่อนไปมานั้น
บางทีมันก็ทำตัวเองเป็นคลื่น และยิ่งงงไปอีกเมื่อ ควอนตัม เสนอ ทฤษฏีของความไ่ม่แน่นอน

และเมื่อกลับมาอ่าน ณ ตอนนี้กลับชวนให้คิดว่า 
ปลายทางของวิทย์ กับ จิต นั้นอาจจะกลับมาบรรจบกันได้ 
เราก็ได้ยินคำพระท่านพูดเสมอๆ ว่า ในโลกนี้สิ่งที่แน่นอนก็คือความไม่แน่นอนนั่นเอง

"ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล" เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์ 
ที่สนุกสนานด้วย การเปรียบเทียบเปรียบเปรยให้เข้าใจได้ง่าย 
(แต่แน่นอนว่า วิทยาศาสตร์จริงๆ ไ่ม่สามารถอธิบายได้ง่ายถึงเพียงนี้)
และที่ทำให้ผมชอบใจมากขึ้นไปอีก ก็คือการวกวนกลับมาพูดถึงเรื่อง 
จิต เรื่องศาสนา และความเชื่อ 

เราจะอธิบายเรื่องกรรมเก่า ได้อย่างไรทางวิทยาศาสตร์ 
อธิบายได้อย่างไรว่ามีผู้สร้างจริงๆ อย่างที่ พระคำภีร์บอกไว้ 
หรือเรื่องของจิตทางศาสนาฮินดู เราจะอธิบายได้ไหม 
แน่นอนว่าหลายเรื่อง หมิ่นเหม่ หรือท้าท้าย "ความเชื่อ" 

แต่ผมเป็นคนหนึ่งล่ะที่เบื่อกับคำว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ 
จึงสนุกสนานกับการอ่าน หนังสือเล่มนี้มากขึ้น 

"ปลาที่ว่ายใน-นอก สนามฟุตบอล" ถูกระบุว่าเป็นหนังสือ สารคดีวิทยาศาสตร์ 
ก็นับได้ว่าเป็นสารคดีที่อ่านสนุก ชวนติดตามได้ดีมากๆ
จนรู้สึกว่าอยากให้เป็นหนังสือที่เด็กๆ ควรได้อ่านกัน 
เด็กช่วงประถมปลายหรือ ม.ต้น น่าจะเหมาะสมที่สุด 
ก่อนที่จะถูกความรู้แบบดั้งเดิม ครอบงำไปหมดซะก่อน :P