เจ้าแม่ตะเคียนทอง (รังสี ทัศนพยัคฆ์ /2509/ไทย) ทาสผี ไพร่ผยอง
by filmsick:


เวลามีการวิเคราะห์หนังสยองขวัญฝรั่ง ฟังก์ชั่นหนึ่งที่นิยมใช้กันคือการมองหนังสยองขวัญในฐานะ ของการเปิดเผยความกลัว ความวิตกกังวลของสังคม หนังสยองขวัญคือประเภทแนวหนังที่ไวที่สุดต่อการจับภาพความกลัวของสังคม ดังเช่นที่หนังสยองขวัญยุคห้าสิบของอเมริกันแทนภาพความกลัวของสงครามเย็น

แต่เราจะทำอย่างนั้นกับหนังสยองขวัญไทย อันเป็นหนึ่งในชาติที่ผูกพันอยุ่กับผีสางเทวดามาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตั้งแต่ครั้งบรรพกาล จวบจนล่วงปัจจุบัน ผีในสังคมไทยไม่ใช่สิ่งแปลกแยก ไม่ใช่ความไม่รู้ ผีในสังคมแนบสนิทอยู่กับสังคม จนแม้ว่าเราจะมีวิทยาการเทคโนโลยีที่ทันสมัยแค่ไหนก็ยังเป็นได้ว่าหน้าตึกทดลองทางวิทยาศาสตณ์ที่หรูหราที่สุดก็อาจมีศาลเจ้าที่อยู่ในสักมุม กล่าวถึงที่สุดผีของเราแยกขาดจากความรู้ทางวิทยาศาสตรื ชนิดที่ไม่มีทางที่วิทยาศาสตร์จะขับไล่เรื่องผีไปได้ ในความรับรู้ของสังคมไทยมันคือสองเรื่องที่แตกต่างกันราวกับคนละจักรวาล

แล้วหนังผีไทยคืออะไร หนังผีไทยคือเรื่องผีสนุกๆ หรือคือภาพแทนความกลัว หรือภาพแทนความพาฝันอันใด แม้ผีไทยในปัจจุบันจะเอนลู่เข้าหาผีโลก ที่เป็น ‘ผีมีเหตุมีผล’ผีที่อธิบายด้วยเหตุและผล ซึ่งเป็นฐานคิดทางวิทยาศาสตร์! ผีในโลกปัจจุบันคืออาการอิหลักอิเหลื่อของเชื้อเก่าแห่งโลกที่มองไม่เห็นที่ดิ้นรนในโลกใหม่อย่างน่าทึ่งแต่เราจะไม่ได้พูดถึงหนังพวกนั้น เราจะพูดถึงผีจากโลกเก่าในหนังเรื่องนี้

เจ้าแม่ตะเคียนทองน่าจะสร้างจากตำนาน แต่ผู้เขียนไม่อาจค้นได้มากกว่าตำนานเสาให้ ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนางตะเคียนมากนัก ในที่นี้ เราจึงมองเรื่องเล่าเรื่องนี้ในฐานะของเรื่องเล่าที่ผลิตใหม่ ให้มากไปกว่านั้น เป็นเรื่องเล่าที่ผลิตซ้ำ!

ฟังก์ชั่นหนึ่งของเรื่องผลิตซ้ำ ของก๊อปปี้ทำเทียม คือมันได้เปิดเผยให้เราเห็นส่วนที่เป็นเปลือกครอบของส่ิงที่เป็นต้นฉบับ การทำซ้ำเปิดเผยจุดอ่อน นัยยะที่ถูกปิดไว้โดยการทำให้มันโดเด่นเตะตาขึ้นมาเพื่อดึงดูดผู้บริโภค หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นเช่นนั้น เดาในฐานะหนังทำซ้ำหนังผีเรื่องสำคัญอย่างแม่นาคพระขโนง โดยมีร่องรอยสำคัญคือการใช้ ปรียา รุ่งเรือง ที่เคยโด่งดังจากบทแม่นาค(ฉบับปี 2502) ที่กำกับโดยสเน่ห์ โกมารชุน ซึ่งเล่นอยู่ในหนังด้วย

เรื่องย้อนไปสมัยร.5ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนการเลิกทาส ยอดเป็นทาสของท่านเจ้าคุณ ที่หล่อเหลาจนแม่บัวเผื่อนเมียสาวร้อนรักของท่านเจ้าคุณไปยั่วยวน แต่พอยอดไม่เล่นด้วยนางก็วางแผนว่ายอดข่มขืนนางจนถูกลากไปโบยซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม่คุณหนูของบ้านจะเอ็นดูยอดก็ช่วยไม่ได้ ยอดมีคนรักคือนางพิกุลทาสในเรือนท่านเจ้าคุณเหมือนกัน ทั้งคู่สัญญากันใ้ต้นตะเคียนว่าจะครองรักกัน แต่พิกุลถูกซุ่มทำ้ายจากทาสอีกคนที่หลงรัก ยอดเข้าไปช่วยเลยพลั้งมือแทงนายพันธุ์ ทาสตัวร้าย เขาคิดว่านายพันธุ์ตายเลยหนีไป ข้างท่านเจ้าคุณพอรู้ว่าพิกุลที่ตัวหมายตาจะเอามาเป็นเมียไปรักกับไอ้อดก็แค้นเคืองส่งคนไปตามล่ายอด จะจับมาโบยนให้ตายไปอย่างทาสก่อนจะเลิกทาส พิกุลมาทัดทานไว้แล้วยอมเป็นเมียท่านเจ้าคุณเพื่อช่วยคนรัก ยอดคิดว่าพิกุลนอกใจเลยไล่เธอไป เธอเสียใจผูกคอตายใต้ต้นตะเคียน ยอดเสียใจมากฝังคนรักไว้ใต้ต้นตะเคียนแล้วหนีไป ต่อมายอดไปช่วยชีวิตหมอฝรั่งเลยได้เป็นหมอ กลับมารักษาท่านเจ้าคุณที่ถูกผีพิกุลหลอกจนไข้ขึ้น พิกุลฆ่าท่านเจ้าคุณและคนชั่วตายเพื่อล้างแค้น แต่ก็เท่านั้น ยอดกับคูรหนุรักกันเสียแล้ว

เรื่องราวแบบที่คาดเดากันได้ หยิบโครงเรีื่องแบบเดียวกับ แม่นาคมาทำใหม่ให่้เข้มข้นกว่าเดิม (หรือคล้ายๆเดิมนั่นแหละ) ตอบสนองผู้ชมแบบบันเทิงไม่มีอะไรมากกว่านั้น จะพูดอย่างนั้นก็ได้ แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง ผีของพิกุลในหนังเรื่องนี้ และผีแม่นาคในเรื่องนั้นล้วนน่าสนใจมากๆ ในแง่ที่ส่าผีแม่นาคคือภาพแทนของไพร่ที่ไม่ต้องการถูกเกณฑ์ไปรบ (การรบเพื่อชาติทำให้ครอบครัวพังพินาศ) ซึ่งเราจะไม่กล่าวต่อในที่นี้ แต่ผีของพิกุลกลับเป็นผีของไพร่ทาสของจริง

ในโลกของพิกุลนั้นยังไม่มีพลเมือง นี่คือโลกที่มีแต่ศักดินาและข้าทาสบริวาร ความใฝ่ฝันของพิกุลคือการมีอิสระเสรีที่จะรักกัน อย่างน้อยก็ในฐานะไพร่ไม่ใช่ทาส ความตายของพิกุลคือการตายก่อนเลิกทาส ตายไปอย่างทาส ทาสที่ถูกกดขี่จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งต่อศักดินาเอง และต่อคนรักที่ต่อมาได้กลายเป็นไพร่ เป็นพลเมือง เป็นหมอ เป็นคนชั้นกลาง

กล่าวกันให้ถึงที่สุด ผีของพิกุล หรือผีของคนอื่นๆ เป็นภาพแทนของผู้ที่ถูกกดขี่ไปจนตาย หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสำหรับผู้ชมชาวบ้านไทยในอดีตแล้วนั้น มีแต่การกลายเป็นผีเท่านั้นที่จะให้อำนาจของเขาในการต่อกรกับขุนนางศักดินาเจ้าหน้าที่ นายทุน หรือรัฐที่กดขี่ ผีจึงเป็นภาพแทนพาฝันของการต่อสู้เท่าที่เขาพอจะเหลือมี เมื่อกลายเป็นผีก้ไม่ต้องกลัวความตาย ไม่ต้องกลัวจะถูกกดขี่ เมื่อกูตายไปแล้วกูก็กลายเป็นอิสระ เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากพอจะเอาคืนกับระบบที่พวกเขาเอาคืนไม่ได้ในชีวิตจริง

การฆ่าหมอผี หรือกระทั่งหักคอศักดินาในหนังจึงเป็นภาพแทนที่สวยสดงดงามเป็นครั้งแรกที่ไพร่ทาสได้มีอำนาจเป้นของตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งบริวารในขณะนั้น เงินในขณะนี้ หรือระบบอุปถัมถ์ทั้งในขณะนั้นและในขณะนี้

ฉากหนึ่งในนั้นที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่ขอบันทึกไว้คือฉากที่ท่านเจ้าคุรไปจ้างคู่หูเจ๊กแขกมาตัดต้นตะเคียน ในฉากนี้ จีน ไทย แขก ในสมัย ร5. ไทยเป็นเจ้าคุณ จีนเป็นพวกติดฝิ่น แขกไม่กินหมู! ทั้งสามคนคนหนึ่งบอกว่าเซียน อีกคนบอกว่านารายณ์ เจ้าคุณบอกว่าเป็นผี อย่างไรก็ดีฉากนี้จบลงโดย แขกกับจีนตบกันเองเพราะโดนผี(ทาส)หลอก จนในที่สุดก็หนีไปเพราะผี และท่านเจ้าคุรก็กระทำการไม่สำเร้จ ฉากเล็กๆนี้ไม่ได้สลักสำคัญ แต่ดูเหมือนจะเป็นฉากที่น่าสนใจในการบันทึก stereotype ของคนต่างด้าวในสังคมไทย

แต่ผีของอีพิกุลก็ไม่ได้ต่างจากคนตายจำนวนมากในประเทศนี้ อาการ ‘ตายสิบเกิดแสน’ ของการชุมนุมมากมายในโลกนี้ ซึ่งก็นับรวมเอาคนที่ตายไปในช่วงปีที่ผ่านมาเข้าปด้วย ได้ยกระดับการต่อสู้ไปอีกขั้นหนึ่งเสมอ ในฐานะของผี ปีของวีรชนที่ตายไปอย่างทาส แต่อยู่อย่างไพร่ที่จะไม่ยอมให้ใครกดหัว (แม้มันจะลงเอยว่าผีในโลกจริงหักคอใครไม่ตาย และคนสั่งตายก็ยังลอยหน้าลอยตา)

หากคนที่เราสนใจไม่ใช่พิกุลแต่เป็นยอด ในที่สุดยอดได้รับการปลดปล่อยไปเป็นเสรีชน (อย่างน้อยก็เป็นไพร่บ้านพลเมือง) ยอดที่ในที่สุดเสวยสุขเยี่ยงชนชั้นกลาง แล้วหลงลืมไปแล้วว่าเคยรักนางพิกุลอย่างไร เคยเจ็บช้ำน้ำใจถึงเพียงไหน ยอดเดินทางมารักษาท่านเจ้าคุณด้วยภาพของหมออันทรงภูมิ ช่างเป็นที่ประทับใจคุณหนูยิ่งนัก และตรงนี้เองความจริงได้เปิดเผยตัวออกมา ผู้ชมอาจจะไม่ได้ต้องการเป็นภูติผี ที่แกว่นกล้่าด้วยการลุกขึ้นต่อกรกับความอยุติธรรม ที่ผู้ชมต้องการจริงๆคือการด้ขยับฐานะจากผู้ถูกกดขี่ไปเป็นเสรีชนคนชั้นกลาง หรือไก้กดขี่บ้างก็ไม่เลว

ความรักของยอดกับคุณหนูในที่สุดจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผล ก็ในเมื่อไอ้ยอดไม่ใช่ทาศในเรือนเบี้ย แต่เป้นคุณหมอมือใหม่เสียแล้วคนทั้งคู่ก็เหมาะเจาะกันด้วยประการทั้งปวง ไอ้บุญเลิศลูกพระยาเก่าที่มาติดพันคุรหนูเสียีกที่ชั่วช้าตีเมียเก่า จะเอาเมียใหม่ กล่าวให้ถึงที่สุด ความตค้องการของผู้ชมคือการต้องการที่จะหลอมรวมกับศักดินาเก่าในรูปแบบใหม่ ไม่ใช่ศักดินาแบบเดิม แต่เป็นการรับเอาความเป็นผู้ดีของศักดินา มาสวมครบลงในคราบเสรีชน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในที่สุด ผีอีพิกุลจะถูกเขี่ยตกประวัติศาตร์ไปเมื่องานสำร็จ เมื่อศักดินาชั่วช้าถูกสังหารเหลือเพียงศักดินาแสนดี (ความฝันที่เมื่อก่อนไม่กล้าอาจเอื้อม ไม่กล้าแม้แต่จะคิด) ผีตะเคียนทองคือสิ่งขวางหูขวางตาเมื่อศักดินาจูบปากคนชั้นหลางในโลกเสรีชนิดใหม่ (ต้องให้พูดหรือว่าในการเอื้ออำนวยของคนชั้นสูงสุดที่มาในนามความการุณของการเลิกทาส)

พิกุลจึงกลายป็นเพียง ‘คนที่ตายก็ได้ตายไปแล้ว’ อภัยให้พี่เถอะพิกุลอย่างไรเสียเอ็งก็ตายไปแล้ว อย่างไรเสียพี่ก็รักกับคุณหนุเสียแล้ว ตรงจุดนี้เองที่ศาสนา ในฐานะของความเชื่อบุญธรรมกรรมแต่งเข้ามาอ้าแขนต้อนรับความชอบธรรมอย่างเหมาะเจาะ มันเป็นกรรมของเอ็งน่ะพิกุล ตายไปแล้วก็ไปดีเถิด หมอผีที่ดี หมอผีที่เหมาะไม่ใช่หมอผีหลอกลวงของพวกศักดินาจะเดินทางมา สลายมนต์สาปความแค้นของผีทาสรักนางตะเคียนเพื่อทุกคนจะอยุ่เป็นสุข

กล่าวให้ถึงที่สุด เมื่อผู้ชมชาวไทยในครั้งกระนั้นไปดูหนังผี พวกเขาไม่ได้ทำอย่างคนสมัยนี้ที่ไปดูว่าอะไรทำให้ให้ผีไม่ไปผุดเกิด การแก้ไขในโลกคนเป็นจะทำให้ผีที่เอาเข้าจริงง่อยเปลี้ยเสียขาเป็นรูปแบบของการร้องขอความช่วยเหลือ ได้รับการช่วยเหลือคลี่คลายเย่างเป้นเหตุเป็นผล(ในแง่นี้หนังผีจึงเป็นเครื่องมือในการช่วยให้เราหลับตาได้ในตอนกลางคืนว่าทุกยอย่างยังแก้ไขได้ด้วยเหตุด้วยผล แม้ผีจะเป้นสิ่งที่ไร้เหตุผลโดยตัวของมันเอง คือต้องเชื่อก่อนว่ามีผีจึงไปต่อได้) ในขณะเดียวกันผู้ชมก็ไม่ได้เรียนรู้ความตระหนกของสังคมเพื่อที่จะคลี่คลายมันลงในตอนจบ ลดแรงกดที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตจริง(นั่นคือเหตุผลที่หนังผีไทยไม่น่ากลัว เพราะมันไม่ได้สร้างขึ้นจากความกลัว)

แต่หนังผีไทยในครั้งกระนั้นคือแบบลอกลายการต่อสู้ทางชนชั้นที่ค่อยๆคลี่คลายความปรารถนาภายในของคนชั้นล่างออกมาอีกทีหนึ่ง หนังผีไทยจึงเหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆที่สนุกครบรส เรียบร้อยอยู่ในขอบเขตดีงามทางศีลธรรม

อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงการอนุมานจากหนังไม่กี่เรื่องซึ่งผู้เขียนหวังว่าจะได้มีโอกาสศึกษาเดี่ยวกับหนังเหล่านี้ต่อไปในอนาคต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น