โดย : วิภานี กาญจนาภิญโญกุล
Life Style : Life กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อ่านเอาเรื่อง นิตยสารวิจารณ์วรรณกรรมน้องใหม่ ของ "รตชา" นามปากกาดัง เจ้าตัวเผยหวังชูนักเขียนไทย ด้วยภาษาง่าย ราคาขายเท่าอาหารจานเดียว
ในยุคที่ใครๆ ก็บอกว่าโลกไร้พรหมแดน ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น (แต่เหมือนๆ กันไปหมด) และคนไทยอ่านหนังสือเพียงปีละไม่กี่บรรทัด...
นิตยสารเล่มหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้น โดยคนทำกลุ่มเล็กๆ ที่ใจรักในการอ่านการเขียน และมีความฝันอยากยกระดับอาชีพนักเขียนไทยให้คนทั่วไปยอมรับมากกว่านี้
เดินไปตามแผงหนังสือ มองดูนิตยสารก็คล้ายๆ กันไปหมด คว้าเอานิตยสารเล่มเดิมๆ ที่อ่านประจำ ก่อนจะสะดุดตากับหนังสือเล่มกระชับมือ พลิกผ่านๆ แล้วคว้าหมับ จ่ายเงินด้วยราคาเพียง 30 บาท กลับมาบ้าน นอนอ่านครบทุกหน้า เราก็คว้าหูโทรศัพท์ ขอนัดสัมภาษณ์ทีมงานทันที เพราะอดใจไม่ไหว อยากเห็นหน้าเห็นตาคนทำนิตยสารวิจารณ์วรรณกรรมคุณภาพดีเล่มนี้
...
แม้ จะได้รับข้อมูลมาก่อนว่า สัมภาษณ์คราวนี้ไม่ขอถ่ายรูปและเปิดเผยชื่อจริง นำเสนอได้แต่เพียงนามปากกาของแม่งานแห่งนิตยสาร 'อ่านเอาเรื่อง' แต่เราก็อดลุ้นไม่ได้เพราะอยากให้ใครๆ ได้รู้จักเจ้าของไอเดียนิตยสารดีๆ แบบนี้
แต่เมื่อได้ฟังเหตุผลที่ 'รตชา' อีกหนึ่งในนามปากกาที่นักเขียนด้วยกันรู้จักดี เจ้าของผลงานเขียนตีพิมพ์ในนิตยสารคุณภาพมานานกว่า 30 ปีอย่าง สกุลไทย ขวัญเรือน แพรวฯลฯ ยกมาเอ่ยกับเราว่า อยากให้นิตยสารเล่มนี้ เติบโตด้วยตัวเอง และมีคนชื่นชอบ โดยไม่เกี่ยวข้องกับชื่อเสียงของเธอมา จึงไม่ขอเปิดเผยชื่อจริงในการพูดคุยครั้งนี้
'อ่านเอาเรื่อง' เริ่มออกฉบับทดลองอ่านฟรีตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่วางขายจริง เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และกำลังจะออกเล่มที่ 3 ในเดือนมกราคมนี้ ทั้งเล่มมีเนื้อหาครอบคลุมถึงนวนิยาย สารคดี ท่องเที่ยว เยาวชนฯลฯ เน้นหนักไปที่การแนะนำหนังสือดีตั้งแต่ยุคอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งหมดนี้มาจากเรียวแรงของนักเขียนทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นที่ต่างก็มี งานประจำ แต่แบ่งเวลามาทำเล่มนี้ เพราะใจรักในการอ่านและการเขียนหนังสือจริงๆ
รตชาบอกเล่าที่มาที่ไปของจุดประกายความคิดในการทำนิตยสารเล่มนี้ว่า มาจากความชอบในการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กโดยเฉพาะนิยาย ประกอบกับประสบการณ์ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกามานานถึง 40 ปี แล้วได้เห็นหนังสือประเภทนี้จำนวนมากจึงอยากให้เมืองไทยมีหนังสือแนวนี้บ้าง
"เราเห็นหนังสือลักษณะนี้เยอะและมันอยู่ได้ เพราะที่นั่นคนชอบอ่านชอบเขียนหนังสือ เราก็คิดว่าน่าจะมาทำที่เมืองไทยบ้าง พอดีเราสอนเขียนนิยายให้ที่อัมรินทร์ก็มีลูกศิษย์หลายคนเขาก็อยากเขียน หนังสือกัน ก็มานัดคุยกันว่ามาทำหนังสือแบบนี้กันมั้ย ทุกคนก็ตื่นเต้นอยากทำ ก็ทำเลย พอออกมาเล่มแรก เราก็ว่ามันก็ใช้ได้นะ ก็ทำต่อมาเรื่อย" เธอจึงรั้งตำแหน่งจัดตั้งทีมงานและเป็นบรรณาธิการคอลัมน์ทุกหน้าแม้กระทั่ง หน้าโฆษณา โดยมีจุดมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกคือ อยากเปลี่ยนมุมมองที่คนทั่วไปมีต่ออาชีพนักเขียน
"ที่สำคัญที่สุดที่ทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา เพราะเราอยากเชิดชูวงการนักเขียน เรารู้สึกว่านักเขียนในเมืองไทยเป็นอาชีพที่คนยกย่องน้อยที่สุด อยากให้คนรู้ว่านักเขียนมีความสามารถและเป็นที่ชื่นชมของคน เพราะการเป็นนักเขียน ทั้งเขียนนิยายหรือเขียนคอลัมน์ควรจะได้รับการยกย่องและหนังสือเล่มนี้ก็ เป็นหนังสือที่ยกย่องนักเขียนมาก"
นิตยสารที่ว่าด้วยเรื่องราววรรณกรรมทั้งเก่าและใหม่ในภาษาอ่านง่ายจึงได้ แทรกตัวขึ้นบนแผงหนังสือ โดยมีรูปแบบการดำเนินงานที่เรียบง่ายประหยัดงบ ด้วยพนักงานหลักเพียง 2 คนที่สลับกันเข้าประจำออฟฟิศ คือ พนักงานจัดหน้าและฝ่ายขายโฆษณา
...
ด้วย ความที่คร่ำหวอดมานานในแวดวงการเขียน รตชาบอกว่า งานแต่ละชิ้นที่จะตีพิมพ์ในนี้ผ่านการตรวจแก้มาแล้วอย่างดีด้วยฝีมือเธอ ด้วยเงื่อนไขที่เธอตั้งขึ้นมา เพื่อให้นิตยสารทั้งเล่มอ่านได้เรียบลื่น ไม่สะดุดและมีคุณค่าน่าเก็บ
"เราตั้งใจให้ภาษาอ่านง่าย ภาษาสมัยใหม่เกินไป เราก็ไม่ให้ใช้ เรานี่ร้ายมากเลย ถ้าคนเขียนคอลัมน์ใช้ภาษาสมัยใหม่เกินไป เราก็ไม่ให้ใช้ อย่างคำว่า 'งานเข้า' เราก็ตัดทิ้ง เพราะเราอยากให้คนอ่านหนังสือเล่มนี้เก็บไว้ 3 ปี 5 ปี มาอ่านแล้วยังไม่เชย คำว่า 'เติมเต็ม' เราก็ไม่ใช้ เพราะเป็นภาษาแปล มาจากภาษาอังกฤษว่า fulfill เติมอย่างเดียวพอแล้วสำหรับภาษาไทย เราต้องการความคลาสสิค ไม่ต้องการอินเทรนด์"
เธอยังขยายความ 'ข้อแม้' ในการเขียนเล่มนี้เช่น เวลาเขียนวิจารณ์หนังสือ ห้ามชมเด็ดขาดว่าหนังสือดี ให้ไปซื้อมากอ่าน แต่บอกได้ว่าหนังสือเป็นอย่างไร คนอ่านจะรู้สึกเอง แต่ถ้าหนังสือไม่ดีก็ไม่ต้องบอก เขียนให้คนอ่านตัดสินเองจากงานเขียน ซึ่งความละเอียดลออทุกขั้นตอนในการทำงานนี้จะส่งผลดีต่อทั้งคนเขียนและคน อ่าน
"เวลาเขียนคอลัมน์ เขียนไปสักพักหนึ่ง คนเขียนเขาจะพบ voice ของตัวเองว่าเขามีอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่น ต้องการเล่าอะไรให้คนอื่นฟัง เรื่องที่เขาบอกได้คนเดียวเท่านั้น และคนอ่านก็จะสัมผัสได้"
ในแง่นี้งานเขียนทุกชิ้นจึงมีภาษาที่สละสลวย น่าอ่าน แม้หลายคนจะไม่มีประสบการณ์ในการเขียนมาก่อน แต่ก็ได้ฝีมือบรรณาธิการที่ช่วยสอนและขัดเกลานักเขียน ช่วยให้ตัวผู้เขียนเองมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นในแต่ละเดือนที่ผลงานตีพิมพ์ ออกมา
...
กว่า จะออกมาเป็นเล่ม นิตยสารที่ดำเนินงานด้วยใจรักเล่มนี้ ต้องลงขันกันเกิน 20 หุ้น เพื่อให้ได้เงินหลักล้านมาลงทุนก้อนแรก ทุกหุ้นล้วนแต่เป็นนักเขียนในเล่มรวมถึงเพื่อนๆ ของรตชานอกวงการ กระทั่งออกมาเป็นรูปเล่มด้วยราคาที่วางขายเท่ากับอาหารตามสั่งจานเดียว เราจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วอยู่ได้ยังไง?
"ราคานี้เราขาดทุนอยู่ แต่เราก็ไม่รอสปอนเซอร์ เราต้องการสมาชิกมากกว่า ถ้าได้ 5,000 คน เราอยู่ได้สบาย สมาชิกที่เราอยากได้มากที่สุดคือ สำนักพิมพ์ เพราะสำนักพิมพ์เมืองไทยมีมากถึง 2,000 แห่ง ถ้ามีสำนักพิมพ์ส่งหนังสือมาให้เราแนะนำ เราก็จะให้เขาสมัครสมาชิกเรา ไม่ต้องมาซื้อโฆษณาเรา เพราะเงินพันกว่าสองพันอาจจะเยอะสำหรับเขา สมัครสมาชิกแค่ 360 บาท แล้วส่งหนังสือมาให้เราดีกว่า จากนั้นเราจะมาคัดเลือกอีกที ว่าจะเอาเล่มไหนมาเขียนแนะนำ ช่วยๆ กันไป เราอยู่ได้ด้วย สำนักพิมพ์เขาก็อยู่ได้ เพราะคนก็ได้เห็นผลงานเขา"
เมื่อพลิกดูภายในเล่มจึงเห็นแต่โฆษณาในแวดวงสิ่งพิมพ์ ซึ่งรตชาบอกว่าเป็นความตั้งใจของเธอเองที่อยากอยู่ได้ด้วยวงการสื่อด้วยกัน มากกว่าจะไปขอสปอนเซอร์แปลกๆ ที่ต้องผ่านขั้นตอนมากมายและไม่มีความเข้าใจในตัวหนังสืออย่างแท้จริง อีกทั้งความที่นิตยสารแนวนี้ยังใหม่อยู่มากในเมืองไทยจึงอาจจะต้องใช้เวลาใน การสร้างชื่อให้คนรู้จัก
"ตอนนี้ไม่มีหนังสือที่ใกล้เคียงกับของเราวางขายเลย ตอนทำแรกๆ มีคนบอกว่า ทำไมไม่ทำหนังสือเราให้เข้ากับคนอื่น เพราะเอาไปวางในร้านหนังสือ ไม่รู้จะวางที่ไหน เราก็บอกว่า เราจะไม่ปรับเด็ดขาด แนวทางหนังสือจะเป็นอย่างนี้ตลอด เราเชื่อว่าอีกหน่อยจะมีคนทำตามในวันหนึ่ง เพราะเราไม่เหมือนใคร"
รตชาขยายความถึงคอนเสปท์ของ 'อ่านเอาเรื่อง' ว่าเป็น หนังสือสำหรับคนรักหนังสือ อดีต ปัจจุบันและอนาคต ไม่ใช่อดีตอย่างเดียว ไม่ใช่ปัจจุบันอย่างเดียว ไม่ใช่อนาคตอย่างเดียว โดยมีกลุ่มคนอ่าน คือคนที่รักการอ่าน ไม่มีช่วงอายุ อ่านได้ทุกวัย ที่สำคัญอ่านแล้วต้องไม่เครียด ได้ทั้งความรู้และความบันเทิง 'อ่านแล้วรู้สึกอิ่มในตัวเอง บางเล่มอยากอ่านลึกกว่านั้น ก็ไปหาตัวเล่มมาอ่านเพิ่มเติมจากที่แนะนำไป'
เนื่องจากหนังสือต้องการให้เกิดวามเชื่อมโยงทั้งผู้อ่านรุ่นเก่าได้อ่านงาน ใหม่ ผู้อ่านรุ่นใหม่ได้อ่านงานเก่า เราจึงถามความเห็นของเธอว่า แล้วคิดอย่างไรกับงานเขียนของคนรุ่นใหม่?
"(นิ่งคิด) เราก็ต้องพยายามทำใจนะ งานเขียนเดี๋ยวนี้ก็เหมือนงานเพลง มันหวือหวาแป๊บเดียว อ่านแล้วไม่ค่อยประทับใจ สำหรับคนที่อยากเป็นนักเขียนน อยากแนะนำให้อ่านงานคลาสสิคที่อยู่ได้เป็นร้อยปี เพราะว่าของดีจริงๆ ถึงอยู่ได้นาน"
และ 'อ่านเอาเรื่อง' ก็จะได้เป็นสะพานเชื่อม ระหว่างคนเขียนและคนอ่าน เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์สังคมการอ่านในบ้านเรา ให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนแผงหนังสือ
ภาพ : ชัยบวร ศรีลูกหว้า
บ๊ะ! ล้านเดียวเท่านั้น
ตอบลบผมเตรียมชื่อหนังสือไว้เลยแล้วกัน - 'ปลุกใจ'
หนังสือรายปักษ์ๆ(สองปักษ์) แนวปาปาราซี่ โปลิติเชี่ยน
นั่น ! ทั่นพี่เริ่มเห็นความเป็นไปได้แล้วใช่ไหม
สนใจโทร.มา (ฮา)
: )
เล่มละ 30 บาทหรือ? อืมม์ น่าสน
ตอบลบหาสปอนเซอร์ซื้อให้อ่านฟรีดีกว่า
แล้ว 'ปลุกใจ' ของทั่นขุลล์ล่ะ เล่มละเท่าไหร่?
อย่าให้แพงนักนะ เดี๋ยวไม่มีปัญญาซื้อ
แค่เห็นชื่อก็คึกคักขึ้นมาทันตาเห็น ดูท่าจะไม่ธรรมดา
พายอาร์
‘นิตยสารของพี่ท่านจะแนวไหน? เนื้อหา? รูปร่างหน้าตา? อย่างไร’
ตอบลบเคยลองทำ free copy พี่ทั่น
ปลายปี 06 คนแปลกหน้ามาชวนลงทุนทำ free copy ผมก็ว่าดี ลงไปสี่ห้าหมื่น ไปไม่รอด ชื่อแรก ‘จิ้งจก’ อยากให้มันร้องทัก จ๊กๆ ในท้องถิ่นไกลเมือง มีเรื่องดีๆ ดังๆ และ ควรระวัง มากมาย สื่อสารง่ายๆ ใช่ – ฉาบฉวย !
ชื่อสุดท้าย มีชื่อว่า PEEK อยากให้เป็นหนังสือแอบดู (จริ๊ง!) ทำแบบ FHM แต่เล่มบางและแจกฟรี ให้มันรู้ไปว่า ‘ขาย(ad)’ ไม่ได้
การทำหนังสือ(ผมว่า)ไม่ยาก ถ้ามีเงิน(ไม่อั้น) ส่วน conceptual idea (ผมว่า)มีให้เลือกเยอะ
จับตา หนังสือแนวปาปาราซี่นักการเมือง (เล่มเดียวสองปก ปกแดง ปกเหลือง คู่กลางหาพระ หาอาจารย์มาสอน)
ปลุกใจ หนังสือแนว Photo สอน(อาชีพ)ทำนั่นโน่นนี่
มาเล็ง หนังสือแนว ‘ล้อมวงคุย’ เกี่ยวกับโรคมะเร็ง
กับข้าว หนังสืออาหารการกิน การทำอาหาร ขนม ... ร้านเด่น
ออฟฟิศ-ออฟไลน์ หนังสือคนทำงานออฟฟิศ ปัญหางาน man machine material money method
โฮมมี่ หนังสือแนวครอบครัว จัดบ้าน สอนลูก ต้นไม้ ปัญหาเพื่อนบ้าน
ฯลฯ
Contents และ Photos มี Blog ให้เลือกเยอะแยะเลยพี่ทั่น Blogger ส่วนใหญ่ก็อยากมีสื่อ offline
พี่ทั่นฯ
ขุนอรรถ
ตอบคำถามคุณพาย ... 'ฟรีขะรับ'
ตอบลบ: )
ขุนอรรถ
Q: เป็นว่าพี่ท่านมองแง่นักลงทุนนะขะรับ มิได้จำเพาะว่าจะแนวไหน? อย่างไร? หนังสือปล่อยออกมีโฆษณาเข้าเป็นพอ(ดี) ใช่ไหม?..ใช่ไหม?
ตอบลบA: นักลงทุน เขินชะมัด ใช่แต่ไม่เชิงพี่ทั่น ... เรื่องของเรื่อง อยากเปิดโรงงานผลิต"คนอ่าน"
ผมเรียนกฏหมายไม่จบ เพราะอ่านทีไร ง่วงตามมาทันที
เมื่อเริ่มทำงาน ก็ได้งานขาย ต่างจากงานกฏหมายหลายกิโลกรัม และเพราะต้องการก้าวหน้า จึงควานหาหนังสือมาร์เก็ตติ้ง ฮาวทู มาอ่าน อ่าน และ อ่านๆๆๆๆ
วันนี้ นอกจากพระบิดาจะปลูกใจทันโลก โดยให้รักภาษาฯ และ 'เป็นคอมพ์' แล้ว ผมมีเงินซื้อบ้านซื้อรถ ก็เพราะอ่านๆๆ และ อ่าน
จาก 'เวลาในขวดแก้ว' พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มแรกในชีวิต แตทะลึ่งอ่านจนในคืนเดียว ... โต๊ะโตะจัง เรื่อยมา
จากนั้นก็อ่านดะ จนมาหายบ้าก็ ... แผนที่นักเดินทาง และ ไกวัลยธรรม ของคุณชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
เปลี่ยนแนวการอ่านเป็น อะไรก็ได้ สลับกับ หนังธรรม
อ้อ ลืมบอกพี่ทั่นไปว่า นิยมอ่านบทสัมภาษณ์ จากการแนะนำโดยป่าป๊า ทั่นว่า อ่านคอมลัมน์สัมภาษณ์คุ้มค่าที่สุด "ครึ่งชั่วโมง แลกกับครึ่งชีวิตของใครสักคน"
เลยไปไกลพี่ทั่นดิลล์ สรุปว่า จะสถาปนาตัวเองเป็นนายทุนก็ได้ มุ่งมั่นผลิต"คนอ่าน" เพราะรู้ว่า กว่าจะอ่านจนเข้าเนื้อ ต้องผ่านเรื่องง่ายๆ มาก่อนทั้งนั้น
อยากให้ได้ผลดีจากการอ่านทั่วหน้า
พี่ทั่นฯ
: )
ขุนอรรถ
แก้คำผิด ... เปลี่ยนแนวการอ่านเป็น อะไรก็ได้ สลับกับ หนังสือธรรม
ตอบลบ: )
ขุนอรรถ